เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวาน

“เบาหวาน” โรคอันตราย หากรู้ทันป้องกันได้

“เบาหวาน” โรคอันตราย หากรู้ทันป้องกันได้

ว่ากันด้วยเรื่องของ “โรคเบาหวาน” ที่ เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ ร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งตอนนี้ไปทางไหนก็เห็นว่าคนเป็น เบาหวาน กันเยอะมาก  องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานว่าปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 425 ล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นถึง 642 ล้านคนในปี

ทั้นี้โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ใครๆ ก็รู้จัก และส่วนมากจะเข้ากันเป็นที่เรียบร้อยว่าสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินอาหารที่มีรสหวาน หรือรสจัดมากเกินไป รวมไปถึงแป้งต่างๆ และมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นหากครอบครัวมีประวัติเคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน

แต่สิ่งที่อีกหลายๆ คนไม่ทราบ คือ สัญญาณอันตรายที่จะเตือนภัยกับเราว่า เรากำลังจะเป็น โรคเบาหวาน แล้ว อาการเป็นอย่างไร มีวิธีสังเกตได้อย่างไร

โรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยปกติแล้ว การเกิดโรคเบาหวานนั้นจะมีความสัมพันธ์กับฮอร์โมนที่ถูกสร้างมาจากตับ คือ ฮอร์โมนอินซูลิน โดยที่ฮอร์โมนตัวนี้จะเป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์ต่างๆ ภายในอวัยวะทั่วร่างกาย อาทิ สมอง , ตับ , ไต , หัวใจ เพื่อให้เซลล์นั้นนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานในการทำงาน แต่หากกระบวนการสร้างฮอร์โมนอินซูลินเกิดมีความผิดปกติ ตับสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น หรือเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ไม่สามารถนำกลูโคสไปใช้ได้ ถึงแม้ว่าตับจะสร้างฮอร์โมนได้ในระดับปกติ หรือที่เรียกกันว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน เมื่อความผิดปกติทั้ง 2 อย่างเกิดขึ้น ก็จะทำให้น้ำตาลคั่งในเลือดในจำนวนที่มาก ทำให้ความผิดปกตินั้นเกิดขึ้นลุกลามจนกลายเป็น โรคเบาหวาน ในที่สุด

ตรวจเบาหวาน

ทั้งนี้ ถึงแม้เราจะรู้ว่าโรคเบาหวานเกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดความผิดปกติของกระบวนการใดในร่างกาย แต่สาเหตุของการเกิดก็ยังไม่ถูกระบุแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่ามันเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อนที่เกิดจากทั้งพันธุกรรมและการดำเนินชีวิตของคนเรา (Lifestyle) ประกอบกัน

ใครที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน?

สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน และควรได้รับการตรวจคัดกรอง ได้แก่ ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ผู้ที่อ้วน (มีค่าดัชนีมวลกายหรือ BMI มากกว่า 25) และมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน มีโรคความดันโลหิตสูง ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ มีประวัติเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือมีประวัติคลอดทารกน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม มีโรคหัวใจและหลอดเลือด ถ้ามีคุณสมบัติตามนี้อย่าลืมไปตรวจหาเบาหวานกันนะคะ

นอกจากานี้โรคเบาหวาน นั้นเป็นโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ ฉะนั้นผู้ที่มีญาตสายตรง อย่าง พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากมีทั้งพ่อและแม่ที่เป็นโรคเบาหวาน รุ่นลูกก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นถึงร้อยละ 50

นอกจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแล้ว ยังมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้เป็นโรคเบาหวานได้ อาทิ ผู้ที่มีน้ำเกิน หรือเรียกว่า อ้วน , ผู้ที่ไม่ชอบออกกำลังกาย , มีไขมันในเลือดสูง โดยกลุ่มคนเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเป็นได้เท่าๆ กัน

เบาหวาน

เบาหวานเนี่ยเอาจริงๆ ไม่ได้น่ากัว แต่ที่น่ากลัวคือภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต หรือเส้นประสาทส่วยปลาย โดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด คือ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ซึ่งสามารถพบได้เป็นจำนวนถึง 1 ใน 3 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน

ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีคำแนะนำสำหรับประชาชนในการป้องกันโรคเบาหวาน คือให้รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นผักและผลไม้ที่หวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง อาหารหวาน มัน และเค็มจัด งดสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม และควรมีค่าดัชนีมวลกายให้อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร

ออกกำลังกายลดเบาหวาน

ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/วัน หรือสะสมได้ 150 นาที/สัปดาห์ 6) ทำจิตใจสดชื่นและผ่อนคลาย ถ้าสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานควรดูแลและใส่ใจเรื่องการควบคุมอาหาร การกินยา ตรวจตามนัด และสังเกตอาการผิดปกติเบื้องต้นโดยเฉพาะการเกิดแผลที่เท้า 7) หากมีอาการปัสสาวะบ่อยและมาก คอแห้งกระหายน้ำ หิวบ่อยกินจุ น้ำหนักลด เป็นแผลง่ายและหายยาก คันตามผิวหนัง ตามัวและชาตามปลายมือปลายเท้า ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไป และ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

หน่อไม้ฝรั่ง ป้องกันเบาหวาน+มะเร็ง

ทำไมกิน “น้ำตาล” มากๆ ก็ทำให้เป็นโรคไตได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.