ปวดข้อเท้า

ปวดข้อเท้า รักษาอย่างไร อาการแบบไหนต้องไปหาหมอ

อาการ ปวดข้อเท้า เมื่อเป็นแล้วต้องรับมืออย่างไร

ปวดข้อเท้า คือภาวะที่รู้สึกไม่สบายหรือปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเท้า ซึ่งอาจเกิดตั้งแต่อาการข้อเท้าเคล็ดธรรมดาไปจนถึงกระดูกข้อเท้าหัก บางครั้งหากปวดข้อเท้ามากก็อาจทำให้ทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้าลำบากหรือเดินไม่ได้เลยโดยอาการปวดข้อเท้ารักษาได้ด้วยการประคบ การพักใช้งานข้อเท้า หรืออาจต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มตามแต่กรณี

อาการปวดข้อเท้า

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กุลพัชร จุลสำลี แผนกออร์โธปิดิกส์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ กล่าวว่า นอกจากอาการปวดข้อเท้า ผู้ป่วยอาจปรากฎอาการอื่นๆ ร่วมด้วย จึงควรไปพบแพทย์ทันที หากข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ มีอาการบวม แดง หรือมีรอยช้ำ รวมทั้งมีอาการอื่นๆ ดังต่อไปนี้

ㆍ ปวดข้อเท้ามาก ปวดนาน 2 – 3 สัปดาห์
ㆍ ข้อเท้าบวมมากและไม่มีท่าว่าจะดีขึ้น
ㆍได้ยินเสียงกรอบแกรบพร้อมกับรู้สึกปวดกระดูกข้อต่อ
ㆍไม่สามารถขยับข้อเท้าไปด้านหน้าหรือด้านหลังได้
ㆍไม่สามารถลงน้ำหนักที่ข้อเท้าได้
ㆍ มีแผลเปิดบริเวณข้อเท้าหรือข้อเท้าผิดรูป

ㆍ มีสัญญาณการติดเชื้อบริเวณข้อเท้า เช่น ข้อเท้าแดง อุ่น หรือกดแล้วเจ็บ มีใช้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียส เป็นต้น

แบคทีเรียกินเนื้อ แบคทีเรียกินเนื้อคน บอยปกรณ์ แมลงกัด ปวดข้อเท้า

สาเหตุของอาการปวดข้อเท้า

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ระบุว่า อาการปวดข้อเท้าอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการบาดเจ็บที่กระดูกข้อเท้า การบาดเจ็บที่เส้นเอ็น ข้อเท้า หรือจากภาวะข้อต่ออักเสบต่างๆ โดยตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้ปวดข้อเท้ามีดังนี้

ㆍ เอ็นอักเสบ บวม ฉีก หรือขาดจากสาเหตุต่าง ๆ อย่างข้อเท้าพลิกหรือข้อเท้าบิดผิดรูป
ㆍ เอ็นร้อยหวายอักเสบ
ㆍข้อเท้า ส้นเท้า และเส้นประสาทบริเวณข้อเท้าได้รับบาดเจ็บ
ㆍ ติดเชื้อในกระดูกข้อเท้า
ㆍ กระดูกข้อเท้าหรือกระดูกเท้าหัก
ㆍโรคเกาต์หรือโรคเกาต์เทียม
ㆍโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การรักษาอาการปวดข้อเท้า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์กุลพัชร แนะนำว่า หากอาการ ปวดข้อเท้าที่ปรากฎไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจรักษาอาการปวด ข้อเท้าได้ด้วยตนเองตามวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

ㆍพักข้อเท้า พักการใช้งานข้อเท้าสัก 2- 3 วัน และหลีกเลี่ยง การลงน้ำหนักบนข้อเท้า ซึ่งอาจใช้ไม้ค้ำหรือไม้เท้าช่วยเดินเพื่อลดการทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้า
ㆍ ประคบเย็น หลังได้รับบาดเจ็บในระยะแรกอาจประคบเย็นด้วยการนำถุงน้ำแข็งวางบนข้อเท้าข้างที่ปวดครั้งละ 20 นาที และทิ้งช่วงไว้ประมาณชั่วโมงครึ่งก่อนประคบเย็นอีกครั้ง ซึ่งอาจทำ 3 – 5 ครั้ง / วัน เพื่อลดอาการบาดเจ็บ ปวด และบวม
ㆍประคองข้อเท้า โดยใช้ผ้าพันแบบยืดพันบริเวณข้อเท้าเพื่อประคองข้อเท้าไว้ไม่ให้เคลื่อนมากไป แต่ห้ามพันแน่นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เท้าชาและนิ้วเท้าเปลี่ยนเป็นสีคล้ำได้
ㆍ ยกข้อเท้าให้อยู่สูง เมื่อต้องนั่งหรือนอนให้ยกเท้าขึ้นสูงเหนือระดับหัวใจ โดยอาจใช้หมอนสัก 2 ใบมาหนุนรองไว้ใต้ข้อเท้า
ㆍ ใช้ยารักษา อาจรับประทานยาลดปวดที่หาซื้อได้เอง เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน เป็นต้น
ㆍ ทำกายบริหาร หากอาการเริ่มดีขึ้นแล้ว อาจเริ่มบริหารข้อเท้าไปในทิศทางต่างๆ เพื่อให้ข้อเท้าได้ขยับมากขึ้น และลดความเสี่ยงในการกลับมาปวดข้อเท้าอีกครั้ง ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือ
ผู้เชี่ยวชาญถึงความปลอดภัยก่อนเสมอ และหากปรากฎอาการเจ็บปวดขึ้นในระหว่างทำกายบริหารควรหยุดทำทันที

อย่างไรก็ตาม หากอาการปวดข้อเท้ามีสาเหตุมาจากภาวะข้อต่ออักเสบ ผู้ป่วยจะไม่สามารถรักษาอาการปวดข้อเท้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อาการปวดข้อเท้าแย่ลงกว่าเดิม ซึ่งอาจใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน อาจเป็นเวลานานร่วมสัปดาห์หรือร่วมเดือน และแม้อาการต่างๆ เริ่มดีขึ้น จนใกล้หายดีแล้ว แต่การบาดเจ็บก็อาจทำให้ข้อเท้าไม่กลับไปแข็งแรงเหมือนปกติ จึงยังไม่ควรใช้งานข้อเท้าหรือทิ้งน้ำหนักลงข้อเท้ามากจนเกินไป

ประเมินตัวเองว่าต้องไปหาหมอหรือเปล่า

ส่วนใหญ่ข้อเท้าจะมีอาการปวดเมื่อยเวลาใช้งานหนักอย่างการเดินหรือวิ่งมากไป แต่ทั้งนี้อาการปวดบวมหรือเจ็บปวดที่ข้อเท้าก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆได้ ถ้าคุณมือาการดังต่อไปนี้ ให้รีบไปหาหมอทันที
ㆍ ตั้งครรภ์นานกว่า 20 สัปดาห์ แล้วอยู่ ๆ ข้อเท้บวมจนน่ากลัว อาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณของภาวะครรก็เป็นพิษ (Proaclampsia) หรือความดันสูง ซึ่งต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
ㆍปวดข้อเท้าแค่ข้างเดียว ทั้งๆที่ใช้สองช้างเท่ากัน แสดงว่าข้อเท้าข้างนั้นอาจมีอะไรผิดปกติ ไม่ใช่ปวดเมื่อยเพราะใช้มากไปแล้ว
ㆍปวดไม่ยอมหายหรือปวดหนักกว่าเดิม
ㆍ อาการปวดเมื่อยข้อเท้าและเจ็บเท้าจากผลข้างเคียงของยาที่คุณใช้อยู่
ㆍอาการปวดเมื่อยข้อเท้าและเจ็บเท้าอาจเป็นสัญญาถบอกโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า เช่น โรคเบาหวาน

(ข้อมูลจาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 538)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แดง ขาว แผล ก้อน สัญญาณของ มะเร็งในช่องปาก

แก้วมังกร สรรพคุณกินดี ต้านมะเร็ง แต่คนมีโรคต้องระวัง

ดื่มน้ำน้อย เสี่ยงป่วยหลายโรค แถมยังเสียสมดุลในร่างกาย

กินบุฟเฟต์ อย่างฉลาด อิ่มนาน สารอาหารครบ แต่น้ำหนักไม่พุ่ง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.