ภาวะมีบุตรยาก ปัญหากวนใจ ของหลายๆ ครอบครัว

ภาวะมีบุตรยาก ปัญหากวนใจ ของหลายๆ ครอบครัว

กว่า 15% ของคู่สมรสในประเทศไทย หรือหนึ่งในเจ็ดของคู่แต่งงานทั่วโลก พยายามที่จะมีลูกภายใน 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ทั้งที่ไม่ได้มีการคุมกำเนิด แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ซึ่งเข้าข่ายของการเกิด ภาวะมีบุตรยากนั่นเอง

เมื่อคู่รักมีบุตรยาก

ปัญหาการมีลูกยาก เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคู่รักหลายๆ คู่ ที่แม้จะพยายามเท่าไรก็ไม่สำเร็จสักที ซึ่งสาเหตุนั้นก็มีอยู่ด้วยกันมากมาย และอาจจะมาจากทั้งฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ได้ ดังนั้นการรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ย่อมช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น

รักษาอย่างไร

วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์นั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมนั้นคือ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว โดยเรียกเป็นภาษาอังกฤษสั้นๆ ว่า IVF (In-vitro Fertilization) ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น

หมอเบียร์หรือนายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ Life Women’s Health (ไลฟ์สุขภาพสตรีคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา) ใจกลางเมืองย่านราชประสงค์ อาคารเกษรทาวเวอร์ชั้น 11 ที่ขึ้นชื่อเรื่องการแก้ไขภาวะมีบุตรยาก ได้ให้ความรู้เรื่องการทำ IVF เอาไว้ว่า “ถึงแม้การทำ IVF จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการมีบุตรยากได้ แต่อัตราการสำเร็จนั้นอยู่ที่ 41-43% เท่านั้น และหากอายุยิ่งมากขึ้น อัตราความสำเร็จก็จะยิ่งลดลง”

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ตัวช่วยด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์

คลินิก Life Women’s Health ที่คุณหมอเบียร์ดูแลอยู่นั้น ขึ้นชื่อเรื่องการความสำเร็จในการทำ IVF มามากมายหลายเคส โดยคุณหมอเบียร์ได้พูดถึงเทคนิคเฉพาะตัว ที่ช่วยให้การทำ IVF สำเร็จได้ง่ายขึ้น ดังนี้

  1. ขั้นตอนการดึงเซลล์ตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจพันธุกรรม (Blastocyst Biopsy For Preimplantation Genetic Testing) คุณหมอใช้เทคนิคที่เรียกว่า Flicking เป็นการใช้เข็มในการตัดเซลล์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนิยมใช้เลเซอร์ ที่มีความร้อนสูง อาจจะทำให้เซลล์ที่ดึงออกมาเสื่อมสภาพ (Degenerated) จนทำให้ผลทางพันธุกรรมคลาดเคลื่อนได้
  2. ในห้องปฏิบัตการตัวอ่อนแบบดั้งเดิม มักจะใช้ปีเปตแก้ว (Glass Pipette) ในการเคลื่อนย้ายตัวอ่อน แต่คุณหมอจะใช้ Automatic Pipette แทน เพราะการใช้ปีเปตแก้วจำเป็นต้องใช้ร่วมกับตะเกียงแอลกอฮอล์ ซึ่งสารระเหยที่ไม่พึงประสงค์ (Volatile Organic Compounds) จากตะเกียงแอลกอฮอล์นั้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนแย่ลง
  3. ที่ Life Women’s Health คุณหมอทำการแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing) ที่พัฒนาเป็นระยะ Blastocyst แล้วเท่านั้น โดยในระยะนี้ตัวอ่อนจะมีเซลล์ที่แข็งแรงและมากที่สุดคือประมาณ 100 – 300 เซลล์ ทำให้เมื่อละลายออกมาแล้วมีโอกาสรอดชีวิตถึง 99% ต่างกับห้องปฏิบัติการตัวอ่อนแบบดั้งเดิมที่มักจะแช่งแข็งตัวอ่อนที่ระยะ Zygote (มี 1 เซลล์) หรือ cleavage stage (มี 6 – 12 เซลล์) ซึ่งเซลล์นั้นยังอ่อนแอ จึงมีโอกาสรอดเพียง 70% รวมถึงมีปัญหาในการเจริญเติบโต และฝังตัวอีกด้วย
  4. คุณหมอเบียร์ทำการเลี้ยงตัวอ่อนแบบ 1 ตัวอ่อน ต่อน้ำยา 1 Drop ต่างกับห้องปฏิบัติการตัวอ่อนแบบดั้งเดิมซึ่งมักเลี้ยงหลายตัวอ่อนต่อ 1 Drop น้ำยา โดยการเลี้ยงตัวอ่อนแบบ 1 ต่อ 1 นี้ จะทำให้เราสามารถติดตามการพัฒนาการของตัวอ่อนได้อย่างใกล้ชิด ทำให้การเลือกตัวอ่อนมาใส่ให้ตั้งครรภ์มีคุณภาพดีที่สุด ดีกว่าการเลี้ยงแบบกลุ่มซึ่งไม่สามารถติดตามการพัฒนาการของตัวอ่อนแบบตัวต่อตัวได้

ภาวะมีบุตรยาก

แต่ทั้งนี้ โอกาสสำเร็จของการทำ IVF นั้น ขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัยร่วมด้วย ดังนั้นแล้วควรเข้าพบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจและวินิจฉัย เพื่อโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่มากขึ้น

ติดต่อ Life Women’s Health (ไลฟ์สุขภาพสตรีคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา) ได้ที่ ชั้น 11 อาคาร Gaysorn Tower

วันจันทร์ – เสาร์ เวลา 08.00 น. – 16.00 น.

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.