โรคข้อต่ออักเสบ

อาการปวดจาก โรคข้อต่ออักเสบ บรรเทาอย่างไร กูรูมีคำตอบ

กูรูชีวจิตแนะนำวิธีเยียวยา อาการปวดจาก โรคข้อต่ออักเสบ

สำหรับอาการปวดที่จะมาพูดถึงในวันนี้คือ อาการปวดจาก โรคข้อต่ออักเสบ ซึ่งทางอาจาร์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต เคยพูดถึงและให้คำแนะนำในการดูแลร่างกายเอาไว้ ลองมาดูกันเลยค่ะ

ปวดจากโรคข้อต่ออักเสบ

อาจารย์สาทิสอธิบายเรื่องโรคข้อต่ออักเสบไว้ว่า “โรคข้อต่ออักเสบ (Osteoarthritis นี้ เป็นโรคหนึ่งของกลุ่ม ‘โรคที่ไม่ใช่โรค” และต้นเหตุของโรคนี้ซึ่งมาจากความเสื่อมนั้น ก็เพราะเป็นความเสื่อมโดยตรงจากระบบกระดูกและข้อต่อ เช่น ข้อต่ออักเสบของชาวไร่ซาวนา ต้องดำนา ต้องเกี่ยวข้าว ต้องเก็บข้าว ร่อนข้าวฯลฯ ส่วนมากใช้แรงคน ก็ต้องก้มหลังใช้แขนใช้ขา ต้องกดต้องดันข้อต่อตลอดเวลา เสร็จจากงานนาก็เฮฮา กินอาหารผสมกับดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามไปด้วย

“เมื่ออาหารไม่ค่อยจะถูกต้อง Immune System หรือภูมิชีวิตก็เสื่อม ทำงานตรากตรำด้วยท่าทางที่ต้องก้มหลัง เหวี่ยงแขน เหวี่ยงขาตลอดวันอย่างนั้น ระบบกระดูกข้อต่อก็เสื่อม พักผ่อนไม่พอ อาหารไม่พอ แถมเครื่องดื่มเครื่องดองของเมาด้วย I.S. ก็เสื่อม ในไม่ช้าก็ปวดหลังปวดตัวตลอดเวลา แถมบางคนไม่ชอบยืดหลัง แต่ชอบก้มตลอดเวลา (เพราะทำอย่างนั้นก็ทุเลาปวดลงได้บ้าง) หลังก็เลยโก่ง”

ปวดข้อ โรคข้อต่ออักเสบ

HOW TO FIX แก้อย่างไร

อาจารย์สาทิสแนะนำวิธีการป้องกันและลดอาการปวดของโรคข้อต่ออักเสบว่า เลือกกินเป็น ไม่ป่วย ไม่ปวด

1. เรื่องอาหารให้ระวังตั้งแต่ต้น ควรกินข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือที่ตำเอง ลดการกินของหวาน น้ำอัดลมและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแป้งขาวและอาหารหวาน ๆ ทำให้เส้นเลือดแข็งและกรอบ กล้ามเนื้อก็จะแข็งตามไปด้วย เพราะเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อได้ไม่ทั่วถึง ร่างกายจึงเริ่มปวดเกร็ง และเมื่อยไปหมดทั้งตัว

2. ระวังเรื่องไขมัน ลดเนื้อสัตว์ เนื้อหมู ไก่ ไข่ และนมลงเสียบ้าง ใช้โปรตีนจากพืชให้มากขึ้นถั่วเหลือง เต้าหู้ และกินปลาด้วย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

3. ควรจะเติมเรื่องแร่ธาตุให้เลือดของเราด้วย ขอแนะนำง่าย ๆ ว่าให้กินสาหร่ายทะเลแทน แถมด้วยเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน งา สิ่งเหล่านี้มีแร่ธาตุซึ่งร่างกายต้องการเกือบจะครบหมด

4. หลายท่านชอบกินยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ ยาเหล่านี้แก้ได้ชั่วคราว เพราะไม่ใช่ยารักษา แต่เป็นยาระงับปวด ถ้าจะต้องกิน ขอแนะนำง่าย ๆ กินแอสไพรินหรือไอบูโพรเฟนจะดีกว่า

5. ที่จะขอแนะนำอย่างจริงจังคือเรื่องวิตามิน วิตามินชี 1,000 มิลลิกรัม 1 เม็ด 3 มื้อ วิตามินดีขนาด 1,000 ไอยู 1 เม็ด 3 มื้อ ไนอะซิน (B3) 500 มิลลิกรัม 1 เม็ด 2 มื้อ เช้า-เย็น

6. ถ้ามีบริเวณปวดบวมมาก ๆ ขอแนะนำ “ดีเกลือ” 3 ซ้อนโต๊ะ ใส่น้ำอุ่น 2 ลิตร แช่น้ำดีเกลือ 1 ชั่วโมง

7. น้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 2. ช้อนโต๊ะผสมน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ใส่น้ำอุ่น จิบหลายๆครั้ง ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น

(ข้อมูลจาก : คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 538)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวมที่สุดของ เทคนิคแก้อาการปวดหลัง (ง่าย ประหยัด ไม่พึ่งยา)

รู้ทัน อาการปวด ลดเมื่อย หลังออกกำลังกาย

ปวดคอ ปวดไหล่เกิดจาก อะไร ฮีลแบบไหน ด้วยธรรมชาติใกล้ตัว

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.