อาหารไฟเบอร์สูง, ลดน้ำหนัก, ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด, ต้านเบาหวาน, โรคเบาหวาน, ป้องกันโรคเรื้อรัง

4 อาหารไฟเบอร์สูง กินไม่อ้วน ต้านเบาหวาน

3. ตำลึง อ่อนวัย ไกลเบาหวาน

ข้อมูลจากสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ใบตำลึงสดให้ผลในการต้านการอักเสบและต้านฟรีแรดิคัลเช่น เดียวกับตำลึงในรูปแบบสารสกัด โดยหากกินเป็นประจำสามารถป้องกันโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อม เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง

นอกจากคุณสมบัติต้านความเสื่อม นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ยังค้นพบว่า ตำลึง ช่วยต้านโรคเบาหวานได้ดีอีกด้วย โดยการทดลองให้ผู้ป่วย โรคเบาหวานเสริมผงสกัดจากใบตำลึงควบคู่กับการควบคุม อาหาร พบว่า ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างน่าพอใจ

ตำลึง, ป้องกันโรคเรื้อรัง, อาหารไฟเบอร์สูง, โรคเบาหวาน, ต้านเบาหวาน
ตำลึง มีสรรพคุณเป็นยาเย็น ป้องกันโรคเรื้อรังได้

 

4. รวมผักพลังงาน 0 กินเท่าไรก็ไม่อ้วน

ผักบางชนิดกินมากเกินไปก็ทำให้อ้วนได้ เช่น ฟักทอง ยอดมะพร้าวอ่อน สะตอ โดยปริมาณผักสุกครึ่งถ้วย (50 – 70 กรัม) ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี

รายการอาหารแลกเปลี่ยนไทย สมาคมนักกำหนดอาหาร แห่งประเทศไทย จำแนกผักที่ให้พลังงานต่ำมากจนอาจกล่าวว่าให้พลังงาน 0 กิโลแคลอรี ได้ถึง 27 ชนิด ดังนี้

ผักกาดขาว ผักกาดหอม ผักกาดเขียว ผักบุ้งแดง ผักแว่น สายบัว ผักปวยเล้ง ใบโหระพา ยอดอ่อนฟักทอง กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ มะเขือ ขมิ้นขาว แตงร้าน แตงกวา แตงโมอ่อน ฟักเขียว น้ำเต้า แฟง บวบ พริกหนุ่ม พริกหยวก คูณ ตั้งโอ๋ หยวกกล้วยอ่อน

หากใครกำลังควบคุมน้ำหนักและพลังงานในอาหาร แนะนำให้กินผักเหล่านี้เป็นประจำ เพราะนอกจากพลังงานต่ำมาก สามารถกินได้ไม่จำกัด ยังช่วยยึดพื้นที่ว่างในกระเพาะอาหาร ทำให้อิ่มเร็ว อิ่มนาน

เลือกใยอาหารที่ชอบ มีคุณสมบัติที่ใช่ เติม ลงในมื้ออาหาร รับรองหุ่นเพรียวทันใจ แถม ห่างไกลทั้งโรคเบาหวานและสารพัดโรคร้ายค่ะ

 

(สนับสนุนข้อมูล : คอลัมน์ชีวจิต+ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 365)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

วิธีกิน ‘ไฟเบอร์’ แก้อาการท้องผูก เห็นผลชัวร์!

คลีน อย่างไทย อร่อยสไตล์ กาละแมร์

คอร์สลดอ้วน ชวนให้สวย

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.