ลดความอ้วน ลดน้ำหนัก คนอ้วน ไซส์ XL วิธีการลดน้ำหนัก

12 อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ คู่หูคน ไซส์ XL ช่วยผอม

ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง 

ข้าวหุงสุก 1 ทัพพี มีคาร์โบไฮเดรต 18 กรัม โปรตีน2 กรัม ให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี แม้ข้าวขัดขาวและไม่ขัดขาวจะมีคาร์โบไฮเดรตและพลังงานใกล้เคียงกัน แต่ข้าวไม่ขัดขาวจะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) ต่ำกว่า

ค่าดัชนีน้ำตาลบ่งบอกถึงความเร็วในการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือด หลังกินอาหารยิ่งมีค่าดัชนีน้ำตาลสูง แสดงว่า อาหารเหล่านั้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานเร็วขึ้น หากกินปริมาณมากก็ยิ่งเร่งการเปลี่ยนพลังงานส่วนเกินให้สะสม เป็นไขมันในร่างกายเร็วขึ้น

ฉะนั้นการกินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงจึงทำให้อ้วนง่ายกว่าอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ

ยืนยันโดยงายวิจัยซึ่งตีพิมพ์ใน The American Journal of Clinical Nutrition ที่ระบุว่า อาหารดัชนีน้ำตาลต่ำช่วยให้น้ำหนักลดลงมากกว่าอาหารไขมันต่ำและจำกัดพลังงาน

นักวิจัยแบ่งชายและหญิงร่างอ้วนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนาน 2 สัปดาห์ จากนั้นจึงปรับเป็นอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ ส่วนกลุ่มที่สอง กำหนดให้กินอาหารไขมันต่ำและจำกัดพลังงานประมาณ 500 – 800 กิโลแคลอรี

เมื่อเวลาผ่านไป 12 สัปดาห์ กลุ่มที่กินอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำมีน้ำหนักเฉลี่ยลดลง 5 กิโลกรัม ซึ่งมากกว่าอีกกลุ่มถึง 2 เท่า นอกจากนี้ยังมีมวลไขมัน (Fat Mass) ลดลงมากกว่ากลุ่มที่กินอาหารไขมันต่ำและจำกัดพลังงานเกือบ 2 เท่าอีกด้วย

ข้าวบาร์เลย์มีค่าดัชนีน้ำตาล 25 ในขณะที่ข้าวโอ๊ตและข้าวกล้องมีค่าดัชนีน้ำตาล 55 นับว่าอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำที่สุด ต่างจากน้ำตาลที่มีค่าดัชนีน้ำตาล 100 ข้าวขาวที่มีค่าดัชนีน้ำตาล 88 และขนมปังขาวที่มีค่าดัชนีน้ำตาล 70

ฉะนั้นหากตั้งใจลดน้ำหนักควรเลือกกินอาหารโดยคำนึงถึงค่าดัชนีน้ำตาลร่วมด้วย หรือวิธีที่ง่ายกว่าคือ เลือกกินธัญพืชไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวแดง ขนมปังโฮลวีต แทนข้าวขาวและขนมปังขาว

ข้าวบาร์เลย์ ,ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง, อาหารค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ, ลดความอ้วน, อ้วน, ลดน้ำหนัก
ข้าวบาร์เลย์มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ดีต่อการลดน้ำหนัก

ผักประเภท ก. 

ให้กากใยที่ช่วยให้อิ่มท้อง อุดมด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด แต่ปราศจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี สามารถกินได้มากเท่าที่ต้องการ เพราะไม่ให้พลังงาน กินเท่าไรก็ไม่อ้วน ได้แก่ ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักบุ้งแดง ผักกาดเขียว สายบัว ปวยเล้ง โหระพา กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ ขมิ้นขาว แตงร้าน แตงกวา ฟักเขียว บวบ พริกหนุ่ม พริกหยวกและตั้งโอ๋

 

กินผัก, ผัก, ลดความอ้วน, ลดน้ำหนัก, วิธีลดน้ำหนัก
ผักให้พลังงานต่ำ กินแล้วรู้สึกอิ่มนาน ช่วยลดน้ำหนักได้ดี

ผักประเภท ข. 

แม้ให้คาร์โบไฮเดรตและพลังงาน แต่ก็นับว่า ต่ำมาก คือ ผักสด 1 ทัพพี หรือผักสุกครึ่งทัพพี ให้คาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 8 กรัม ไม่มีไขมันและให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี ได้แก่ ฟักทอง แครอต บีตรู้ต ถั่วงอก ถั่วพู สะตอ ถั่วลันเตา ถั่วแขก บรอกโคลี มะละกอดิบ ข้าวโพดอ่อน และยอดมะพร้าวอ่อน

European Journal of Clinical Nutrition ตีพิมพ์งานวิจัยสนับสนุนให้คนอยากผอมหันมากินผักเพิ่มขึ้น ทดลองโดยโน้มน้าวให้คนอ้วน 120 คน กินผักสดวันละ 5 – 10 ถ้วย สลับกับผักสุกวันละ 2 ถ้วยครึ่ง – 5 ถ้วย พร้อมงดอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เช่น เค้ก น้ำอัดลม ผลปรากฏว่า ในเวลา 1 ปี น้ำหนักลดลงเฉลี่ย 7 กิโลกรัม ทั้งพบว่ายิ่งกินผักมาก น้ำหนักยิ่งลดลงมาก เพราะผักให้พลังงานต่ำ ยิ่งรู้สึกอิ่มนาน ความหิวระหว่างวันลดลง จึงกินอาหารน้อยลง ส่งผลให้พลังงานรวมที่ได้ตลอดวันลดลงตามไปด้วย

ผักมีคาร์โบไฮเดรตและพลังงานต่ำ จึงเหมาะเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ในรายการอาหารลดน้ำหนัก ควรเน้นกินผักสดหรือปรุงโดยวิธีที่ใช้ไขมันต่ำ เช่น อบ นึ่ง ต้ม ตุ๋น ยำ แทนการทอดและผัด เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันและพลังงานส่วนเกิน ซึ่งฉุดให้การลดน้ำหนักไม่ประสบผล

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.