อาหารป้องกันโรค, เลือกกินอาหาร, อาหารที่มีประโยชน์, ป้องกันโรค, โรคมะเร็ง, โรคความดันโลหิตสูง

เลือกซื้อสุดยอด อาหารป้องกันโรค เพื่อสุขภาพเลิศของครอบครัว

อาหารป้องกันโรค เพื่อสุขภาพเลิศของครอบครัว

แวะซูเปอร์มาร์เก็ตหลังเลิกงานคราวใด ก็อดเลือกซื้อสุดยอด อาหารป้องกันโรค เข้าบ้านไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้โรคมะเร็งคุกคามคนไทย ว่ากันว่าเฉพาะมะเร็งเต้านมนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตถึงวันละ16 คนเลยทีเดียว

ไหนจะโรคเรื้อรังอย่างความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูงอีกเล่า ซึ่งล้วนเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดในสมองแตก ตีบ และตัน ทำให้ผู้ใหญ่วัยเกษียณเป็นอัมพาตกันนักต่อนัก

ครั้นมองรอบกาย สิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันล้วนเต็มไปด้วยสารพิษและสารเคมีปนเปื้อน แม้แต่อาหารที่กินเข้าไปแต่ละคำ ยังไม่น่าไว้ใจการกินอาหารสุขภาพที่่ลดพิษออกจากร่างกายเสียบ้างจึงจำเป็น

ว่าแล้วรีบคว้ารถเข็นเดินเลือกอาหารดีกว่า

 

Top Foods ป้องกันมะเร็ง

องุ่น

จากการศึกษาวิจัยพบว่า สารสกัดจากองุ่นแดงสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ นอกจากนี้ผลองุ่นเองยังเป็นแหล่งแอนติออกซิแดนต์ที่สำคัญ ช่วยเพิ่มอิมมูนซิสเต็ม ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

สตรอว์เบอร์รี่

เป็นแหล่งของกรดเอลลาจิก (Ellagic Acid) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมฮอร์โมนเอสโทรเจนให้สมดุลเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง

มะเขือเทศ

อุดมไปด้วยไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งปอด กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ ช่องปาก เต้านม มะเขือเทศที่ผ่านกระบวนการผลิตให้อยู่ในรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะมีไลโคปีนสูงขึ้น

แครอต

เพราะอุดมไปด้วยสารแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีการศึกษาพบว่า ช่วยลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมถึง 20 เปอร์เซ็นต์ และมะเร็งตับอ่อน ลำไส้ ปากมดลูกถึง 50 เปอร์เซ็นต์

ผักผลไม้, ป้องกันมะเร็ง, อาหารป้องกันโรค, โรคมะเร็ง, ป้องกันโรค
กินผักผลไม้เป็นประจำ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

อ่านต่อหน้าที่ 2

 

Dual Foods ควบคุมความดันและคอเลสเตอรอล

ถั่วขาว

เพราะมีคุณสมบัติช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและไขมันในเลือดสูง

เสาวรส

จากการศึกษาพบว่า สารสกัดจากเสาวรสช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ เช่นเดียวกับความเชื่อของชาวเปอร์โตริโกที่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคนี้กินผลเสาวรส

เสาวรส, ลดความดันโลหิตสูง, อาหารป้องกันโรค, ป้องกันโรค, โรคความดันโลหิตสูง
สารสกัดจากเสาวรส ช่วยลดความดันโลหิตสูง

3 Foods ขับสารพิษ

สับปะรด

เพราะอุดมไปด้วยเอนไซม์โบรมีเลน (Bromelian) ซึ่งช่วยต้านการอักเสบและยังช่วยการทำงานของไฟเบอร์ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย

ใยอาหาร

ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร โดยการกวาดเอาเศษไขมัน โปรตีน และสารพิษที่ตกค้างออกจากร่างกาย

คลอโรฟิลล์

ช่วยปรับความเป็นกรดเป็นด่างและขับสารพิษออกจากร่างกายได้อาหารเพื่อลดพิษในร่างกายมาเต็มรถเข็น เชื่อว่าหลังจากนี้ทุกคนในบ้านคงมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นแน่ๆ

กรดไหลย้อน, แก้กรดไหลย้อน, อาการกรดไหลย้อน, โรคกรดไหลย้อน
ปรับพฤติกรรมการกินให้ถูกต้อง ป้องกันกรดไหลย้อน

ปรับการกิน แก้กรดไหลย้อน

วิธีการกินเยียวยาอาการกรดไหลย้อนจาก นายแพทย์ประมวล จารุตระกูลชัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำชีวจิตโฮมคลินิก ซึ่งบอกเล่าไว้ในนิตยสาร ชีวจิต มาบอกต่อดังนี้

1. งดอาหารมื้อเย็นหรือกินผลไม้ทดแทน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กระเพาะอาหารสร้างน้ำย่อยออกมามากเกินไป หรือควรกินอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

2. งดเครื่องดื่มที่มีแก๊ส เช่น ชา กาแฟ แอลกอฮอล์ฯลฯ รวมถึงอาหารมัน หวาน เผ็ด และอาหารประเภทปิ้ง ย่าง ทอด เพราะเป็นอาหารที่กระตุ้นการสร้างน้ำย่อย

3. งดกินผักและผลไม้ที่มีกรดมาก เช่น ส้ม มะนาวมะเขือเทศ ฯลฯ

4. เคี้ยวอาหารอย่างช้าๆ ให้ละเอียด เพื่อช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ต้องทำงานหนักเกินไป

5. กินแซนด์วิช โดยนำขนมปังโฮลวีตไปปิ้งพอเกรียม หั่นหอมหัวใหญ่เป็นชิ้นบางๆ ยัดเป็นไส้ขนมปัง กินเป็นอาหารเช้า

6. กินสลัดผัก แนะนำให้เติมกระเทียมดิบ แครอตดิบและเซเลอรี่ดิบลงไปมากๆ รวมถึงควรกินผักที่มีใยอาหารมากๆ เช่น คะน้า บรอกโคลี ผักบุ้ง ตำลึง สะเดา

7. ดื่มน้ำเต้าหู้หรือกินกล้วย เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เป็นอยู่ในเวลานั้นได้

8. ดื่มน้ำขิง เพราะเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยย่อย โดยนำขิงแก่ที่ปอกเปลือกหั่นเป็นแว่นต้มในน้ำร้อนจนเดือดกรองเฉพาะน้ำดื่ม

9. ดื่มน้ำสับปะรด น้ำว่านหางจระเข้ หรือชามะละกอ เพื่อลดกรดและสมานแผลในกระเพาะอาหาร

10. ดื่มน้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำผึ้ง โดยนำน้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ปริมาณ 3 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ เติมน้ำร้อนครึ่งแก้ว คนให้เข้ากัน จิบตลอดวัน

11. กินขมิ้นชัน ครั้งละ 2 เม็ด 2 มื้อ หลังอาหาร เช้า – เย็น

จาก คอลัมน์ Special Section นิตยสารชีวจิต ฉบับ 364 (1 ธันวาคม 2556)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

6 Tips หุงข้าวกล้อง ให้หอมนุ่มอร่อย

สะระแหน่ ผักสารพัดประโยชน์ มิตรแท้ของลำไส้

ถั่วเขียว กินสู้เบาหวาน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.