ออฟฟิศซินโดรม, ต้านออฟฟิศซินโดรม, บรรเทาออฟฟิศซินโดรม

5 เมนูพื้นบ้าน ต้านออฟฟิศซินโดรม

ปวดกล้ามเนื้อ

อาการนี้มักเป็นบริเวณอวัยวะที่ใช้งานหนัก เช่น หลัง ไหล่ บ่า แขน ข้อมือ ในทางแพทย์แผนจีนกล่าวว่า การทำงานในท่าหนึ่งนานๆ หรือทำกิจกรรมใดซ้ำๆ ทำให้กล้ามเนื้อต้องทำงานหนัก เกิดอาการตึงของกล้ามเนื้อ เนื่องจากเลือดลมไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่ดี จึงเกิดอาการปวดหรือชาตามแขน ขา หรือนิ้วมือนิ้วเท้า

นอกจากนี้ การอยู่ในออฟฟิศที่เปิดแอร์เย็นจัดตลอดเวลายังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของอาการปวดกล้ามเนื้อ เนื่องจากความเย็นจะแทรกเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เลือดลมในร่างกายไม่ไหลเวียน จึงเกิดอาการปวด อาการชา

ปวดกล้ามเนื้อ ต้านออฟฟิศซินโดรม
ดื่มน้ำตะไคร้ ช่วยการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยจากการทำงาน

How - to แก้ปวดเมื่อย

วิธีแก้ ควรดื่มน้ำตะไคร้ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ช่วยการไหลเวียนโลหิตจะช่วยบรรเทาอาการปวด และควรออกกำลังกาย เช่น ว่ายน้ำ รำมวยจีน ร่วมด้วย เพื่อให้ร่างกายร้อน จะช่วยกระตุ้นให้เลือดลมหมุนเวียนดีกล้ามเนื้อก็จะคลายอาการปวดเกร็งลง นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ

เมนูคลายเส้น - น้ำตะไคร้

  สรรพคุณ ขับลมในเส้นเอ็น ช่วยเลือดหมุนเวียน บรรเทาอาการปวด กล้ามเนื้อโดยเฉพาะในส่วนเหง้า แก้อ่อนเพลีย ช่วยให้เจริญอาหาร

วิธีทำ ใช้ตะไคร้ 2 ต้น หั่นทั้งเหง้าแล้วใส่ในหม้อ ต้มจนเดือด หรี่ไฟแล้วต้มต่ออีก 5 นาที ดับเตา ดื่มได้ทั้งวันถ้าดื่มก่อนอาหารจะช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้สดชื่น

 

ปวดศีรษะ

เกิดจากอาการตึงเกร็งของกล้ามเนื้อต้นคอและบ่าสะสม เนื่องจากอยู่ผิดท่าเป็นเวลานาน เมื่อเป็นมากๆ อาจลามไปยังศีรษะ แพทย์แผนจีน ชี้ว่า เกิดจากภาวะที่ร่างกายร้อนเกิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียดพักผ่อนน้อย อดอาหาร กลั้นปัสสาวะอุจจาระนานเกินไป นั่งรถเดินทางนานๆ หรือรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์ร้อน เช่น อาหารประเภทแป้ง ไขมัน และอาหารที่ปรุงเผ็ดจัด มันจัดมากเกินไป

อีกทั้งการใช้เครื่องมือสื่อสารและคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดอาการปวดจี๊ดที่ศีรษะได้เช่นกัน เพราะเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะปล่อยคลื่นพลังงานความร้อนซึ่งส่งผลให้เกิดความเครียด อาการปวดศีรษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ รวมไปถึงมะเร็ง

อาการปวดศีรษะ, ปวดหัว, ต้านออฟฟิศซินโดรม, ความเครียด
หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัด มันจัด และเผ็ดจัด แก้อาการปวดศีรษะจาการทำงาน

How - to แก้อาการปวดศีรษะ

ควรหลีกเลี่ยงไม่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดต่อกันเป็นเวลานานโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนเข้านอน เพราะอาจทำให้มีปัญหาต่อการนอน ควรหลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด มันจัด หวานจัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสิบโมงถึงบ่ายสองโมง ซึ่งเป็นช่วงที่ไฟกำเริบตามหลักแพทย์แผนไทย

มื้อกลางวันควรกินอาหารประเภทเส้นและผักที่มีฤทธิ์เย็น เช่น มะระ ตำลึง ดอกแค ดอกขจร ผักกาดขาว กวางตุ้งไต้หวัน ผักบุ้ง สามารถกินเนื้อสัตว์ได้พอประมาณ ซึ่งสอดคล้องกับอาหารตำรับชีวจิตที่อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง แนะนำไว้ในหนังสือ ชีวิตเริ่มต้นเมื่อ 70 ให้กินก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟใส่ผักบุ้งและเต้าหู้มากๆ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ควบคู่กับการกินสลัดและผลไม้มากๆ

 

เมนูปรับสมดุล

ผักที่มีฤทธิ์เย็นล้วนเป็นผักพื้นบ้านที่อยู่คู่ครัวเรือนไทยมาช้านาน คนไทยโบราณเรียนรู้ศาสตร์การ ใช้อาหารบำบัดโรคและการกินอาหารตามฤดูกาลเพื่อปรับสมดุลร่างกายมาเนิ่นนานแล้ว จึงมีตำรับอาหารแก้ไข้เปลี่ยนฤดู (ช่วงปลายฝนต้นหนาว) อย่างแกงส้มดอกแค

แต่เพราะคนปัจจุบันละเลยการกินอาหารแบบดั้งเดิม หันไปนิยมกินอาหารที่ไม่เข้ากับสภาวะอากาศบ้านเรา เช่น เนื้อ นม ไข่ ของทอดของมัน ทั้งๆ ที่บ้านเราอากาศร้อนอยู่แล้ว จึงเกิดอาการเจ็บป่วยต่างๆ มากมาย

ดังนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับมาสนใจผักพื้นบ้านของไทยเราที่อุดมด้วยคุณประโยชน์และสรรพคุณในการรักษาโรค

มาปรับสมดุลร่างกายง่ายๆ ด้วยการกินผักพื้นบ้านไทยเรากันเถอะ

ตำลึง, ต้านออฟฟิศซินโดรม, ผักพื้นบ้าน, อาหารบำบัดโรค, ผัก
กินตำลึง ช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้

ตำลึง มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด มีความสามารถในการจับไนไตรท์ซึ่งลดอัตราเสี่ยงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร

เมนูแนะนำ แกงจืดตำลึงหมูสับปรุงรสอ่อนๆ ต้มเลือดหมูตำลึง ตำลึงผัดหมูใส่น้ำมันน้อยๆ

มะระ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้เจริญอาหาร บรรเทาอาการจากโรคตับและเบาหวาน

  เมนูแนะนำ มะระผัดไข่ แกงจืดมะระ มะระผัด ผักกาดดองกระดูกหมู

 

 

<< ตาหร่า อ่อนเพลีย ต้องแก้อย่างไร มีต่อที่หน้า 3 ค่ะ >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.