คู่มือโรคหัวใจ

25 ข้อ คู่มือโรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย

25 ข้อ คู่มือโรคหัวใจ เรียนรู้วิธี ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย ด้วยตนเอง แต่ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวกันก่อน

นิยามหัวใจล้มเหลว

คือ ภาวะที่มีสาเหตุต่าง ๆ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจพิการ ลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ ทำให้หัวใจไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีอาการซึ่งแสดงว่า ร่างกายขาดออกซิเจน เช่น เปลี้ย หมดแรง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากเลือดไหลเข้าไปในหัวใจได้ช้าจนท้น

กรณีเลือดท้นหัวใจซีกซ้าย เลือดจะไปออกันอยู่ที่ปอด ทำให้ของเหลวในน้ำเลือดส่วนหนึ่ง รั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในถุงลมปอด เรียกว่าภาวะน้ำท่วมปอด (Pulmonary Congestion) เวลานอนราบแรงโน้มถ่วงจะทำให้น้ำรั่วออกไปอยู่ในถุงลมมากขึ้น จึงมีอาการหอบเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม จนต้องลุกขึ้นมานั่ง

กรณีเลือดท้นหัวใจซีกขวา เลือดจะออกันอยู่ที่หลอดเลือดดำทั่วร่างกาย ทำให้ของเหลวในน้ำ เลือดรั่วผ่านผนังหลอดเลือดออกไปอยู่ในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการบวมกดแล้วบุ๋มที่หน้าแข้ง และหลังเท้า

อาการ

ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวจะมีอาการเหนื่อย (Dyspnea) เวลาออกแรง ถ้าเป็นมากขึ้นจะมีอาการ นอนราบแล้วเหนื่อย ต้องลุกขึ้นมานั่งหายใจหรือต้องใช้หมอนหนุนหลายใบ ถ้าเป็นมากขึ้นไปอีกก็จะมี อาการเหนื่อยแม้ขณะพัก บางครั้งมีอาการเปลี้ย ล้า อ่อนแอ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาโปน หรือ มองเห็นว่าตาเต้นตุบ ๆ

การรักษาหัวใจล้มเหลว

  1. การรักษาด้วยตนเอง
  • 1.1 ลดน้ำหนักตัวลง ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวควรมีรูปร่างค่อน มาทางผอม อย่างน้อยควรมีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่ค่อนมาทางต่ำ คือไม่เกิน 23 กิโลกรัม / ตารางเมตร
  • 1.2 ชั่งน้ำหนักทุกวันเพื่อป้องกันน้ำคั่งในร่างกายแบบไม่รู้ตัว หากน้ำหนักเพิ่มเกิน 1.3 กิโลกรัมในหนึ่งวัน แสดงว่ามีการ สะสมน้ำในร่างกายมากผิดปกติ ต้องรีบหารือแพทย์ที่รักษาอยู่ มิฉะนั้นอาการจะทรุดลงเร็วและแก้ไขยาก
  • 1.3 คุมความดันเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ความล้มเหลวของ การควบคุมความดันเลือดเป็นสาเหตุหลักของหัวใจล้มเหลว เป้าหมายคือความดันเลือดตัวบนต้องไม่เกิน 130 มิลลิเมตร- ปรอท ควรซื้อเครื่องวัดความดันอัตโนมัติมาวัดเองที่บ้าน สักสัปดาห์ละครั้ง และปรับยาความดันตามความดันที่วัดได้ โดยสื่อสารกับแพทย์ผู้รักษา
  • 1.4 ควบคุมเกลือ ไม่กินอาหารเค็ม ยิ่งจืดยิ่งดี
  • 1.5 ควบคุมน้ำ จำกัดการดื่มน้ำไม่ให้เกินวันละ 2 ลิตร โดย เฉพาะอย่างยิ่งหลังอาหารเย็นไปถึงก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมาก
  • 1.6 ออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวัน สำคัญที่สุด การออก กำลังกายในคนเป็นหัวใจล้มเหลวนี้ต้องทำให้ได้มากที่สุดตามกำลัง ของแต่ละวัน แต่ไม่รีดแรงงานถึงขนาดหมดแรงพังพาบ น่าเศร้า ที่คนเป็นหัวใจล้มเหลวไม่มีใครกล้าออกกำลังกาย นักกายภาพ บำบัดก็ไม่กล้าพาไปเพราะกลัวผู้ป่วยมาเป็นอะไรคามือตัวเอง ทั้ง ๆ ที่การออกกำลังกายเป็นวิธีเดียวที่จะให้คนเป็นหัวใจล้มเหลว มีการทำงานของหัวใจดีขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ดังนั้นเรื่อง การออกกำลังกายนี้ผู้ป่วยต้องเป็นคนลงมือเอง อย่าหวังพึ่งหมอ หรือนักกายภาพบำบัด ต้องวางแผนกิจกรรมให้ตัวเองได้ออก กำลังกายสลับกับพักอย่างเหมาะสมทั้งวัน
  • 1.7 ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้ครบ อย่างน้อยต้องฉีดวัคซีน ป้องกันปอดอักเสบชนิดรุกล้ำ (IPV) เข็มเดียวคุ้มกันได้ตลอดชีพ และฉีดยาป้องกันไข้หวัดใหญ่ปีละเข็มทุกปี ถ้าอายุ 60 ปีขึ้นไป แล้วก็ควรฉีดวัคซีนงูสวัดด้วย เรื่องวัคซีนนี้ไม่ต้องรอให้หมอ แนะนำ เพราะหมอมักจะลืม เนื่องจากหมอส่วนใหญ่ถนัด แต่การรักษาโรค ไม่ถนัดการป้องกันโรค
  • 1.8 เน้นที่การดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลบ่อย ๆ เพราะงานวิจัยพบว่า การรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวแบบพาไปนอน โรงพยาบาลบ่อย ๆ เป็นวิธีที่แย่กว่าการสอนให้รู้วิธีดูแลตัวเองที่บ้าน สมาคมหัวใจล้มเหลวสหรัฐอเมริกา (HFSA) แนะนำว่า แพทย์หรือ พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยตามบ้าน ควรพาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเข้าไป นอนในโรงพยาบาลก็ต่อเมื่อ
    • 1.8.1 มีอาการที่ส่อว่าหัวใจกำลังชดเชยต่อไปไม่ไหว (Decompensated) เช่น ความดันเลือดตก ไตทำงานแย่ลง มีภาวะสติเลอะเลือน
    • 1.8.2 หอบทั้ง ๆ ที่นั่งพักเฉย ๆ
    • 1.8.3 หัวใจเต้นผิดจังหวะจนการไหลเวียนเลือดไม่พอ
    • 1.8.4 มีอาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เช่น เจ็บหน้าอก
  • 1.9 มีงานวิจัยระดับสูงเกี่ยวกับการใช้อาหารเสริม CoQ10 รักษาหัวใจล้มเหลว ชื่อ Q-SYMBIO พบว่า CoQ10 ลดการเกิด จุดจบที่เลวร้ายและการเสียชีวิตลงได้มากกว่ายาหลอก และ เนื่องจาก CoQ10 เป็นอาหารเสริมที่มีความปลอดภัย การกิน อาหารเสริม CoQ10 ร่วมด้วยจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ
สลัด, สด, ผัก, สุขภาพดี, อาหาร, เขียว

การป้องกันโรค

หัวใจล้มเหลว ป้องกันได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไป สู่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน อันได้แก่

  1. ปรับอาหารไปสู่การกินอาหารจากพืชไขมันต่ำเป็นหลัก (Plant-Based Low Fat Diet)
  2. ออกกำลังกายให้ถึงระดับหนักพอควรอย่างสม่ำเสมอ
  3. จัดการความเครียดด้วยการฝึกสติ รำมวยจีน ฝึกโยคะ ฯลฯ
  4. ลดน้ำหนักในกรณีที่อ้วน
  5. จำกัดเกลือในอาหารให้น้อยลง
  6. ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอและให้แพทย์จัด ระดับความเสี่ยงหัวใจให้ โดยผู้ป่วยต้องทราบว่าตนเองเป็นผู้มีความ เสี่ยงต่อโรคหัวใจระดับต่ำ ปานกลาง หรือสูง เพื่อให้ใช้มาตรการ จัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม

ในกรณีที่มีความเสี่ยงสูงต้องเพิ่มมาตรการ จัดการความเสี่ยงซึ่งอาจรวมไปถึงการปรับ อาหารอย่างเข้มงวด การใช้ยาลดไขมัน การใช้ยาลดความดัน เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิด กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันอันเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว


เรื่อง นายแพทย์สันต์ ใจยอดศิลป์ ภาพ iStock

ชีวจิต 478 นิตยสารรายปักษ์ ปีที่ 20 1 กันยายน 2561

บทความน่าสนใจอื่นๆ

FOOD TIPS อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

ผู้ป่วยโรคหัวใจ และโรคปอด ควรเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ป้องกันการเสียชีวิต 90%

พิชิตหัวใจเธอ เมนูพิชิตโรคหัวใจ และ หลอดเลือด อร่อยมีประโยชน์ต่อร่างกาย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.