วัยหมดประจำเดือน หมดแล้วหมดเลย ไม่ควรมาใหม่

วัยหมดประจำเดือน หมดแล้วหมดเลย ไม่ควรมาใหม่

วัยหมดประจำเดือน ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องความผิดปกติประจำเดือน โดยผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยหมดระดู หมายถึง สตรีในวัย 40 – 59 ปี ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน ซึ่งทำให้สิ้นสุดการมีประจำเดือนอย่างถาวรร่วมด้วยกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาตามมา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause) เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการทางร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์จะแปรปรวน ซึ่งระยะนี้จะเกิดประมาณ 2-3 ปี

ระยะหมดประจำเดือน (menopause) เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่การหมดประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี และระยะหลังหมดประจำเดือน (postmenopause) เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่องคลอดตีบแคบ กระดูกพรุน และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆได้ง่าย

ประจำเดือนทำไมจึงหมด       

การหมดประจำเดือนของผู้หญิงแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันไปเช่นเดียวกับประสบการณ์ในการมีประจำเดือน “ภาวะหมดประจำเดือนเป็นผลมาจากการที่รังไข่หยุดทำงาน ไม่มีการตกไข่และสร้างฮอร์โมนเพศอีกต่อไป อาหารเหล่านี้เป็นกระบวนการตามปกติของการมีประจำเดือนนั้นเริ่มจากการที่ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนออกมากระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่ออกมา เมื่อไข่สุกจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนออกมากระตุ้นให้ผนังมดลูกก่อตัวหนาขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับการฝังตัวในกรณีที่ไข่ได้รับการผสม

เมื่อไข่ไม่ได้รับการผสม ผนังมดลูกก็จะลอกหลุดออกมาเป็นรอบเดือน เมื่อหมดประจำเดือนก็เป็นการสิ้นสุดของภาวะเจริญพันธุ์นั่นเอง

วัยทอง

โดยเฉลี่ยแล้วความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกายจะเริ่มประมาณกลางๆ อายุ 30 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งอายุประมาณ 40+ ที่ระดับฮอร์โมนผันผวนอย่างชัดเจนมากขึ้น เป็นที่มาของอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งช่วงของการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน (Menopause Transition) นี้ จะกินเวลาอยู่ประมาณ 4 ถึง 5 ปี เป็นช่วงที่ผู้หญิงบางคนมีอาการแปลก ๆ รวมทั้งประจำเดือนมาไม่ปกติก่อนที่จะหยุดไปอย่างสิ้นเชิงในทางการแพทย์ ถ้าหากว่ารอบเดือนไม่มาติดต่อกันนาน 12 เดือน โดยที่ไม่อาจหาสาเหตุอื่นได้ เราถือว่าหมดประจำเดือนแล้ว

ดูแลด้วยธรรมชาติ ปรับจิตใจรับวัยหมดประจำเดือน

แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ และคอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตให้รายละเอียดไว้ว่า วัยหมดประจำเดือน คือในคนอายุ 48 ปีขึ้นไป เฉลี่ยถึง 51 ปีเมนส์ไม่มาต่อเนื่องกัน ไม่ได้คุมกำเนิดแต่กรณีหมดประจำเดือนแล้วมีเลือดกลับมาใหม่ ภาวะนี้ไม่ปกติ และอย่าคิดว่าประจำเดือนกลับมาทำให้สาวใหม่ เป็นความคิดที่ผิด

“อาการนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อักเสบจากการติดเชื้อหรือเป็นเนื้องอกธรรมดา แต่ที่อันตรายมากคือ โรคคมะเร็ง ตั้งแต่มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งรังไข่ โดยเฉพาะโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งผู้หญิงที่มีเลือดออกหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 ปีมีโอกาสเกิดสูงได้ถึงร้อยละ 10 ดังนั้น หากมีอาการตามข้อนี้ควรไปพบแพทย์”

นอกจากการมีประจำเดือนอีกครั้งหลังจากหายไปแล้ว 1 ปีที่คุณผู้หญิงควรรีบมาพบแพทย์ คุณหมอชัญวลียังให้ข้อคิดในการจากลาประจำเดือนอย่างเป็นสุขว่า

“บางคนกลัววัยทอง กลัวการหมดประจำเดือน กลัวว่าจะเหี่ยว จะแก่ แต่คนที่หมดประจำเดือนโดยไม่มีอาการใดๆ คือ คนที่มีสติ สมาธิ และคิดบวก ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนมาพร้อมกับความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้หรือช่วยคนอื่นได้ เหล่านี้คือสิ่งสวยงามที่อยู่ในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน”

 

แอนติออกซิแดนต์บำบัดภาวะหมดประจำเดือน

อาจารย์สาทิสแนะนำให้กินวิตามินกลุ่มแอนติออกซิแดนต์ ได้แก่

วิตามินเอและวิตามินอี อย่างละ 1 เม็ดทุกวัน เพื่อสร้างภูมิชีวิตให้ดีขึ้น วิตามินเอมีมากในผักสีเขียวเข้มและเหลืองส้ม และปลา ซึ่งช่วยลดอาการเบื่ออาหารได้อีกด้วย วิตามินอีมีมากในธัญพืชไม่ขัดขาว ถั่วเปลือกแข็ง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แก้อาการช่องคลอดแห้ง

และควรกินวิตามินอีก 2 ชนิด คือ

วัยทอง

วิตามินซี เพื่อเสริมสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ซึ่งช่วยชะลอความเหี่ยวย่น และวิตามินดีซึ่งมีมากในสาหร่ายทะเลและเนื้อปลา เพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรง

ได้ข้อมูลครบถ้วนเช่นนี้ ต่อจากนี้ปัญหาประจำเดือนจะไม่กลายเป็นปัญหาประจำตัวหรือประจำปีที่สาว ๆ กังวลอีกต่อไป ลองนำไปปรับใช้กันนะคะ เพื่อสุขภาพแข็งแรงในทุก ๆ เดือน (ข้อมูลจาก : คอลัมน์ เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 502)

อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกคนก็ควรเตรียมตัวให้พร้อม รับภาวการณ์หมดประจำเดือน ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติและไม่มีวิธีการใดที่จะห้ามได้ แต่อาจเตรียมตัวรับการมาถึงได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ศึกษาและเข้าใจเรื่องความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น, ให้ความรู้กับคนรอบข้าง หรือคนในครอบครัวให้พร้อมรับมือกับอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ, ให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองเป็นพิเศษเมื่ออายุมากขึ้น เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจเรื่องอาหารที่จะรับประทาน และ การตรวจสุขภาพต่างๆ

ฝึกออกกำลังกายเพื่อพัฒนาระบบกล้ามเนื้อและกระดูก โดยอาศัยคำแนะนำจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ, เลิกสูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และพยายามควบคุมน้ำหนัก เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน และโรคเรื้อรังต่างๆ, เสริมแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอเพื่อสุขภาพของกระดูก และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพที่จำเป็นอย่างสม่ำเสมอ

อาการของสตรีวัยหมดประจำเดือนไม่ใช่อาการร้ายแรง และไม่ควรวิตกมากจนเกินไป ทำจิตใจให้เบิกบานควบคู่ไปกับการออกกำลังกายก็จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ ที่สำคัญสิ่งที่ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนควรหมั่นสังเกต ถ้าหากว่ามีเลือดออกจากช่องคลอดกระปริดกระปรอย หรือออกนานกว่าปกติหรือประจำเดือนกลับมาใหม่หลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ควรไปพบแพทย์ค่ะ

 

 


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำไม วัยทองเสี่ยงโรค หัวใจและหลอดเลือด และโรคกระดูกพรุน

อาการวัยทอง มาเร็วกว่ากำหนด คืออะไร ปัจจัยใดเป็นตัวเร่ง

6 อาหาร ลดอาการร้อนวูบวาบ ในสาววัยทอง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.