หัวใจ, ถนอมหัวใจ, โรคหัวใจ, ป้องกันโรคหัวใจ, ลดความเสียงโรคหัวใจ

สลายเครียด ถนอมหัวใจ วัยทำงาน

เวิร์คกิ้งวูแมนตัวแม่

“ทำงานตัวเป็นเกลียว หัวเป็นนอต” คือนิยามของคนทำงานยุคนี้ และดูเหมือนว่าค่านิยมในการทำงานหนักจะเป็นสิ่งที่ใช้วัดคุณค่าของคนได้เป็นอย่างดี แต่เชื่อหรือไม่คะว่า การมุ่งมั่นทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนแบบนี้ นอกจากจะทำให้เสียสุขภาพแล้ว ยังส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต!

เรื่องนี้ ชีวจิต ไม่ได้โม้ แต่การทำงานหนักจนตายมีกรณีศึกษาให้เห็นกันจริงๆ ในแดนปลาดิบ โดยมีการค้นพบโรคชนิดหนึ่ง ชื่อว่า โรคคาโรชิ (Karochi Syndrome) ที่หมายถึงการเสียชีวิตเพราะทำงานหนัก

โรคที่ว่านี้เกิดจากลักษณะนิสัยของชาวญี่ปุ่นที่มีความมุ่งมั่นกับการทำงานเป็นอย่างมาก บางคนก็ทุ่มเทให้การทำงานล่วงเวลาจนไม่ยอมพักผ่อนและเกิดความเครียดสะสม ซึ่งเป็นเหตุให้หัวใจและสมองต้องทำงานหนักมากขึ้น นำไปสู่การเกิดโรคคาโรชิซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคใหลตาย คือนอนหลับแล้วเสียชีวิตไปเฉยๆ บนโต๊ะทำงานหรือสถานที่ต่างๆ เช่น รถไฟฟ้า สวนสาธารณะ ฯลฯ แค่คิดภาพตามก็น่ากลัวแล้วค่ะ

วัยทำงาน, ถนอมหัวใจ, หัวใจ, โรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูง
วัยทำงาน มักต้องเผชิญกับความเครียด ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคตามมาได้

ประหม่า กังวล ตีตนไปก่อนไข้

หลายคนเคยมีอาการหัวใจเต้นแรง หายใจติดๆ ขัดๆ เหงื่อออก และมือไม้สั่น ในเวลาที่รู้สึกกลัว วิตกกังวล หรือประหม่าเมื่อต้องทำอะไรต่อหน้าคนหมู่มาก ซึ่งอาการดังที่กล่าวมาคงเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า ลักษณะนิสัยของคนกลุ่มนี้มีส่วนเชื่อมโยงกับหัวใจอย่างไร

ประหม่า, วิตกกังวล, ตีตนไปก่อนไข้, ถนอมหัวใจ, หัวใจ, โรคหัวใจ,
วิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ เกินกว่าเหตุ มีส่วนก่อให้เกิดโรคหัวใจ

ดังที่ ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม และ ดร.ปรัชญา ปิยะมโนธรรม สองนักจิตวิทยาชื่อดัง กล่าวไว้ในหนังสือ พัฒนาจิต พิชิตงาน ว่า คนทำงานที่มีนิสัยขี้กลัว ขี้ประหม่า จะรู้สึกอึดอัดและเครียดง่ายกว่าคนทั่วไป เพราะพวกเขามักจะคิดว่าตัวเองถูกจับจ้องอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น สุดท้ายจึงต้องเก็บทุกอย่างไปคิดมากและร้องไห้ตามลำพังจนกลายเป็นคนเก็บกด ซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจ

ส่วนในวารสาร อเมริกัน คอลเลจ ออฟ คาร์ดิโอโลจี (Journal of the American College of Cardiology) ได้ระบุเช่นกันว่า การวิตกกังวลกับสิ่งต่างๆ เกินกว่าเหตุ มีส่วนก่อโรคหัวใจและทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เสียชีวิตเร็วขึ้นเนื่องจากระดับความวิตกกังวลส่งผลให้ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นทางผ่านของเลือดและออกซิเจนที่จะส่งไปเลี้ยงหัวใจเกิดการอุดตัน จนก่อให้เกิดอาการหัวใจวายและเจ็บแน่นหน้าอกเพราะหลอดเลือดหัวใจตีบได้

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.