กล้ามเนื้อ, ประโยชน์ของกล้ามเนื้อ, วิธีสร้างกล้ามเนื้อ, ออกกำลังกาย, กระชับรูปร่าง

ประโยชน์ของกล้ามเนื้อ คืออะไร ทำไมควรมีกล้ามเนื้อ

ประโยชน์ของกล้ามเนื้อ คืออะไร ทำไมควรมี เรามีคำตอบ

ประโยชน์ของกล้ามเนื้อ คืออะไร หลายคนอาจสงสัยและคิดในใจว่า ทำไมฉันต้องสร้างกล้ามเนื้อ ปล่อยตัวเหลวๆ เพราะไม่อ้วน ปล่อยใจกินตามความชอบ ปล่อยพุงย้วยๆ ทำตัวสบายๆ ไม่ได้หรอ บอกเลยว่า อย่า! เพราะการมีกล้ามเนื้อให้ประโยชน์แก่ร่างกายมากกว่าแค่ความสวยงาม

มีกล้ามเนื้อดีอย่างไร

1. กล้ามเนื้อช่วยให้ร่างกายตอบสนองไวต่ออินซูลิน

ในทางวิทยาศาสตร์กล้ามเนื้อจะช่วยป้องกันภาวะดื้ออินซูลิน เพราะมวลกล้ามเนื้อสามารถป้องกันโรคอ้วนลงพุง(Metabolic Syndrome) และโรคเบาหวานที่เกิดจากการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ยิ่งกล้ามเนื้อมีปริมาณมาก การกักเก็บคาร์บก็มีมากและความสามารถที่ร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินก็มีมากตามไปด้วย นักวิจัยในเกาหลีศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานที่มีกล้ามเนื้อน้อยมีโอกาสที่ร่างกายจะต้านอินซูลินมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้ป่วยเบาหวานที่มีปริมาณกล้ามเนื้อปกติ

2. กล้ามเนื้อช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วน

โรคยอดฮิตของคนไทยอย่างโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนเกิดจากการอักเสบของเซลล์ ทําให้เกิดการสลายของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะกล้ามเนื้อพร่อง(Sarcopenia) ร่างกายจะสูญเสียกล้ามเนื้อ ทําให้การเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจําวันเป็นไปได้ยากขึ้น แต่ถ้าหากเรามีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ความเสี่ยงการเกิดภาวะกล้ามเนื้อพร่องซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนจะลดลงตามไปด้วย
กล้ามเนื้อ, ประโยชน์ของกล้ามเนื้อ, วิธีสร้างกล้ามเนื้อ, ออกกำลังกาย, กระชับรูปร่าง
การมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง สามารถป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่องได้

3. กล้ามเนื้อทําให้อายุเป็นเพียงตัวเลข

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น มักงดการเคลื่อนไหวร่างกาย ความเสี่ยงต่อการสูญเสียกล้ามเนื้อจึงมากขึ้น ดร.มาร์คัส แบมแมน นักสรีรวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแอละแบมา ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า คนอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรยกน้ําหนักหรือทํากิจกรรมที่เสริมสร้างกล้ามเนื้อมากกว่าคนวัยหนุ่มสาว เพื่อป้องกันภาวะกล้ามเนื้อพร่อง เพราะการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคที่มักเป็นในผู้สูงอายุ

4. กล้ามเนื้อช่วยให้กระดูกแข็งแรง

ถ้าเรามีมวลกล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูก เพราะการทํากิจกรรมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อจะเป็นการเสริมสร้างกระดูกไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจําวัน เช่น แบก ยก ลากของที่มีน้ําหนักมาก หรือการออกกําลังกาย เช่น การเล่นเวต กล้ามเนื้อไม่ได้มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรง โดยตรง แต่การที่เราเคลื่อนไหวร่างกายต่างหาก ที่ส่งผลให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง

5. กล้ามเนื้อเสริมภูมิคุ้มกันโรค

กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะประกอบไปด้วยโปรตีนปริมาณมาก และโปรตีนเหล่านั้นจะถูกส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย ในกรณีที่โปรตีนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ร่างกายจะแบ่งโปรตีนของกล้ามเนื้อไปให้อวัยวะนั้นๆ จึงทําให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลง ในทางการแพทย์กล้ามเนื้อสามารถบ่งบอกถึงอัตราการรอดชีวิตของแต่ละบุคคลได้
เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง คนที่มีมวลกล้ามเนื้อปกติจะสามารถทนต่อเคมีบําบัดได้นานกว่าผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อพร่อง ซึ่งจะมีอาการแทรกซ้อนและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่า
ดังนั้นการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงจึงถือเป็นหลักประกันชีวิตที่ดีที่สุด

รู้หรือไม่

18% คือความเสี่ยงการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งของผู้ที่กินไส้กรอก เบคอน แฮม หรือแหนม มากกว่าวันละ 50 กรัม ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก

บทความอื่นที่น่าสนใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.