เหงือกอักเสบ

“เหงือกอักเสบ” อันตรายที่เกิดในช่องปากที่ห้ามละเลย

“เหงือกอักเสบ” อันตรายที่เกิดในช่องปากที่ห้ามละเลย

ถ้าจะให้พูดถึงความเจ็บปวดนั้นเราทุกคนต่างก็รู้ดีว่ามันเป็นสิ่งที่ทรมาน ไม่ว่าจะเป็น ความเจ็บปวดทางใจหรือทางกาย อย่างการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วย แต่เราเชื่อว่ามีอีก สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเคยเผชิญ และรับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัส นั่นก็คือความ เจ็บปวดจากการปวดฟัน ปวดเหงือก นั่นเอง ถึงแม้ว่ามันจะไม่ได้เป็นอุบัติเหตุร้ายแรงหรือเกิดโศกนาฏกรรม ล้างเมืองก็เถอะ แต่ความเจ็บปวดจากการปวดฟัน หรือปวดเหงือก

ที่ไม่ว่าจะเป็นฟันคุด ฟันผุทะลุโพรงประสาท เหงือกเป็นหนอง เหงือกบวมหรือเหงือกอักเสบมันก็เจ็บปวดรวดร้าวไปถึงแกนสมอง สะเทือนไป ถึงหัวใจเลยทีเดียว ซึ่งนั่นหมายความว่าก่อนที่อาการปวดฟันจะมาถึง เหงือกของเราก็มีอาการ สาหัสมาพอสมควรแล้วแหละค่ะ

โรคเหงือกอักเสบ เป็นอาการอักเสบของเหงือก หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ลุกลามและกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบหรือโรครำมะนาดได้ !!! โดยโรคนี้จะมีการทำลายของกระดูกเบ้าฟันที่อยู่รอบๆเบ้าฟัน มีการทำลายเอ็นยึดปริทันต์ ทำให้เกิดอาการฟันโยก ไปจนถึงการสูญเสียฟันซี่นั้นได้

โรคเหงือกอักเสบ

เราจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าเราเป็นโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบตามคําจํากัดความก็คือมีอาการอักเสบของเหงือก ลักษณะอาการทั่วไปก็คือเรื่องของการที่มีขอบเหงือกแดง มีเลือดออกหลังจากแปรงฟัน บางครั้งก็จะมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน เคี้ยวอาหารแล้วก็มีอาการเจ็บได้เหมือนกัน

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุโดยทั่วไป คนส่วนใหญ่คิดว่า การมีหินนํ้าลายหรือมีหินปูนอยู่ในปาก เป็นตัวทําให้เกิดการอักเสบของเหงือกแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ สาเหตุหลักจริงๆ ก็คือ คราบอาหารหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยส่งเสริมใหัโรคมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น การสูบบุหรี่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนมากมาย หรือแม้แต่คนที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับนํ้าตาลไม่ได้ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งเสริมให้ร่างกายมีความอ่อนแอลงก็จะทําให้การอักเสบของเหงือกมากขึ้น

โรคเหงือกมีอาการสามระยะด้วยกัน

ระยะเหงือกอักเสบ:จัดว่าเป็นโรคเหงือกระยะเริ่มต้น การอักเสบนี้เกิดมาจากคราบพลัคที่ก่อตัวขึ้นมาตามรอยต่อระหว่างฟันและเหงือก ถ้าการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันตามปกติไม่สามารถทำความสะอาดคราบพลัคนี้ออกไปได้ การสะสมของคราบพลัคนี้จะทำให้มีสารพิษซึ่งก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อเหงือกเกิดขึ้น และทำให้เหงือกอักเสบในที่สุด

เหงือกอักเสบ

อาการที่สังเกตได้ง่ายก็คือการมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ในระยะแรกเริ่มนี้ความเสียหายที่เกิดขึ้นยังสามารถที่จะทำให้กลับมาอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์เหมือนเดิมได้ เนื่องจากกระดูก และเนื้อเยื่อโดยรอบที่ช่วยพยุงและโอบรัดฟันยังไม่ได้รับผลกระทบ

ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบ:ในระยะนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อที่ช่วยพยุงฟันได้ถูกทำลายจนไม่สามารถรักษาให้กลับมาสมบูรณ์เหมือนเดิมได้แล้ว เหงือกจะเริ่มร่นและเกิดโพรงขึ้นใต้รอยต่อระหว่างเหงือกและฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดคราบพลัค และมีเศษอาหารติดฟันได้ง่าย การได้รับการรักษาทางทันตกรรมอย่างถูกวิธี ประกอบกับการดูแลทำความสะอาดช่องปากที่ถูกวิธี จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เหงือกมากไปกว่านี้

ระยะเยื่อหุ้มฟันอักเสบตอนปลาย:โรคเหงือกระยะสุดท้ายนี้ กระดูกและเนื้อเยื่อพยุงฟันได้ถูกทำลายไปจนหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการฟันเคลื่อนหรือฟันโยกได้ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือการเคี้ยวที่บกพร่อง หากการรักษาอย่างเข้มข้น ไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ทันตแพทย์ก็จำเป็นที่จะต้องถอนฟันออก

การป้องกันโรคเหงือกอักเสบ

การรักษาและการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ควรทําอย่างไร

การรักษาโรคทุกชนิดจําเป็นต้องกําจัดสาเหตุออกไป เพราะฉะนั้นสาเหตุหลักของโรคเหงือกอักเสบ คือ เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ตามขอบเหงือกและซอกฟัน การรักษาคือต้องกําจัดสาเหตุเหล่านี้ออกไป โดยการขูดหินนํ้าลายและเกลารากฟันแต่แค่นั้นยังไม่พอ เราจําเป็นจะต้องมีการแปรงฟันทําความสะอาดฟัน เนื่องจากสาเหตุของโรคจะมาทุกวันหลังจากที่เราไปทานอาหารก็จะมีสาเหตุใหม่กลับมา มีการอักเสบใหม่ตลอดเวลาเพราะลําพังแค่บอกว่าไปหาหมอ แล้วให้หมอขูดหินนํ้าลาย อันนั้นไม่ใช่การรักษาแต่เป็นแค่การทําความสะอาดฟัน

ดังนั้นเมื่อมีอาการจึงจําเป็นจะต้องมีการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด สมํ่าเสมอ ด้วยการแปรงฟันและใช่ไหมขัดฟัน อย่างถูกวิธีเพื่อกําจัดสาเหตุใหม่ที่กลับมาทุกวันและที่สําคัญที่สุดคือจําเป็นจะต้องไปพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจดูว่าเราแปรงฟันได้สะอาดเพียงพอหรือไม่ มีการอักเสบของเหงือกใหม่หรือเปล่า ก็อยากให้ทุกคนดูแลตัวเองให้มากขึ้น

ที่มา: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

5 อาหารอร่อย ทำลายเคลือบฟัน ผุ กร่อน เหลือง

ดูแลตัวเอง หลังจาก ผ่าฟันคุด เพื่อแผลหายเร็ว

อาการปวดฟัน ที่คุณควรรู้ พร้อมวิธีแก้แบบง่ายๆ ด้วยตัวเอง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.