อาการก่อนมีประจำเดือน, หลากอารมณ์, ปวดประจำเดือน, ประจำเดือน

อาการก่อนมีประจำเดือน ภาวะป่วนกวนกายใจคุณผู้หญิง

ปัจจัยเสี่ยงพีเอ็มเอสที่ผู้หญิงต้องรู้

นอกจากผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ จะมีโอกาสเผชิญกับภาวะกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนสูงแล้ว ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทองไกรพิบูลย์ ยังอธิบายถึงปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมในการเกิดภาวะดังกล่าวไว้ในหนังสือ รู้ลึกและเข้าใจโรคภายในของผู้หญิง ดังนี้

  • พันธุกรรม ที่ทำให้ร่างกายมีความไว / ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศสูงกว่าผู้หญิงทั่วไป เพราะมีการศึกษาพบว่า ในฝาแฝดและคนในครอบครัวเดียวกันมักมีอาการเหมือนกัน
  • เชื้อชาติ เพราะพบว่าผู้หญิงบางเชื้อชาติมีอาการก่อนมีประจำเดือนน้อยกว่าเมื่อเทียบผู้หญิงอีกเชื้อชาติหนึ่ง
  • บุคลิกภาพพื้นฐานของแต่ละคน พบว่าอาการรุนแรงมักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่ซึมเศร้าหรือเกิดภาวะเครียดได้ง่าย
  • ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ผู้หญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายจะพบอาการก่อนมีประจำเดือนได้มากกว่า

 

อาการก่อนมีประจำเดือน, หลากอารมณ์, ปวดประจำเดือน, ประจำเดือน, PMS
ผู้หญิงที่มีอารมณ์และจิตใจแปรปรวนก่อนมีประจำเดือน อาจอยู่ในภาวะพีเอ็มเอส

7 อันดับผลกระทบจากพีเอ็มเอส

ศาสตราจารย์ลอเรน เดนเนอร์สไตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเพศศึกษาและสุขภาพ แผนกจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นออสเตรเลีย ได้ทำการวิจัยเชิงคุณภาพในกลุ่มผู้หญิงและแพทย์ในประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก 4 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย ฮ่องกงปากีสถาน และไทย พบว่า

“ผู้หญิงจำนวนมากในเอเชียแปซิฟิกที่ประสบภาวะพีเอ็มเอสและพีเอ็มดีดี แต่กลับไม่พยายามหาวิธีรักษา เนื่องจากมีความเชื่อที่ผิดว่าอาการก่อนมีประจำเดือนเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณบอกว่าประจำเดือนกำลังจะมา หรือเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ผู้หญิงทุกคนต้องประสบอยู่แล้ว โดยที่ไม่ได้ตระหนักเลยว่าอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้อาจนำไปสู่ความรุนแรงของอาการที่เพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว”

สำหรับประเทศไทยมีการวิจัยเชิงปริมาณยืนยันว่า กิจกรรมในชีวิตประจำวันและสิ่งที่ได้รับผลกระทบจากอาการพีเอ็มเอสมี 7 อันดับ ดังนี้

  1. ประสิทธิภาพการทำงาน 66 เปอร์เซ็นต์
  2. ความเป็นระเบียบภายในบ้าน 53 เปอร์เซ็นต์
  3. คู่รักและครอบครัว 23 เปอร์เซ็นต์
  4. เพื่อนและผู้ร่วมงาน 13 เปอร์เซ็นต์
  5. กิจกรรมยามว่าง 12 เปอร์เซ็นต์
  6. กิจกรรมทางเพศ 12 เปอร์เซ็นต์
  7. การเรียน 8 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตาม อาการก่อนมีประจำเดือนสามารถบรรเทาลงได้ด้วยการหมั่นออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่งดเว้นการกินเหล้า สูบบุหรี่ และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงก็ควรไปพบแพทย์นะคะ

 

 

<< อาการก่อนมีประจำเดือนมีอะไรบ้าง อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.