อาหารโรคไตเรื้อรัง, ผักที่มีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรกินผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ และระมัดระวังการกินผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ, โรคไตเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง, ไต

กินอาหาร ยืดอายุ โรคไตเรื้อรัง

แป้งปลอดโปรตีนและไขมันดี

ต้องจํากัดปริมาณโปรตีน หากเลือกกินแป้งปลอดโปรตีน เช่น วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู แป้งมัน แป้งข้าวโพด จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานจากอาหารโดยไม่เพิ่มภาระให้ไต

ส่วนไขมันยังคงเป็นสารอาหารจําเป็นที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และช่วยดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค

ควรเลือกใช้ไขมันดีประกอบอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก น้ํามันถั่วเหลือง น้ำมันรําข้าว น้ํามันงา หลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู เนย เนยเทียม เนยขาว มาการีน รวมถึงไขมัน ที่แฝงตัวอยู่ในหนังและเนื้อสัตว์ติดมัน

มะเขือเทศ, โพแทสเซียมสูง, อาหารโรคไตเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคไต, โรคไตเรื้อรัง
มะเขือเทศ มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยง

ผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ

ผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูงจะช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก ซึ่งอาจทําให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น และจะไปเร่งให้ไตเสื่อม เร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงควรกินผักผลไม้เพิ่มขึ้น แต่หากป่วยเป็นโรค ไตเรื้อรังระยะ 4 – 5 จะขับปัสสาวะได้น้อย เมื่อกินผักและผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูงจะทําให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้น อย่างผิดปกติ หากไม่ควบคุมอาหาร อาจมีผลให้หัวใจเต้นผิด จังหวะ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ ไดแก่ แตงกวา แตงร้าน  ฟักเขียว  ฟักแม้ว บวบ มะระ มะเขือยาว มะละกอดิบ หอมหัวใหญ่ กะหล่ำปลี ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม พริกหวาน พริกหยวก สามารถกินผักดิบได้มื้อละ 1 ถ้วยตวง ผักสุกมื้อละ 1- 2 ถ้วยตวง

สําหรับผักผลไม้ส่วนใหญ่มีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนกิน ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีระดับโพแทสเซียม ในเลือดปกติ ใน 1 วันสามารถกินผลไม้ได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ องุ่น 10 ผล สับปะรด 8 ชิ้นคํา ส้มเขียวหวาน 1 ผล ชมพู่ 2 ผล แตงโม 10 ชิ้นคํา ส้มโอ 3 กลีบ มังคุด 3 ผล เงาะ 4 ผล

อ่านต่อ >> การดื่มน้ำถนอมไต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.