ชุดตรวจโควิด19 วิธี RT-LAMP แม่นยำเกือบร้อย ช่วยลดการแพร่ระบาดชัวร์

ชุดตรวจโควิด19 วิธี RT-LAMP แม่นยำเกือบร้อย ช่วยลดการแพร่ระบาดชัวร์

ชุดตรวจโควิด19 มีออกมาให้เห็นมากมาย  เนื่องจากหลายคนจำเป็นที่ต้องเดินทางพบปะผู้คนมากมาย ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำอย่างเสมอคือ การตรวจหาเชื้อโควิด-19

ในปัจจุบัน วิธีการตรวจหาเชื้อโควิดมีหลากหลาย ทั้งวิธี Reverse transcription Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) คือ การตรวจหาสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิต โดยการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูกและลำคอ หรือที่เรียกว่า Swab สามารถตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อได้โดยตรง แม้เชื้อในร่างกายจะมีปริมาณน้อย หรือเพิ่งได้รับเชื้อและยังไม่แสดงอาการ นอกจากนี้ RT-PCR ยังสามารถตรวจพบเศษชิ้นส่วนของไวรัสในผู้ที่เคยติดเชื้อและหายแล้วได้อีกด้วย

ดังนั้น จึงทำให้วิธีนี้เป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากเป็นวิธีการที่มีมาตรฐาน มีการวิจัยรองรับ รวมถึงมีความจำเพาะและความแม่นยำสูง และยังถือว่าเป็นวิธีระดับ Gold standard สำหรับการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ทำให้วิธีนี้มักเป็นที่นิยมในประเทศไทย

ช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2564 กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ได้รับรองการใช้ชุดตรวจโควิดด้วยตัวเอง Antigen Test Kit (ATK) โดยอนุญาตให้จำหน่ายในร้านขายยาเพื่อให้ประชาชนซื้อไปตรวจได้เอง แม้ว่าในช่วงแรกจะหาซื้อได้ยาก ขาดตลาด และราคาค่อนข้างสูง แต่ ณ ปัจจุบันก็มีการนำเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีทั้งชุดตรวจโควิดโดยเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูก และเก็บตัวอย่างจากน้ำลาย ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิดได้มากขึ้น

กระทั่งล่าสุด ความสำเร็จอีกขั้นหนึ่งของชุดตรวจวินิจฉัยเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี Reverse Transcription Loop Mediated Isothermal Amplification (RT-LAMP) ที่พัฒนาขึ้นโดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยโควิด-19 เช่นเดียวกับวิธี RT-PCR ที่เป็นที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยได้เพิ่มความพิเศษในการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสแบบ 3 ยีน ซึ่งครอบคลุมวงจรชีวิตของไวรัส ทำให้มีความไวในการตรวจสูง ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือในการตรวจที่ยุ่งยาก มีราคาไม่แพงเหมือน RT-PCR สามารถตรวจเชื้อโควิดได้ทั้งจากโพรงจมูก ลำคอ รวมถึงน้ำลายและวัตถุต่างๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนเชื้อโควิด เหมาะสำหรับการลงพื้นที่ไปตรวจกลุ่มเสี่ยงในชุมชน โรงเรียน รวมถึงสถานประกอบการต่างๆ

รศ.ดร.นราพร สมบูรณ์นะ ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-LAMP เผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจโควิด-19 โดยตรวจจากน้ำลายของกลุ่มเสี่ยงในปริมาณ 5 มิลลิลิตร จะใช้น้ำลายจริงเพียง 1 มิลลิลิตรนำมาสกัดสารพันธุกรรม จากนั้นเป็นขั้นตอนการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมและเข้าสู่ขั้นตอนการวิเคราะห์ผล เครื่องมือในการตรวจราคาไม่แพง สูตรสำเร็จของชุดตรวจนี้อยู่ที่การทำปฏิกิริยาภายในชุดทดสอบ สามารถเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมทั้ง DNA และ RNA ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส มีความไวในการตรวจวัดสูง สามารถรู้ผลการตรวจภายในเวลา 1 ชั่วโมง

จุดเริ่มต้นของชุดตรวจ “RT-LAMP”

ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดหนักห้องปฏิบัติการของภาควิชา จุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้พัฒนาชุดตรวจด้วยเทคโนโลยีการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยอุณหภูมิเดียวเพื่อตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ ที่หลากหลาย รวมถึงการตรวจการปนเปื้อนในอาหาร สำหรับชุดตรวจ RT-LAMP แบบ 3 ยีน เป็นความร่วมมือระหว่างภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และ CU Innovation Hub เพื่อพัฒนาชุดตรวจโควิด-19 ที่ตอบโจทย์ความแม่นยำ ใช้ง่าย และราคาถูก

เนื่องจากปัจจุบัน ชุดตรวจ RT-LAMP ที่มีการใช้กันนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุดคือการตรวจแบบ 2 ยีน แต่ RT-LAMP ที่จุฬาฯ พัฒนาขึ้นนั้นสามารถตรวจยีนที่หลากหลายได้ 3 ยีนพร้อมกัน ทำให้เพิ่มความไวในการตรวจพบเชื้อโควิด-19 RT-LAMP แบบ 3 ยีน มีศักยภาพทั้งในการเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรม และสามารถแสดงผลการตรวจโควิดจากการสังเกตการเปลี่ยนแปลงของสีได้ด้วยตาเปล่า ขั้นตอนการตรวจไม่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ใช้งานสามารถตรวจเชื้อโควิดได้ด้วยตนเอง โดยได้รับคำแนะนำการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญ ช่วยลดภาระของบุคลากรทางแพทย์ ที่สำคัญมีราคาถูกกว่าการตรวจแบบ RT-PCR ถึง 5 เท่า

ทั้งนี้ จากการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างทางคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และการลงพื้นที่ตรวจในภาคสนามในกลุ่มตัวอย่างจริง โดยตรวจสารคัดหลั่งจากน้ำลายและวัตถุต่างๆ จากสภาพแวดล้อมในพื้นที่บริเวณนั้น เช่น ลูกบิดประตู ที่กดชักโครก รวมถึงธนบัตร เมื่อนำผลตัวอย่างมาเทียบเคียงกับการตรวจแบบ Real Time PCR ได้ผลการยืนยันประสิทธิภาพที่แม่นยำว่องไวและเที่ยงตรงเช่นเดียวกัน แผนงานที่วางไว้จะทำการเก็บสารคัดหลั่งจากกลุ่มตัวอย่างเพิ่มเติมอีก 2,000 ตัวอย่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพเพิ่มเติม

สำหรับการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีมาตรฐาน คือ RT-PCR มีราคาแพง ประชาชนอาจไม่สะดวกที่จะต้องเดินทางไปตรวจที่โรงพยาบาล หรือสถานที่ที่มีการตรวจ ในขณะที่วิธี RT-LAMP สามารถเข้าถึงชุมชน และตรวจพบผู้ติดเชื้อในระยะเริ่มต้นได้แม้จะมีเชื้อโควิดในร่างกายน้อย ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ะบาดของโควิด-19 ในระยะยาวได้

อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.นราพร ยังเผยอีกว่า ปัจจุบันมีการนำชุดตรวจโควิดด้วยวิธี RT-LAMP ไปใช้งานในภาคสนามแล้ว และในอนาคตมีแผนในการผลิตชุดตรวจในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการเตรียมสถานที่ในการผลิตชุดตรวจ และจะลงพื้นที่ไปตรวจกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการตรวจหาเชื้อที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก ทั้งยังมีเปอร์เซ็นต์ความแม่นยำสูงถึง 98% เมื่อเทียบกับชุดตรวจ RT-PCR

สุดท้ายนี้ เชื้อไวรัสโควิด-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอนาคตอาจมีการกลายพันธุ์หรือเกิดการระบาดในรูปแบบอื่นๆ ได้ การที่ประเทศไทยสามารถผลิตชุดตรวจโควิด-19 ด้วยวิธี RT-LAMP ที่สามารถตรวจสารพันธุกรรมของไวรัสได้แบบ 3 ยีน โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จะช่วยลดปัญหาการระบาดที่รวดเร็วของโรคนี้ลงได้อีกด้วย

ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ออนไลน์

บทความอื่นที่น่าสนใจ

6 วิธีสยบ อาการปวดข้อ ด้วยวิธีแบบธรรมชาติที่ควรรู้ !!

ผลข้างเคียงของ ยานอนหลับ ภัยร้าย…อันตรายถึงชีวิต

“มันต้มขิง” ซดร้อนๆ ไล่มะเร็ง ปรับสมดุลรับลมหนาว 

займ онлайн срочно безработным

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.