ขี้หลงขี้ลืม

10 สาเหตุใกล้ตัวทำ ขี้หลงขี้ลืม

กินยามาก

ในหนังสือ Younger Brain, Sharper Mind ดร.เอริก เบรฟเวอร์แมน ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนไทเอจิ้ง กล่าวถึงความรวดเร็วในการจำได้ ว่า ถ้าเราจำสิ่งต่าง ๆ ได้ช้าเกินไป นั่นแสดงว่าเซลล์ประสาทไม่สามารถประมวลผลข้อมูลใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และข้อมูลใหม่ ๆ ก็จะไม่สามารถบันทึกเป็นความทรงจำได้

โดยทั่วไป ทุก ๆ 10 ปี สมองของเราจะสูญเสียความรวดเร็วในการจำราว 7 - 10 มิลลิวินาที (หนึ่งในพันของหนึ่งวินาที) โดยการสูญเสียนี้จะเริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปี นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมสมองจึงจำได้น้อยลงเมื่ออายุอานามมากขึ้น

ทว่าสมองของบางคนก็สูญเสียไปเร็วกว่านั้น หากเขาใช้ยาชนิดต่าง ๆ ทั้งจากการกินยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือซื้อกินเอง

ดังนั้นจึงไม่ควรกินยาพร่ำเพรื่อ ต้องกินเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

กินยา, ขี้หลงขี้ลืม, สมอง, ความจำ, ระบบประสาท

การผ่าตัด

หลังผ่าตัดไม่ว่าจะเป็นผลของยาสลบหรือความเจ็บปวดจากบาดแผล ล้วนมีผลกระทบต่อสมองทั้งสิ้น

นายแพทย์เบรนแดนต์ ซิลเบิร์ต จากโรงพยาบาลเซนต์วินเซนต์ ประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า

“สำหรับคนที่ผ่านการผ่าตัดมาแล้ว คนที่อายุมากกว่า 60 ร้อยละ 25 เมื่อได้ทดสอบวัดความทรงจำหลังจากการผ่าตัด 7 วัน พบว่า ร้อยละ 10 ยังคงมีความผิดปกติเกี่ยวกับความจำหลังจากผ่าตัดไปอีกสามเดือน แต่สำหรับคนที่อายุ 40 ปีหรือน้อยกว่ามักไม่พบปัญหานี้”

หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับความจำหลังผ่าตัดมากกว่าปกติหรือนานกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์

เคมีบำบัด

มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้ที่ได้รับยาเคมีบำบัดต้องมีประสบการณ์การสูญเสียความจำหรือมีความคิดที่เลอะเลือน ไม่แม่นยำ (Fuzzy Thinking) หลังได้รับยาเคมีบำบัด โดยเรียกอาการนี้ว่า “Chemo Brain” ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นผลมาจากยาซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ หรือเป็นผลมาจากสารน้ำที่เกิดจากการอักเสบของเซลล์มะเร็งหรือเกิดจากปัจจัยทั้งสองอย่างร่วมกัน

ดร.ฮาร์ยานา ดิลลัน หนึ่งในทีมวิจัย “Chemo Brain” ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียกล่าวว่า

“เคมีบำบัดกระทบต่อความจำระยะสั้นและการทำงานควบคุมสิ่งต่าง ๆ ของสมอง เช่น การทำงานประสานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ต้องการสมาธิสูงหรือต้องขยายวงการใช้ความรู้ความสามารถออกไป”

ดร.ดิลลันแนะนำว่า การออกกำลังกายช่วยได้ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยพัฒนา

“Chemo Brain” ได้แล้ว และอาจจะดีขนาดทำให้ไม่เกิดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดได้ด้วย

ทั้ง 10 สาเหตุตอกย้ำให้เราเห็นกันอีกครั้งว่า การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้นสำคัญต่อสุขภาพสมองขนาดไหน เพราะเมื่อสุขภาพแข็งแรงแล้ว 10 สาเหตุที่กล่าวมาก็จะหายไปในพริบตา

ใช้ 5 เล็กของชีวจิตเป็นคัมภีร์ช่วยฟิตร่างกายฟิตสมองตั้งแต่วันนี้เลยนะคะ

จาก คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 347 (16 มีนาคม 2556)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

อาหารเพิ่มความจำ สำหรับทุกเพศทุกวัย

สุดยอด 6 วิธีเพิ่มพลังแห่งความจำ ทำตามกันเลย

7 ตัวการทำลายสมอง ความจำเสื่อมก่อนวัย

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.