โรคนอนกรน โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ รักษาโรคนอนกรน นอน นอนหลับ นอนกรน

โรค นอนกรน หรือโรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ

การรักษาโรคนอนกรนมี 3 วิธีดังนี้ครับ

1. มาตรการทั่วไป 

ได้แก่ การลดน้ำหนัก การเลิกบุหรี่ แอลกอฮอล์และยากล่อมประสาท ยานอนหลับการหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย

รักษาโรคนอนกรน, โรคนอนกรน, อุปกรณ์แก้นอนกรน, นอนกรน, แก้นอนกรน
เครื่องเพิ่มความดันลมหายใจแบบต่อเนื่องผ่านจมูก ช่วยรักษาโรคนอนกรน

2. การใช้อุปกรณ์ช่วย 

อุปกรณ์ที่ดีที่สุดและผมแนะนำเป็นตัวแรกก็คือ เครื่องเพิ่มความดันลมหายใจแบบต่อเนื่องผ่านจมูก (Nasal CPAP) ถ้าไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยไม่ชอบก็ต้องหันไปใช้อุปกรณ์ตัวที่สองคือ เครื่องครอบช่วยหายใจสองจังหวะ (BiPAP) ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรับความดันในช่วงหายใจเข้า และออกให้พอดีได้เอง แต่มีราคาแพงกว่าและผลการรักษาก็ไม่ได้แตกต่างจาก CPAP

ถ้าผู้ป่วยยังทนไม่ได้อีก คราวนี้ก็เหลืออุปกรณ์สุดท้ายคือ อุปกรณ์เปิดทางเดินลมหายใจ (OA) ที่นิยมใช้มี 3 แบบ คือ ตัวกันลิ้นตก (Tongue Retaining Device, TRD) ตัวค้ำขากรรไกร และตัวค้ำเพดานปาก หากแต่ข้อมูลความสำเร็จของการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ในระยะยาวยังมีจำกัดมาก

3. การผ่าตัด 

โดยใช้วิธีแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับการอุดกั้นทางเดินลมหายใจอยู่ที่ระดับหลังเพดานปากหลังลิ้น หรือคร่อมทั้งสองระดับ ถ้าการอุดกั้นเกิดที่เพดานปากส่วนหลังการผ่าตัดก็ทำแค่ยกเพดานปากและลิ้นไก่ก็พอ การผ่าตัดลักษณะนี้ประสบความสำเร็จเพียงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น และมีประมาณ 31 เปอร์เซ็นต์ที่หลังจากผ่าตัดชนิดนี้แล้วอาการกลับแย่ลง

ถ้าการอุดกั้นเกิดที่ระดับหลังลิ้นก็อาจจะต้องผ่าตัดดึงลิ้น หรือบางทีก็อาจจะต้องถึงกับเลื่อนกระดูกกรามล่าง ซึ่งมักจะแก้การอุดกั้นได้ ทุกระดับการเลือกผ่าตัดแบบไหนย่อมสุดแล้วแต่ผลการประเมินจุดอุดกั้นว่าเกิดตรงไหน

เพราะฉะนั้นท่านที่คิดว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนกรน หรือคิดว่ามีภาวะหยุดหายใจร่วมด้วย ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการตรวจรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 

จาก คอลัมน์ WELLNESS CLASS นิตยสารชีวจิต ฉบับ 448


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แก้นอนกรนด้วย 4 สมุนไพร

เทคนิคนอนหลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ต้านสารพัดโรค

วิธีกินช่วยให้นอนหลับ

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.