มะเร็งรังไข่, มดลูก, รังไข่, มะเร็ง, โรคมะเร็ง

ป้องกัน มะเร็งรังไข่ อย่างไร เรียนรู้ก่อนจะสาย

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เป็นมะเร็งรังไข่มีดังนี้ค่ะ

1. พันธุกรรม ข้อนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสูงที่สุด คือมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ นอกจากนั้นหากมีญาติสายตรง (พ่อแม่ พี่น้อง ลูก) สองคนขึ้นไปเป็นมะเร็งเต้านม หรือตรวจพบว่ามียีน BRCA1 BRCA2 ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ร้อยละ 13 - 46

2. อายุ ช่วงอายุ 50 - 75 ปี มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าคนอายุน้อยถึง 10 เท่า

3. มีโรคหรือภาวะบางอย่าง เช่น มีลูกยาก มีลูกหลังอายุ 30 ปี มีฮอร์โมนเพศหญิงสูง เช่น เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Disease) มีการเสริมฮอร์โมนเพศหญิง เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สูบบุหรี่ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า

4. คุมกำเนิดโดยสวมห่วงอนามัย มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ 1.76 เท่า

 

มะเร็งรังไข่, มดลูก, รังไข่, มะเร็ง, โรคมะเร็ง

วิธีป้องกันมะเร็งรังไข่

พบว่าสามารถลดการเกิดมะเร็งรังไข่ได้หากกินยาเม็ดคุมกำเนิด ตั้งครรภ์ให้นมลูกนาน 12 เดือนขึ้นไป และทำหมัน โดยลดได้ประมาณร้อยละ 30

วิธีสังเกตอาการ

มีอาการปวดท้อง ท้องอืดท้องโตขึ้น เบื่ออาหาร อิ่มง่าย หากเป็นนานกว่า 1 ปี ร้อยละ 1 จะเป็นมะเร็งรังไข่

ส่วนการคัดกรองมะเร็งรังไข่ให้ตรวจพบแต่เนิ่น ๆนั้นยังไม่มีวิธีที่ได้ผลชัดเจน แพทย์อาจแนะนำให้คนที่มีความเสี่ยงสูงตรวจรังไข่โดยวิธีอัลตราซาวนด์ทางช่องคลอดและตรวจเลือดหาสารเคมี CA125 แต่ยังไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก

 

จาก คอลัมน์ เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 424


บทความน่าสนใจอื่นๆ

เช็กอาการ ซีสต์รังไข่ ชนิดไหนยุบได้ ชนิดไหนใช่มะเร็ง

มะเร็งรังไข่ ป้องกันได้ด้วยการกินอาหาร “ซุปถั่วดำ”

โรคมะเร็งรังไข่ ป้องกัน บำบัด รักษาด้วยอาหาร

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.