สมุนไพรจีน, บรรเทาโรคเบาหวาน, ป้องกันเบาหวานขึ้นตา, เบาหวาน, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ป้องกันโรคเบาหวาน

ชาสมุนไพรและอาหารจีน ลดน้ำตาล ป้องกันเบาหวานขึ้นตา

ซานเหย้า

คือมันเทศชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์ช่วยบำรุงม้าม กระเพาะอาหาร คนไข้โรคเบาหวาน ม้าม กระเพาะอาหาร ตับ ตับอ่อน จะอ่อนแอ เราสามารถนำซานเหย้ามาทำอาหารเพื่อบรรเทาโรคเบาหวานได้หลายอย่าง เช่น คุกกี้ ซานเหย้านึ่ง หรือชาซานเหย้า โดยการนำมาต้มกับน้ำ ใส่หญ้าหวานลงไป จากนั้นนำมากินทั้งน้ำและเนื้อ

ในเมืองไทยหาซื้อซานเหย้าได้ตามตลาดขายอาหารและสมุนไพรจีนใหญ่ๆ เช่น เยาวราช ส่วนในเมืองจีน คนจีนนิยมกินซานเหย้าก่อนกินข้าว เพื่อช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อย ไม่ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เมนูที่คนจีนชอบกินคือ นำซานเหย้ามาผัดกับเห็ดหูหนูดำ ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ซอสเปรี้ยว ผัดเสร็จแช่ให้เย็นแล้วจึงนำออกมากิน

สมุนไพรจีน, บรรเทาโรคเบาหวาน, ป้องกันเบาหวานขึ้นตา, เบาหวาน, ลดระดับน้ำตาลในเลือด, ป้องกันโรคเบาหวาน
สมุนไพรจีนหลายชนิด มีสรรพคุณบรรเทาโรคเบาหวาน โดยนำมาต้มดื่มเป็นชา หรือผสมในอาหาร

ฟักทอง ถั่วเขียวต้ม

ใช้ฟักทอง 500 กรมั ถั่วเขียว 250 กรมโดยหั่นฟักทองเป็นชิ้นเล็ก นำถั่วเขียวต้มกับน้ำให้สุก จากนั้นใส่ฟักทองลงไป ใส่หญ้าหวานเล็กน้อย ต้มให้ฟักทองสุก กินน้ำและเนื้อ วันละ 2 ครั้งเช้า – เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือด ทำให้ตัวเย็นลง เพราะถั่วเขียวมีฤทธิ์ลดความร้อน จึงเหมาะกับผู้ป่วยเบาหวาน

 

ชาซานเหย้าแห้ง หวงฉี บ๊วยดำ

สำหรับชาสูตรนี้เราใช้ซานเหย้าตากแห้งที่ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร หวงฉี บำรุงชี่เพิ่มพลังงานร่างกาย และบ๊วยดำเพิ่มกลิ่นหอม ใช้ซานเหย้าและหวงฉีอย่างละ 30 กรัม บ๊วยดำ 1 เม็ด ชงกับน้ำร้อน 500 ซีซี จิบได้ตลอดวัน แต่ชาสูตรนี้ไม่เหมาะกับคนที่ขี้ร้อน เหงื่อออกง่าย หรือเป็นไข้หวัด

เก๋ากี้, สมุนไพรจีน, เบาหวาน, ป้องกันเบาหวานขึ้นตา, ลดน้ำตาลในเลือด
ชาเก๋ากี้ ซานจา ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขึ้นตา

ชาเก๋ากี้ ซานจา

ชาตำรับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานขึ้นตา เก๋ากี้บำรุงไต บำรุงตับ ส่วนซานจาบำรุงม้าม กระเพาะอาหาร วิธีชงคือ ใส่เก๋ากี้และซานจาอย่างละเท่าๆ กัน ชงกับน้ำร้อน ดื่มเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล จะสังเกตได้ว่าชาและอาหารที่ช่วยลดน้ำตาลในเลือดจะมีรสเปรี้ยวและขม ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีปัญจธาตุที่มีเรื่องสีและรสที่สังกัดเข้ามาเกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าการกินหวานมากจะทำลายตับ ตับอ่อน รสขมนั้นมีฤทธิ์เย็น จึงช่วยลดความร้อน ส่วนรสเปรี้ยวจะช่วยระบายตับที่อุดกั้น

 

นอกจากชาและอาหารที่ต้องดูแลแล้ว คนไข้ต้องควบคุมเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกด้วย เพราะเกี่ยวพันกับอวัยวะตับ โกรธ โมโห เสียใจมาก ก็ทำให้ตับทำงานผิดปกติได้เช่นกัน รวมถึงต้องหม่นั ออกกำลังกายด้วยเพื่อให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างสมดุล

 

จาก คอลัมน์หมอจีนประจำบ้าน นิตยสารชีวจิต ฉบับ 462


บทความน่าสนใจอื่นๆ

เปิดตำราสมุนไพรจีนตามหาคุณค่าถั่งเช่า

12 สมุนไพรจีน ช่วยบำรุงสุขภาพ

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.