โพรไบโอติกส์

ชวนรู้จัก โพรไบโอติกส์ 5 สายพันธุ์ทรงประสิทธิภาพตอบโจทย์สุขภาพครบ

โพรไบโอติกส์ ก็มีสายพันธุ์ที่โดดเด่นนะ

เชื่อว่าผู้อ่านชีวจิตหลายคนคุ้นเคยกับ โพรไบโอติกส์ เป็นอย่างดี และส่วนใหญ่รู้ถึงคุณประโยชน์ของเจ้าจุลินทรีย์ตัวดีนี้ แต่รู้ไหมว่า โพรไบโอติกส์มีหลายสายพันธุ์ และมีสายพันธุ์คุณภาพดีโดดเด่นที่ผู้เขียนอยากจะมาแนะนำให้รู้จัก ก่อนอื่นเราไปทำความเข้าใจที่มาที่ไปของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ นี้กันดีกว่า

โพรไบโอติกส์มีบทบาทกับร่างกายอย่างไร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจระบบนิเวศภายในลำไส้กันก่อน ในลำไส้ของเรามีจุลินทรีย์อาศัยอยู่นับล้านล้านตัว ซึ่งมีทั้งจุลินทรีย์ที่ดี หรือ โพรไบโอติกส์ (ที่ไม่รบกวนระบบการทำงานของร่างกาย) และจุลินทรีย์ที่ไม่ดี (ที่ค่อยรบกวนระบบการทำงานของร่างกาย) ซึ่งจุลินทรีย์ทั้งสองประเภทนั้นมักควบคุมกันไปมา บางครั้งฝ่ายดีก็มีมากกว่า บางครั้งฝ่ายไม่ดีก็มีมากกว่า ยามที่จุลินทรีย์ดีมีมากกว่าและควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ไม่ดีเอาไว้ได้ ภายในลำไส้ของเราก็จะแข็งแรง ทำงานมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ขับถ่ายปกติ ป้องกันโรคติดเชื้อ ลดคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ เพิ่มการดูดซึมสารอาหาร กระตุ้นการผลิตวิตามินต่างๆ ลดอาการภูมิแพ้ และส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน แต่เมื่อไรที่จุลินทรีย์ไม่ดีมีมากกว่า ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้

โพรไบโอติกส์ ลำไส้ แบคทีเรียในลำไส้ ภูมิคุ้มกัน

ขาดโพรไบโอติกส์ไปจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

รู้ไหมว่า ลำไส้เป็นอวัยวะสำคัญที่สุดอวัยวะหนึ่งของเรา ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหาร ควบคุมระบบขับถ่าย ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและฮอร์โมน รวมถึงมีส่วนในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายอยู่ในลำไส้ (คิดเป็นประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์) 

ดังนั้นสุขภาพของลำไส้จึงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกายโดยรวม โดยปกติหากจุลินทรีย์ที่ดีมีมากพอที่จะควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์ไม่ดี ลำไส้ทำงานได้ตามปกติ โอกาสที่จะติดเชื้อหรือเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียก็จะลดลง เราก็จะไม่ป่วย แต่เมื่อใดที่จุลินทรีย์ไม่ดีมีมากกว่าแล้วมายึดครองลำไส้ของเรา ลำไส้จะทำงานผิดปกติ รู้สึกไม่สบายท้อง ระบบต่างๆ ในร่างกายดังที่กล่าวไปอาจบกพร่อง และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

โพรไบโอติกส์ ลำไส้ แบคทีเรียในลำไส้ ภูมิคุ้มกัน

เติมโพรไบโอติกส์ให้ร่างกายด้วยวิธีไหนได้บ้าง

วิธีการทำให้จำนวนโพรไบโอติกส์ในลำไส้เพิ่มขึ้นนั้นสอดคล้องกับการดูแลสุขภาพโดยรวมของเรา ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการที่ร่างกายต้องการ เน้นการกินอาหารที่มีใยอาหารสูง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจไม่เครียด นอนหลับอย่างเพียงพอ และที่สำคัญคือการเติมจุลินทรีย์ดีเข้าไปโดยการบริโภคโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม 

5 สายพันธุ์โพรไบโอติกส์คุณภาพที่น่าสนใจ

โพรไบโอติกส์นั้นมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วยกัน โดยสายพันธุ์ที่มีการทดสอบและได้รับการรับรองผลการวิจัยทางการแพทย์มาแล้ว ว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพได้จริงที่โดดเด่น จะมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ Bifidobacterium และ Lactobacillus และใน 2 กลุ่มนี้ยังแตกออกไปเป็นสายพันธุ์ย่อย ๆ อีก

สำหรับสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่น่าสนใจ ผู้เขียนคัดมาให้ 5 สายพันธุ์ที่เหมาะสำหรับคนเอเชีย เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตพันธุ์โพรไบโอติกส์สำหรับรับประทานเสริม มีดังนี้

Bifidobacterium longum BB536 : ป้องกันภูมิแพ้+ไข้หวัดใหญ่ ส่งเสริมสุขภาพลำไส้ ป้องกันลำไส้อักเสบและมะเร็งลำไส้

Bifidobacterium breve M-16V : ป้องกันอาการภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นคัน หอบหืดที่เกิดจากภูมิแพ้

Bifidobacterium infantis M63 :  มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพจิตและระบบประสาท

โพรไบโอติกส์ ลำไส้ แบคทีเรียในลำไส้ ภูมิคุ้มกัน

Lactobacillus acidophilus Lac-361 : สร้างสมดุลในลำไส้ เสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยย่อยและดูดซึมสารอาหาร

Lactobacillus gasseri Lac-343 : ส่งเสริมสุขภาพลำไส้ กระตุ้มภูมิคุ้มกัน ลดการติดเชื้อก่อโรค

หากยังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ แนะนำ BIFIO Probiotic Plus+ “บิฟิโอ โปรไบโอติก พลัส” เป็นโปรไบโอติกที่ค้นคว้าและวิจัยในคนเอเชีย โดยใช้จุลินทรีย์สายพันธุ์คุณภาพทั้ง 5 สายพันธุ์

โพรไบโอติกส์ ลำไส้ แบคทีเรียในลำไส้ ภูมิคุ้มกัน

ขอบคุณผู้สนับสนุน ผลิตภัณฑ์ BiFio probiotic

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

Line: @cpfrdcenter

email: cpffood_rdcenter@cpf.co.th

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.