คู่มือกินโสม ป้องกันป่วย ช่วยสุขภาพเลิศ

Q:อยากทราบว่า ประวัติศาสตร์การใช้โสมของมนุษย์มีที่มาอย่างไร มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคใดบ้างและควรกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด

A:มีสุภาษิตบทหนึ่งของจีนกล่าวว่า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีสิ่งล้ำค่าสามอย่าง โสมคนคือสิ่งมีค่าอันดับแรก ส่วนสุภาษิตเกาหลีบอกว่า มีโสมเกาหลีหนึ่งตัวเสมือนมีอัญมณีหนึ่งกองซึ่งสะท้อนว่า โสมเป็นยาสมุนไพรที่มีคุณค่ามากและมีการใช้เป็นยาอายุวัฒนะสืบเนื่องมาเป็นพันๆปี

โสม(Ginseng)จัดเป็นพืชในสกุล Panax ซึ่งขึ้นกระจายอยู่ทั่วโลก แต่เมื่อสืบค้นข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์พบว่า แหล่งปลูกโสมที่มีคุณภาพที่สุดอยู่บริเวณคาบสมุทรเกาหลี เนื่องจากมีสภาพดินและอากาศที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตซึ่งต้องใช้เวลาในการปลูกยาวนานถึง 6 ปี เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์สำคัญคือ จินเซนโนไซด์ (Ginsenoside) ปริมาณสูงสุด

ปัจจุบันมีงานวิจัยในระดับนานาชาติเกี่ยวกับโสม พบว่า สารจินเซนโนไซด์ ชนิด Rb1 ส่งผลดีต่อสมองและระบบประสาท ส่วนสารจินเซนโนไซด์ ชนิด Rg1 ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสารซีโรโทนิน (Serotonin)และสารกาบา(GABA)ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะเครียดเรื้อรัง โดยจะช่วยปรับสมดุลสารสื่อประสาท ทำให้สมองผ่อนคลายและลดความเครียดได้

และมีรายงานการนำไปใช้ในเด็กสมาธิสั้นที่เกิดจากระดับสารโดปามีน(Dopamine)และอดีนาลีน(Adrenaline)ในสมองไม่สมดุลซึ่งช่วยให้การเชื่อมต่อของสัญญาณระบบประสาทในเด็กทำงานดีขึ้น รวมถึงมีงานวิจัยพบว่า โสมช่วยทำให้ระบบภูมิต้านทานทำงานดีขึ้นและลดภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังซึ่งเกิดจากความเครียดเรื้อรังในคนทำงาน

นอกจากนี้สารออกฤทธิ์ในโสมยังมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศชายที่เรียกกันว่า ไฟโตรเอนโดรเจน(Phytoandrogen)จึงทำให้สุขภาพเพศชายแข็งแรงขึ้นและยังช่วยแก้ปัญหาเรื่อปัญหาวัยทองในผู้หญิง และยังแก้อาการเมาค้างในผู้ที่ดื่มจัด

ดังนั้นโสมจึงเหมาะกับคนในหลายกลุ่ม หลายวัย อาทิ นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ผู้บริหารที่ต้องใช้ความจำและต้องการบู๊สต์พลังสมอง กลุ่มคนทำงานหนัก พักผ่อนน้อย มีความเครียดและมีภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือดื่มจัด กลุ่มผู้หญิงและผู้ชายที่เข้าสู่ภาวะวัยทอง กลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการเพิ่มความจำและลดอาการอ่อนเพลีย

สำหรับวิธีกินโสมอย่างถูกต้องนั้น ในอดีตต้องนำมาเคี่ยวหรือปรุงเป็นอาหารซึ่งใช้เวลานานและได้สารออกฤทธิ์ปริมาณน้อย ปัจจุบันมีวิธีการนำโสมขาวมาตากแห้ง หลังจากนั้นนำไปอบไอน้ำจะได้โสมแดงซึ่งมีสารจินเซนโนโซด์ปริมาณสูง แล้วนำมาสกัดบรรจุลงแคปซูลเจลนิ่มหรือซอฟท์เจลซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก ร่างกายดูดซึมง่าย ควรกินขณะท้องว่าง ก่อนอาหาร 30 นาที ขนาดที่แนะนำคือ วันละ 300 มิลลิกรัม หรือไม่เกินวันละ 1 กรัม

นอกจากนี้ หากจะเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมโสมเข้าสู่ร่างกาย ควรกินร่วมกับวิตามินอี ส่วนผู้ที่กินโสมแล้วรู้สึกร้อน เนื่องจากโสมจะเข้าไปเพิ่มกระบวนการเมตาบอลิสซิ่มในร่างกาย ควรกินโสมสกัดที่ผสมเห็ดหลินจือลงไปด้วย เห็ดหลินจือจะเป็นตัวช่วยลดความร้อนของโสมลง

ที่สำคัญต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย มีตรามาตรฐานรับรองคุณภาพก็จะช่วยให้เราเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดีได้ครับ

นายแพทย์ดำรงค์ เลาหะพรสวรรค์
กรรมการผู้จัดการ บริษัทเนเจอร์ไบโอเทค จำกัด

สนับสนุนข้อมูลโดย ผลิตภัณฑ์ G2X 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.