อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

FOOD TIPS อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

FOOD TIPS อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

อาหารที่รับประทานส่งผลโดยตรงกับระดับไขมันในเลือดและระดับความดันโลหิต ซึ่งสามารถส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย และ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ แม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาแล้ว แต่หากผู้ป่วยไม่ควบคุมอาหาร โรคดังกล่าวสามารถกลับมามีอาการกำเริบได้

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรคอื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง มีแนวทางปรับอาหารดังนี้

จํากัดปริมาณอาหารกลุ่มแป้งและน้ําตาล

ถ้าเป็นกลุ่มอาหารพลังงานสูง สารอาหารต่ํา ให้งดเด็ดขาดจะดีกว่า แนะนําให้เปลี่ยนไปกินแป้งที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ และต้องคุมปริมาณอาหารโดยรวม ไม่ควรกินเกิน

กรณีที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์และลดปริมาณไขมันจากพืช

เรื่องการกินไขมัน คนก็เข้าใจผิดกันมาก ตัวอย่างเช่น น้ํามันมะกอกเป็นไขมันดี แต่ถ้าเอาไปปรุงโดยผ่านความร้อนสูงๆ ก็จะกลายเป็นไขมันไม่ดี น้ํามันที่เป็นไขมันดีและมีจุดเดือดสูงหน่อยก็มี เช่น น้ํามันเมล็ดชา น้ํามันรําข้าว

หลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์

กรณีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งช่วงหลังกําลังได้รับความนิยมในกลุ่มผู้บริโภค แต่ถ้ากินมากไปก็ทําให้ไตรกลีเซอไรด์สูงได้ เกณฑ์ที่กรมอนามัยระบุให้กินไขมันได้เพียงวันละ 6 ช้อนชา นับว่าน้อยมาก ถ้ากินเกินก็ก่อโรคแน่นอน

หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม

-หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป / อาหารหมักดอง / อาหารแช่แข็ง เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน หมูแผ่น หมูหยอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กผง ซุปผง ผักผลไม้ดอง ไข่เค็ม

-หลีกเลี่ยงการรับประทานน้ำซุป / น้ำแกง เนื่องจากส่วนใหญ่มักมีส่วนประกอบของผงชูรสและเครื่องปรุง

-ลดการปรุงอาหาร

*เติมเกลือในอาหารไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน

อาหารที่มีเส้นใย

*เติมน้ำปลา ซีอิ้ว ซอสถั่วเหลือง น้ำมันหอย ไม่เกิน 3 ช้อนชาต่อวัน

*ซอสพริก  ซอสมะเขือเทศ  ไม่เกิน 1ช้อนโต๊ะ

-อ่านฉลากโภชนาการ เลือกผลิตภัณฑ์ที่โซเดียมน้อยกว่า 100 มก.

เน้นอาหารที่มีเส้นใย  (Fiber)

เลือกทานข้าว/ขนมปัง/ธัญพืชที่ไม่ขัดสี เพิ่มการทานผักและผลไม้ เพราะเส้นใยจากอาหารจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน  ทำให้ลดการสะสมหรือการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด

บริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน

ไม่ควรบริโภคอาหารมากเกินไป ควรให้พอเหมาะกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน จะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินในรูปของไขมัน อันจะทำให้เกิดโรคอ้วน ที่เป็นอันตรายทำให้เกิดโรคหัวใจตามมาได้

นอกจากการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพแล้ว การออกกำลังกาย ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ก็จะช่วยไม่ให้โรคลุกลามมากขึ้น

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

อาหารมังสวิรัติ ตัวช่วยชั้นดีของผู้ป่วยหัวใจ

ดื่มน้ำอุ่น สิ่งง่ายๆ ดูแลสุขภาพรอบด้าน ประโยชน์เกินคาด

เช็กสัญญาณเสี่ยง เสพติดของหวาน พร้อมผลที่อาจตามมาถ้าปล่อยไว้

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.