5 ความเข้าใจผิด ที่ทำให้ “คนเมือง” ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า

5 ความเข้าใจผิด ที่ทำให้ “คนเมือง” ป่วยเป็น โรคซึมเศร้า

5 สาเหตุของโรคซึมเศร้า

มาเช็ค 5 สาเหตุของโรคซึมเศร้า ที่ทำให้คนไทยเป็นโรคนี้มากขึ้นดีกว่าค่ะโดยองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่า ในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า โรคซึมเศร้าจะกลายเป็นปัญหาสุขภาพของคนทั่วโลกเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด

เพราะถึงแม้ว่าทุกวันนี้โลกของเราจะมีวิทยาการใหม่ๆ ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์มากกว่าเมื่อก่อน แต่เรากลับพบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคทางใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะ “โรคซึมเศร้า” ที่กลายเป็นโรคยอดฮิตของคนในเมือง

 

สาเหตุหลักของโรคซึมเศร้าในบ้านเรา รู้แล้วแก้ด่วน!

  1. ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค / สงสัยว่าป่วย แต่ไม่มาพบจิตแพทย์

ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าประมาณสามล้านคน แต่มาพบแพทย์ไม่ถึงหนึ่งแสนคน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวเองว่าป่วยเป็นโรคนี้

  1. คิดว่า “ความเครียด” เท่านั้น ที่เป็นสาเหตุของโรค

โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดกับคนที่มีความเครียดหรือมีปัญหาในชีวิตเท่านั้น เพราะสาเหตุของโรคอาจเกิดจากการแปรปรวนของสารเคมีในสมองส่วนที่ควบคุมอารมณ์

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

 

คลิกเพื่ออ่านต่อหน้าถัดไป

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  1. รู้ไม่จริง! เรื่อง “อาการ” ของโรคซึมเศร้า

คิดว่า อาการของโรคซึมเศร้า เหมือนโรคจิตเภท (ไม่บ้าเลยไม่มาหาหมอ) ทั้งที่จริงๆ แล้ว ผู้ป่วยร้อยละ 80 สามารถหายจากโรคนี้และกลับมาเป็นปกติได้ เมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ เพราะโรคซึมเศร้าเป็นเพียงภาวะบกพร่องทางอารมณ์ ไม่ใช่ความผิดปกติทางจิตหรือโรคประสาท

  1. คิดว่า แค่ “ซึมเศร้า” ไม่น่าจะอันตราย

โรคซึมเศร้านําไปสู่ปัญหาการฆ่าตัวตายได้ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มการฆ่าตัวตายมากกว่าผู้ชาย แต่ผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสําเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า

  1. คิดว่า โรคนี้เป็นยาก เราคงไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง

ทุกๆ 1 ชั่วโมง 30 นาที จะมีคนไทยฆ่าตัวตายเพราะโรคซึมเศร้า 1 ราย

คนที่ฆ่าตัวตายสําเร็จมักเป็นคนเงียบๆ คิดมาก เครียดง่าย เวลามีปัญหา ไม่ชอบปรึกษาใคร เมื่ออาการรุนแรงจึงคิดว่าการตายเป็นทางออกที่ดีที่สุด โดยคนไทยที่ฆ่าตัวตายสําเร็จมักอยู่ในช่วงอายุ 30 – 39 ปี ไม่ใช่กลุ่มคนแก่อย่างที่เข้าใจกัน โดยสาเหตุส่วนใหญ่มีทั้งมาจากปัญหาครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง และสังคม

ข้อมูลจาก สํานักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

 

ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 339

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
3 สเต็ป แก้โรคซึมเศร้า ของบ.ก.

เดินเล่นในสวน ดีต่อคนเป็น “โรคซึมเศร้า”

HOW TO กินชนะ โรคซึมเศร้า

มะระผัดเนื้อหมูVSชาดอกกุหลาบ เมนูเด็ดระเห็จโรคซึมเศร้า!

10 ดราม่าแม่ท้อง ต้องระวัง โรคซึมเศร้า

5 ขั้นตอนปรุง อาหารใจ ให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.