แกงส้ม, แกงเลียง, ป้องกันมะเร็ง, แกงไทย, มะเร็งเม็ดเลือดขาว

แกงไทย ป้องกันมะเร็ง ได้

แกงส้ม แกงป่า แกงเหลือง แกงเลียง ทำลายมะเร็งเม็ดเลือดขาว

เมื่อไม่ตามใจเซลล์มะเร็ง โดยการงดกินอาหารหวานมันเปลี่ยนมากินแกงไทยแทน พบว่า เซลล์มะเร็งพร้อมใจตายแบบไม่ต้องออกแรง

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศรีและทีมวิจัย ทดลองหยดน้ำแกง 4 ชนิด ได้แก่ น้ำแกงส้ม น้ำแกงป่า น้ำแกงเหลือง และน้ำแกงเลียง ให้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวในหลอดทดลองเปรียบเทียบกับยาฆ่าเซลล์มะเร็ง พบว่า น้ำแกง 4 ชนิดช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งในหลอดทดลองได้จริง โดยเรียงตามประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งจากมากไปหาน้อย คือ แกงเลียง แกงป่า แกงส้ม และแกงเหลือง

แกงส้ม, กำจัดเซลล์มะเร็ง, แกงไทย, ป้องกันมะเร็ง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว
แกงส้ม มีประสิทธิภาพในการกำจัดเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว

โดยพบว่า น้ำแกงสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ 40 – 50 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่ยาสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ 70 – 80 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากน้ำพริกแกงของแกงทั้ง 4 ชนิดอุดมไปด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางยาทั้งมีสารต้านมะเร็งและสารต้านอนุมูลอิสระ โดยส่วนผสมหลักในน้ำพริกแกง คือ พริกสดหรือพริกแห้ง กระเทียม หอมเล็ก กะปิ เกลือ นอกเหนือจากนั้นคือ สมุนไพรที่ทำให้แกงแต่ละชนิดมีกลิ่นรสเฉพาะตัว เช่น น้ำพริกแกงเลียงต้องใส่พริกชี้ฟ้า เม็ดพริกไทยกระชาย กุ้งแห้ง เพิ่ม

น้ำพริกแกงส้มต้องใส่กุ้งสดตำลงไป น้ำพริกแกงป่าจะครบเครื่องต้องเพิ่มผิวมะกรูด ข่าแก่ ส่วนน้ำพริกแกงเหลืองใช้พริกสด กระเทียม หอมเล็ก กะปิ เกลือ เช่นเดิม ที่ต้องใส่เพิ่มคือตะไคร้และขมิ้น

พริกซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญที่ขาดไม่ได้ในน้ำพริกแกงนั้นมีสารแคปไซซินซึ่งมีคุณสมบัติต้านเซลล์มะเร็ง โดยนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีมัทราส ประเทศอินเดีย (The Indian Institute of Technology Madras) พบว่า สารแคปไซซินสามารถยึดเกาะผิวของเซลล์มะเร็งและแทรกซึมเข้าไปได้ถึงเยื่อหุ้มเซลล์ ส่งผลให้เยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์มะเร็งเกิดการเปลี่ยนแปลงและหากมีปริมาณมากพออาจมีผลทำลายเซลล์มะเร็ง

กระเทียมก็เป็นส่วนผสมสำคัญในน้ำพริกแกง มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า กระเทียมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด ล่าสุดมีรายงานจากJournal of Nutrition ระบุว่า ไม่ว่ากระเทียมสดหรือกระเทียมที่ผ่านความร้อน หากกินเป็นประจำมีผลช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ส่วนหอมเล็กก็สำคัญไม่แพ้กัน ข้อมูลจากวารสาร Archives of Medical Science พบว่า สารสกัดจากหอมเล็กมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็ง ที่สำคัญคือไม่ทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ใกล้เคียง

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.