ไต, โรคไต, ผู้ป่วยโรคไต, ป้องกันโรคไต, ถนมไต

เทคนิคถนอม ไต แม้กินยามานาน

ดื่มน้ำมากๆ

เพราะไตมีหน้าที่ขจัดสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย คุณหมอธัญญารัตน์ กล่าวว่า เราควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8 – 10 แก้ว (หากไม่มีข้อห้ามจากแพทย์ในการจำกัดปริมาณน้ำ) เพื่อช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียได้ดีขึ้น การดื่มน้ำน้อยส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญ ทำให้มีของเสียคั่งในร่างกาย ไต จึงต้องทำงานหนัก

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ต้องรับการตรวจด้วยระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องฉีดสารทึบรังสีที่ออกกฤทธิ์ทำลายไต คุณหมอธัญญารัตน์ แนะนำว่า ควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ ทั้งก่อนและหลังการตรวจ เพราะไตจะต้องทำหน้าที่ทำลายสารทึบรังสีออกจากร่างกายดังนั้นน้ำจะช่วยให้ไตทำงานดีขึ้น

ออกกำลังกาย

ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตามประสิทธิภาพของร่างกายและหัวใจเพื่อให้โลหิตไหลเวียนทั่วร่างกาย จะส่งผลให้ไตทำงานได้ดียิ่งขึ้น หากไตขาดเลือดก็จะทำให้ไตทำงานได้ไม่เต็มที่ ของเสียหรือยาที่เรากินเข้าไปก็จะยิ่งตกค้าง

นอนหลับ, ช่วยพักฝื้นไต, ไต, โรคไต, ผู้ป่วยโรคไต
นอนหลับให้เพียงพอ ช่วยพักฟื้นไตจากการทำงานหนัก

 

นอนหลับให้เพียงพอ

คุณหมอธัญญารัตน์ อธิบายว่า ใครที่กินยาเป็นประจำต้องพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่าไม่อ่อนเพลีย และมีภูมิต้านทานต่อโรคต่างๆ

ซึ่งเวลาของการนอนก็มีส่วนช่วยให้ไตที่ต้องทำงานหนักได้ฟักฟื้น โดยการนอนในตอนกลางคืนของวัยสูงอายุอาจไม่ต้องมากเทียบเท่ากับวัยทำงาน ผู้สูงวัยควรแบ่งเวลาตอนกลางวันนอนราว 1 – 2 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้การนอนในเวลากลางคืนจะเป็นเวลาที่ดีที่สุดสำหรับไตของคนทุกเพศทุกวัย

 

กินบำรุงไต

สำหรับผู้ที่กินยาในปริมาณมาก คุณหมอธัญญารัตน์แนะนำให้กินอาหารรสจืด รวมทั้งงดและลดอาหารรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด ซึ่งการกินผัก ผลไม้ และเนื้อปลา จะช่วยให้ไตไม่ต้องทำงานหนักเพื่อขจัดของเสียในร่างกาย

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.