ผักผลไม้

7 ผักผลไม้ เด็ดกินต้านโรค

3. ใบมะรุม

ผักพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งของไทย สามารถกินได้ทั้งยอดอ่อน และฝัก งานวิจัยของกลุ่มวิจัยและพัฒนาการแพทย์ทางเลือกแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า ใบมะรุมมีสารอาหารหลายชนิด ในปริมาณที่สูงมากเมื่อเทียบกับผักผลไม้อื่นๆในปริมาณเท่ากัน เช่น มีโปรตีนสูงกว่านมสด 2 เท่า วิตามินเอสูงกว่าแครอต 3 เท่า วิตามินซี สูงกว่าส้ม 7 เท่า แคลเซียมสูงกว่านมสด 3 เท่า โพแทสเซียมสูงกว่า กล้วย 3 เท่า และมีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ ให้พลังงานต่ำ จึง เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ใบมะรุมมีฤทธิ์ช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันทั้งคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ กำจัดเชื้อโรคที่มากับอาหาร ลดการทําลายเซลล์ตับอ่อนในผู้ป่วยเบาหวาน มีฤทธิ์ปกป้องรังสี ยับยั้งการอักเสบ และขับปัสสาวะ ที่สำคัญ ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ได้อย่างดี

ฟักข้าว ผักผลไม้

4. ฟักข้าว

เป็นผักพื้นบ้านที่รู้จักกันดีในหลายภูมิภาค คนไทยส่วนใหญ่ มักนิยมกินยอดและลูกดิบของฟักข้าว แต่จากผลวิจัยล่าสุด พบว่า คุณประโยชน์สูงสุดจากผักพื้นบ้านชนิดนี้กลับได้จาก ลูกสุกซึ่งมีเนื้อในสีแดงจัด โดยมีปริมาณสารไลโคปีน (Lycopene) มากกว่ามะเขือเทศถึง 12 เท่า เบต้าแคโรทีนมากกว่าแครอต 10 เท่า ที่สำคัญ ฟักข้าวยังมีกรดไขมันสายยาว (Long-chain Fatty Acid) ถึงร้อยละ 10 ของน้ำหนัก ช่วยให้ร่างกายสามารถ ดูดซึมเบต้าแคโรทีนได้เต็มที่ เนื้อสีแดงสดของฟักข้าวสุกมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็ง ปกป้องเซลล์ตับ ลดโอกาสเกิด ต้อกระจกและภาวะเป็นหมันจากอสุจิไม่แข็งแรงหรือมีอสุจิน้อย รักษาโรคเบาหวาน ชะลอการเสื่ อมจากภาวะกระดูกพรุน ปกป้องหลอดเลือด ลดการอักเสบ กระตุ้นการทํางานของ ระบบภูมิคุ้มกัน และยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกได้

5. ขิง

ในอดีตองค์ความรู้ด้านการแพทย์ แผนไทยใช้ขิงเพื่อช่วยบรรเทาอาการ ผิดปกติของระบบย่อยอาหาร ไม่ว่าจะเป็นท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องผูก ขับลม หรืออาการคลื่นไส้อาเจียน ขณะที่ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า ขิงมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ช่วยลดการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ระงับความเจ็บปวด ที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการข้ออักเสบ ช่วยลดไขมัน ในเส้นเลือด ป้องกันการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศที่มีสาเหตุ จากโรคเบาหวาน ต้านเครียด ช่วยลดอาการล้าและการขาด ออกซิเจนได้ดีขึ้น ลดพิษแอลกอฮอล์ที่มีผลต่อตับและสมอง นอกจากนี้ยังป้องกันการตายของเซลล์ประสาทซึ่งเป็นผลจาก การกินผงชูรสได้อีกด้ว

ขิง ผักผลไม้

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.