วิธีวิ่ง, วิ่ง, การวิ่ง, ออกกำลังกาย, วิ่งให้เหมาะกับวัย

วิธีวิ่ง ให้เหมาะกับช่วงอายุ เสี่ยงเจ็บ เพิ่มความแข็งแรง

วิธีวิ่ง ให้เหมาะกับช่วงอายุ สามารถลดอาการบาดเจ็บและช่วยเพิ่มความแข็งแรง

วิธีวิ่ง หลายคนคงรู้แล้วว่า ต้องวิ่งอย่างไร แต่รู้ไหมคะว่า ในวัยที่ต่างกัน เราก็ควรมีเทคนิคในการวิ่งที่แตกต่างกันไปด้วย ดังนั้น วันนี้ เราก็มีการวิ่งให้เหมาะสมตามช่วงอายุ ที่จะเป็นกุญแจสําคัญให้คุณออกกําลังกายด้วยวิธีวิ่งได้อีกนานแสนนานโดยไม่บ่นปวดขาเลยสักคํา

•ก่อนเข้าโรงเรียน

การวิ่งในวัยเด็กนับว่าต่างกับคนหนุ่มสาวและคนชราอย่างสิ้นเชิง โดยหนังสือ The Illustrated Practical Encyclopedia of Running by Elizabeth Hufton, Hermes
House(Anness Publishing) 2009 เผยว่า เกือบทันทีที่เด็กเดินได้ เขาหรือเธอจะพยายามวิ่ง ซึ่งการวิ่งของเด็กในวัยนี้ไม่ต้องห่วงข้อขาข้อเข่า เพราะผิวกระดูกอ่อน
ยังคงมีประสิทธิภาพดีเยี่ยม เมื่อพวกเขาหัดเดินจนกระทั่งอายุ 5 ขวบ เด็กๆ ไม่ควรฝึกวิ่งตามแบบแผนใดเลย พวกเขามีพัฒนาการที่เร็ว ทั้งมีการมองเห็น ท่าทางการเดินการวิ่งและการทํางานประสานกัน ที่ยังไม่พัฒนา ทั้งหมดที่จําเป็นต้องทําก็แค่เตรียมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้เขาวิ่งเล่นอย่างสนุกสนาน

•6-11 ขวบ

เด็กวัยนี้สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวในการวิ่งได้มากขึ้น แต่ตามธรรมชาติพวกเขายังมีแนวโน้มที่จะวิ่งแบบพุ่งออกไปเร็วในระยะสั้น และวัยกําลังโตเช่นนี้มักมีปัญหาในการวิ่งอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากแขนขาของพวกเขามีสัดส่วนไม่สมกับมวลกล้ามเนื้อ การปล่อยให้วิ่งเล่นในเกมกีฬาอย่างฟุตบอลหรือเทนนิสจะช่วยพัฒนาการประสานการทํางานของร่างกายให้ดีขึ้น

•12-18 ปี

เมื่อเด็กๆ เข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ถ้าเขามีแววว่ารักการวิ่ง คุณควรทําตัวเป็นป๋าดันอย่างที่สุดเพราะวัยนี้มีความสามารถพิเศษด้านการวิ่งที่เห็นได้ชัด โดยทางกายภาพพวกเขาอาจเจอปัญหาจากพัฒนาการทางร่างกายที่รวดเร็ว ด้วยแขนขาของวัยรุ่นเติบโตเปลี่ยนแปลงไปจึงทําให้พวกเขาดูเก้งก้าง ซึ่งสมองกําลังพยายามปรับตัวตามจึงเป็นจังหวะชีวิตที่ดีถ้าสอนท่าวิ่งสวยๆ ให้ทั้งหญิงและชายกระดูกยังมีพัฒนาการและมีความเสี่ยงของการแตกร้าวจากความเครียด ไม่ว่าจากการเรียนเพื่อนการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งเราสามารถลดความเสี่ยงของปัญหาดังกล่าวได้ด้วยการให้เขาวิ่งบนพื้นผิวนุ่ม ที่สุด เท่าที่เป็นไปได้
วิธีวิ่ง, วิ่ง, การวิ่ง,  ออกกำลังกาย, วิ่งให้เหมาะกับวัย
วิ่งให้เหมาะกับช่วงอายุ สามารถลดอาการบาดเจ็บ และช่วยเพิ่มความแข็งแรง

•18-25 ปี

วัยนี้เริ่มเป็นผู้ใหญ่แล้วสามารถวิ่งได้ระยะทางไกล แต่ด้วยอารมณ์ของวัยรุ่นที่ขึ้นลงแนะนําให้วิ่งเร็วๆ ในระยะทางใกล้จะเหมาะกับร่างกายและจิตใจว้าวุ่นของพวกเขา

•26-39 ปี

คนวัยนี้สามารถวิ่งได้อย่างไร้กังวล พวกเขาสามารถวิ่งได้นานและเป็นระยะทางไกล แต่ด้วยความที่ร่างกายฟิตเกินร้อย สิ่งที่ควรระวังจึงเป็นเรื่องของการไม่หยุดพัก เพราะร่างกายที่แข็งแรงก็อาจเกิดการบาดเจ็บจากความหักโหมได้เช่นกัน

•40-49 ปี

ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่บ่งบอกความชราชัดเจนนัก หากออกกําลังกายสม่ําเสมอ ความฟิตอาจไม่ต่างจากตอนอายุ 30 ปี บางคนอาจวิ่งได้ดีขึ้นด้วยซ้ํา แต่จะเหมาะสม กว่าถ้าจะจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้มากกว่าตอนอายุน้อย เช่น มีวันที่เดินแทนวิ่งมากขึ้น

•50-59 ปี

เป้าหมายแรกของการวิ่งในวัยเลข 5 คือ อย่าให้เกิดอาการบาดเจ็บเป็นอันขาด ควรเน้นย้ําเรื่องการฟื้นตัวจากความเหนื่อยล้าในการวิ่งวันก่อนหน้าให้ดีเสียก่อนที่จะวิ่งอีกครั้ง แม้ว่าจะใช้เวลานานก็เป็นเรื่องจําเป็น อย่าหลงเข้าใจผิดว่าตนยังเป็นหนุ่มสาว ทุกคราวที่วิ่งควรถามตัวเองเสมอว่า สิ่งนี้มีความจําเป็นหรือไม่และพร้อมที่จะลด หรือตัดความสุ่มเสี่ยงที่ไม่จําเป็นลงไหม

•60-70 ปี

วัยเกษียณแบบนี้ บางคนปล่อยเนื้อปล่อยตัวยินยอม รับ นิยามของความชราจากกระแสหลักทั้งที่ยังอยากวิ่ง ควรลองตีสนิทนักวิ่งผู้รักสุขภาพในวัยเดียวกัน เพื่อเรียนรู้เทคนิคเฉพาะตัวและหลีกเลี่ยง สภาวะเสี่ยงบาดเจ็บต่างๆ ทั้งจากกิจกรรมการวิ่งและอื่นๆ เพื่อคงสภาพร่างกายให้พร้อมสําหรับการออกกําลังกายหรือ วิ่งไปอีกนาน โดยพักผ่อนให้มากกว่าที่ผ่านมา

บทความอื่นที่น่าสนใจ

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.