ไวรัสเอชพีวี, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็ง, โรคมะเร็ง, มดลูก

คุณผู้หญิงต้องรู้จักและเข้าใจ ไวรัสเอชพีวี เพื่อป้องกัน มะเร็งปากมดลูก

คุณผู้หญิงต้องรู้จักและเข้าใจ ไวรัสเอชพีวี เพื่อป้องกัน มะเร็งปากมดลูก

ดิฉันอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายจากเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) เพราะเคยอ่านเจอว่าทำให้เกิด มะเร็งปากมดลูก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน จึงขอเรียนถามคุณหมอว่านอกจากการฉีดวัคซีนแล้วเราสามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างไรบ้าง และถ้าหากติดเชื้อแล้ว จะสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้นได้อย่างไรคะ

คุณหมอชัญวลี มาตอบ

แต่เดิมไม่มีใครทราบสาเหตุของการเกิด มะเร็งปากมดลูก คิดว่าเป็นโรคเวรโรคกรรมไปโน่น จนมีการค้นพบเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นดีเอ็นเอ (DNA) ไวรัส ชื่อเต็มคือ Human Papilloma Virus โดยศาสตราจารย์นายแพทย์เฮาเซน (Harald zur Hausen) ต่อมาได้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลในปี พ.ศ. 2548 และรางวัลโนเบลในปี พ.ศ.2551 เชื้อไวรัสเอชพีวี มีกว่า 120 สายพันธุ์ โดยกลุ่มติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 40 สายพันธุ์ โดยแบ่งเป็น

กลุ่มเสี่ยงสูง

เป็นสายพันธุ์ที่ก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและคอหอย (Oropharynx Cancer) มะเร็งอวัยวะเพศชาย เป็นต้น เช่น สายพันธุ์ 16 18 45 31 33 52 58 โดยสายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกมากที่สุด คือร้อยละ 70 โดยปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับสองของผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม

รวมวิธีรับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อ่านจบ ทำตามได้จริง

กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ

การติดเชื้อไวรัสเอชพีวีกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ชนิดที่ 6 และ 11 แม้มีโอกาสเกิดมะเร็งน้อย แต่ทำให้เป็นหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศทวารหนัก และรอบๆ ทวารหนักของทั้งหญิงและชาย ซึ่งสามารถติดต่อไปยังคู่นอนได้เป็นแล้วก็มักไม่หายขาด ทำให้คัน เจ็บมีเลือดออก รวมทั้งอาจทำให้ทารกเกิดหูดที่หลอดลมได้ ในกรณีที่มารดาเป็นหูดหงอนไก่และคลอดทารกทางช่องคลอด

ปัจจุบันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีถือเป็นการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุดในโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกามีสถิติว่า หนุ่มสาวในวัยเจริญพันธุ์ร้อยละ 50 – 75 มีโอกาสติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ในช่องคลอด ปากมดลูกหรือทวารหนัก โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ

ร้อยละ 80 – 90 ของการติดเชื้อสามารถหายไปเองได้ มีเพียงร้อยละ 10 – 20 เป็น การติดเชื้อที่คงอยู่ตลอดไป ซึ่งนอกจากสามารถแพร่กระจายเชื้อสู่คู่นอนได้แล้วร่างกายของคนที่มีเชื้อที่คงอยู่ตลอดเช่นนี้อาจเกิดโรค เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งช่องปากและคอหอย มะเร็งอวัยวะเพศชาย เป็นต้น

 

ไวรัสเอชพีวี, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็ง, โรคมะเร็ง, มดลูก

 

 

 

 

<< วิธีป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.