ครอบแก้ว

” ครอบแก้ว ” การบำบัดการรักษาอาการป่วยตามแพทย์แผนจีนเพื่อสุขภาพที่ดี

” ครอบแก้ว ”  การบำบัดการรักษาอาการป่วยตามแพทย์แผนจีน ช่วยรักษาอาการป่วยได้หลากหลาย ขจัดสารพิษ เพื่อสุขภาพที่ดี

วันนี้ชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ ครอบแก้ว การบำบัดรักษารักษาทางเลือกของแพทย์แผนจีนชนิดหนึ่ง โดยการนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางบนผิวหนังพร้อมความร้อน มาเคลียร์ให้ชัดครอบแก้วคืออะไร? ที่นี้มีคำตอบ

ครอบแก้ว

ครอบแก้ว คืออะไร?

การครอบแก้ว (Cupping Therpy) เป็นศาสตร์การแพทย์จีนโบราณที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการฝั่งเข็ม ที่มีบันทึกในหนังสือและมีประวัตินาวนานกว่า 2,000 ปีมาแล้ว โดยนำถ้วยแก้วแบบเฉพาะมาวางไว้บนผิวหนังพร้อมใช้ความร้อนให้แก้วดูดผิวหนังขึ้นมา สามารถรักษาอาการป่วย อาทิเช่น บรรเทาอาการเจ็บปวด ช่วยในการไหลเวียนเลือก ผ่อนคลาย หรือช่วยในการขจัดสารพิษออกจากร่างกาย

แต่เดิมสมัยก่อนยังไม่มีแก้ว ชาวจีนจึงใช้เขาสัตว์ กระบอกไม้ไผ่แก่ หรือกระปุกเซรามิก ที่มีความกลวงเป็นอุปกรณ์หลักในการครอบและจึงได้วิวัฒนาการเปลี่ยนมาเป็นแก้วจนกระทั่งปัจจุบัน

ครอบแก้วทำอย่างไร?

แพทย์สอบถามอาการผู้ป่วยและจับชีพจร (แมะ) เพื่อวินิจฉัยโรค จากนั้นแพทย์จะทำการรักษาโดยใช้แก้วสีใสปลอดเชื้อ อาศัยความร้อนไล่อากาศภายในแก้วเพื่อให้เกิดภาวะสุญญากาศ จากนั้นครอบแก้วลงบนผิวหนัง แก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อขึ้นมา ผิวหนังจะเริ่มเปลี่ยนสี

  1. การครอบแก้วแบบครอบทิ้งไว้บนผิวหนัง เพื่อรักษาอาการปวดจากความเย็น ปวดจากร่างกายเสียสมดุล หรือปวดเฉพาะที่
  2. การครอบแก้วแบบเคลื่อนไหวหรือการเดินถ้วย (โจ่วก้วน) เพื่อรักษาอาการปวดจากลมปราณติดขัด และอาการชา
  3. การครอบแก้วแบบดึงเร็ว (ส่านก้วน) ใช้รักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดและชาที่ผิวหนัง หรือสมรรถภาพ (ทางร่างกาย) เสื่อมถอย
  4. การครอบแก้วที่ประสานกับการใช้เข็มปลอดเชื้อ (ซื่อลั้วป๋าก้วน) ใช้รักษาโรคไฟลามทุ่ง ฝีหนอง รวมถึงอาการปวดเมื่อยเคล็ดขัดยอก
  5. การครอบแก้วที่ใช้คู่กับการฝังเข็ม เพิ่มประสิทธิภาพการฝังเข็มและครอบแก้วควบคู่กัน

โดยการครอบแก้วอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เกิดรอยแดง ม่วง ช้ำ ซึ่งถือเป็นอาการปกติ สามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์

ครอบแก้วมีวิธีการอย่างไร?

  • ขั้นตอนแรกให้แพทย์แผนจีนตรวจและวินิฉัยอาการเพื่อหาสาเหตุ
  • ใช้สำลีชุดแอลกอฮอล์แล้วจุดไฟใส่เข้าไปในถ้วยแก้วเพื่อให้เกิดสุญญากาศ แล้วจึงนำถ้วยแก้วนั้นวางคว่ำไปยังตำแหน่งที่ต้องการรักษา
  • แรงดูดสุญญากาศจากภายในแก้วจะดูดผิวหนังและกล้ามเนื้อของผู้บำบัดขึ้นมาซึ่งผิวหนังบริเวณนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดงหรืออาจทำให้มีเลือดคั่ง ของเสียออกมาจากผิวหนัง
  • ในวิธีครอบแก้วแบบแห้งจะใช้เวลาที่ประมาณ 5-10 นาที ส่วนวิธีการครอบแก้วแบบเปียกแพทย์อาจจะกรีดแผลเล็กๆเพื่อเป็นการระบายเลือดออกโดยใช้เวลาประมาณ 2-3 นาทีเท่านั้นแล้วจึงทาขี้ผึ้งและปิดด้วยผ้าผันแปลเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อ รอยแดงที่เกิดจากการครอบแก้วจะสามารถหายไปภายใน 5-7 วัน

ครอบแก้วตำแหน่งไหนได้บ้าง?

การครอบแก้วสามารถทำได้ทุกส่วนของร่างกายที่มีอาการผิดปกติ และสามารถวางถ้วยแก้วขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตรได้ เช่น หน้าอก หน้าท้อง แผ่นหลัง แขน ขา

สีของผิวหลังครอบแก้วบอกอะไรกับเรา?

เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว ตรงบริเวณผิวหนังที่โดนครอบจะเกิเป็นรอยจ้ำสีเข้มๆ แดงๆ หรืออาจจะม่วง ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำนั้นสามารถบอกลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้นๆได้ว่าเป็นอย่างไร

รอยสีดำคล้ำ หมายถึง มีเลือดคั่งอยู่ภายใน

รอยสีม่วง หมายถึง มีความเย็นหรือเลือดคั่งอยู่

รอยมีจุดสีม่วงๆ กระจายอยู่ หมายถึง ชี่ติดขัดหรือมีเลือดคั่ง

รอยสีแดงสด หมายถึง พลังและเลือดพร่อง หรืออินพร่อง

รอยสีดำคล้ำ หมายถึง มีความร้อนอุดกั้นไว้ภายใน โดยรอยแดงที่เกิดขึ้นจะสามารถจางหายไปเอาภายใน 1 อาทิตย์

ครอบแก้วมีประโยชน์อย่างไร?

หลังการของเสียสารพิษต่างๆ ถูกดึงออกจากบริเวณที่ถูกครอบแก้วจะเกิดการเพิ่มการไหลเวียนเลือดที่ดีขึ้น กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยกลไก 2 ประการ

  1. การกระตุ้นกลไกการอักเสบเฉพาะที่
  2. เพิ่มการไกลเวียนของน้ำเหลือง

นอกจากนี้การครอบแก้วมีผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทและกระตุ้นปลายประสาทรับสัมผัสบางชนิด ทำให้มีฤทธิ์ลดปวด และนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดต่างๆ อาทิเช่น ปวดหลัง ปวดคอ

แต่ประโยชน์ของการครอบแก้วไม่มีเพียงรักษาอาการปวดเท่านั้น ยังสามารถนำมาใช้ในรักษา สิว ฝ้า อัมพาตใบหน้า อ่อนเพลีย ซึมเศร้า รวมถึงเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายอีกด้วย

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว

  1. โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ
  2. โรคระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรดเกินในกระเพาะอาหาร
  3. โรคระบบหมุนเวียนเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคโลหิตจาง
  4. โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ปวดกระดูกต้นคอ ปวดข้อศอก ปวดหลัง ปวดเอว
  5. โรคระบบประสาท เช่น โรคปวดศีรษะ ความเครียด ความวิตกกังวล ปวดไมเกรน ภาวะซึมเศร้า
  6. โรคสตรี ปวดท้องประจําเดือน
  7. โรคและปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง สิว ฝี หนอง โรคผิวหนังอักเสบ

ครอบแก้ว

การเตรียมตัวก่อนรับการรักษาด้วยการครอบแก้ว

ก่อนรับการรักษาด้วยการครอบแก้วเตรียมตัวให้พร้อมโดยรับประทานอาหารตามปกติมาก่อนประมาณ 1-2 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานจนอิ่มเกินไป หากมีโรคประจำตัวสามารถรับประทานยาได้ปกติ และระหว่างรักษาหากมีอาการปวดมากควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบโดยทันที

หลังครอบแก้วควรทำอย่างไร?

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ควรดื่มน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 วัน เพราะการดื่มน้ำอุ่นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกได้โดยง่าย
  • งดอาบน้ำหรือตากแอร์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากครอบแก้ว
  • ควรพักผ่อนหลังจากครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
  • อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถามหรือมาพบแพทย์ เช่น มีอาการบวม แดง แสบร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดครอบแก้วหรือมีไข้สูง
  • โดยเฉลี่ยสามารถครอบแก้วได้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ผลข้างเคียงจากการครอบแก้ว

  • ระหว่างครอบแก้วและเมื่อครอบเสร็จอาจเกิดอาการเจ็บปวดตำแหน่งที่ครอบแก้ว
  • ระหว่างครอบแก้วอาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะ เหงื่ออกมากคล้ายจะเป็นลม
  • ผิวบริเวณที่ครอบแก้วจะเกิดแผลไหม้ หรือรอยจ้ำสีม่วงๆ ขึ้น หรือรอยฟกช้ำ ในบางรายอาจมีเลือดออกได้
  • รู้สึกไม่สบายตัวบริเวณที่ครอบแก้ว
  • มีโอกาสติดเชื้อบริเวณที่ครอบแก้วได้ หากอุปกรณ์ที่ใช้ไม่สะอาด

ข้อห้าม ข้อควรระวัง ในการครอบแก้ว

โดยปกติคนทั่วไปสามารถรับการรักษาแบบครอบแก้วได้ แต่กลุ่มที่ไม่ควรรับการรักษาโดยวิธีนี้เช่น

หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคหัวใจ เด็ก ผู้มีผิวหนังเป็นแผลเปิด ผู้ป่วยโรคG6PD ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่างเหล่านี้ไม่ควรรับการครอบแก้วอย่างเด็ดขาด

กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ที่ต้องการเข้ารับการรักษาด้วยการครอบแก้ว ควรให้แพทย์วินิฉัยและแนะนำวิธีการก่อน และควรเลือกสถานที่รักษาที่มีการรับรอบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐาน สะอาด เพื่อความปลอดภัย ความสบายใจของตัวท่านเอง และระวังผลข้างเคียงหลังการครอบแก้วด้วย

ข้อมูลจาก โรงพยาบาลหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

___________________________________________

บทความอื่นที่น่าสนใจ

การครอบแก้ว ครอบกระปุก (Cupping Therapy)

การครอบแก้ว (Cupping) เพื่อการบำบัดและการรักษา

เคล็ดลับ เสริมภูมิคุ้มกัน ธรรมชาติจากศาสตร์แพทย์แผนจีน ยุคโควิด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.