ไอเรื้อรัง

หลอดลมอักเสบโรคที่เกิดขึ้นได้จากภัยรอบๆ ตัว

หลอดลมอักเสบโรคที่เกิดขึ้นได้จากภัยรอบๆ ตัว

เนื่องจากช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว และจู่ๆ ก็มีฝนตกลงมาอีก ส่งผลให้อากาศมีความชื้นมาก ทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี ส่งผลให้คนเรามีโอกาสเจ็บป่วย โดยเฉพาะการเกิดโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจได้ง่าย จึงควรเตรียมพร้อมเพื่อรับมือและป้องกันกลุ่มโรคติดเชื้อทางระบบทางเดินหายใจ

และอีกหนึ่งโรคในระบบทาเดินหายใจที่เป็นได้ง่าย และเกิดขึ้นได้บ่อยก็คือ “โรคหลอดลมอักเสบ” เพราะว่าสาเหตุส่วนใหญ่มักจะมากจากชีวิตประจำวันของเราทั้งนั้น โรคหลอดลมอักเสบมี 2 ชนิด คือ

1.โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

มักจะเกิดเมื่อมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจไล่ลงไปจนถึงหลอดลม โดยเชื้อโรคจะไปก่อกวนซึ่งทำให้เกิดอาการอักเสบ อาการบวมของเยื่อ เมือก ที่บุทางเดินหายใจของเรา ซึ่งนำไปสู่การระคายเคือง และนำไปสู่การมีเสมหะมากขึ้น ซึ่งจะมีอาการไอร่วมด้วย อาจจะมีไข้และอาการอ่อนเพลีย อาจจะพบเชื้อแบคทีเรียได้บ้าง โดยส่วนมากจะเกิดในผู้ป่วยที่มีอาการทางหลอดลมอยู่ก่อนแล้ว จึงกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันได้ง่ายขึ้น หรืออาจได้รับการระคายเคืองของเยื่อบุทางเดินหายใจมาก่อนหน้านี้ เช่น การสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่ ควันจากมลพิษต่างๆหรือโรคหืด

หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

2.โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

เกิดจาก ทางเดินหายใจได้รับสารก่อระคายเคืองอย่างเรื้อรัง ซึ่งไม่ได้มีการติดเชื้ออะไร เพียงแต่ว่าร่างกายของเราจะสร้างสารออกมาเยอะมากขึ้นเพื่อตอบสนองกับการอักเสบ ทำให้มีเสลด เสมหะที่เหนียวข้น กำจัดยาก ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังต่อเนื่องตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี หรือ 2 ปี อาการหายใจลำบาก จากช่องทางเดินอากาศในหลอดลมที่ตีบแคบลง เนื่องจากการอุดตันของเสมหะหรือการบวม จะทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังได้ด้วย เมื่อตรวจร่างกายอาจมีเสียงวี้ด มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจมีอาการหลอดลมอักเสบแทรกซ้อนลงไป

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

เช่น ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโรคทางเดินหายใจ ผู้ที่อยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เช่น ไวรัส ต่างๆ ผู้ที่มีสุขภาพอ่อนแอ หรือภูมิต้านทานโรคต่ำ การไปอยู่ในที่ที่แออัดสูง เช่น ในห้างสรรพสินค้า โรงหนัง โรงละคร ค่ายผู้อพยพ

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมเรื้อรัง

มักจะเกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ การได้รับควันบุหรี่เรื้อรัง คนที่ได้รับฝุ่นละออง หรือมลภาวะทางอากาศเรื้อรัง มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกันกับมลพิษทางอากาศ เช่น การทำเหมืองแร่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการระคายเคืองเรื้อรัง นำไปสู่การเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้

ส่วนการรักษาอาการเรื้อรังที่ดีที่สุด คือ

การเลิกบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ และมลพิษต่างๆ และอาจจะแนะนำให้พ่นยา ไม่ว่าจะเป็นยาต้านการอักเสบในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาขยายหลอดลม หรือการรักษาประคับประคองตามอาการอื่น เช่น ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ หรือในผู้ป่วยบางรายอาจจะเหมาะกับการให้ออกซิเจนเป็นครั้งคราว การฉีดวัคซีนต่างๆก็สำคัญ การรักษาอนามัยพื้นฐาน หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด และการใช้ผ้าปิดปาก

การปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบ

เนื่องจากส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ ยาขยายหลอดลม จนอาการหายดีเอง ส่วนการติดเชื้อแบคทีเรียอาจพิจารณาการใช้ยาฆ่าเชื้อ

พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น

เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก หรือสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งเมื่อสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ

งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ฝุ่น เขม่าควันต่าง ๆ หรือสารที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ

 การป้องกันการติดเชื้อ

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก

พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น

หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

 อาการที่ควรไปพบแพทย์

-ไอมาก

-ไอถี่ ๆ

-ไอปนเลือด

-มีเสมหะข้นกลิ่นเหม็น

-มีไข้สูง

-หายใจหอบเหนื่อยมากขึ้น

-แน่นหน้าอก

-เบื่ออาหาร

-น้ำหนักลด

-มีโรคประจำตัวเดิมเป็นโรคปอดเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม

ภาวะแทรกซ้อน

1.หลอดลมอักเสบจากเชื้อไวรัส อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการไอมาก มีเสมหะข้นสีเหลืองหรือเขียว ทำให้ระยะเวลาดำเนินโรคนานกว่าปกติ

2.โรคปอดอักเสบ พบได้ประมาณ 5 ใน 100 จะมีอาการไข้ ไอมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย อาการหอบเหนื่อยจะแย่กว่าหลอดลมอักเสบ

นอกจากนี้ หากพบว่าตนเองมีอาการรุนแรงมาก ไอเรื้อรังไม่หายภายใน 2 สัปดาห์ หรือไอเป็นเลือดร่วมด้วย มีไข้ ไอมาก หอบเหนื่อย จนรบกวนการรับประทานอาหาร หรือการนอนหลับ ให้มาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยรักษาโรคได้อย่างถูกต้อง ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจนก่อให้เกิดปอดอักเสบ นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังด้วย

ข้อมูลจาก: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ รพ.กรุงเทพ

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ทำอย่างไรให้ใช้ชีวิตปกติ!

ไซนัสอักเสบ โรคยอดนิยมของคนวัยทำงาน

ชวนมาเช็ก อาการไอ แบบไหน อันตราย

 

 

 

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.