COGNITIVE TRAINING ฝึกสมอง อัลไซเมอร์ สมองเสื่อม

ชวนรู้จัก COGNITIVE TRAINING ฝึกให้สมองทำงานหลาย ๆ อย่าง ต้านอัลไซเมอร์

COGNITIVE TRAINING ฝึกให้สมองทำงานหลาย ๆ อย่าง

วันนี้เราจะชวนคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับการทำ COGNITIVE TRAINING หรือการฝึกให้สมองทำงานหลาย ๆ อย่าง เพื่อป้องกันโรคอัลไซเมอร์กันค่ะ มาดูกันเลยว่าวิธีการมีอะไรบ้าง ยากหรือง่าย

อะไรคือ COGNITIVE TRAINING

ร้อยเอก นายแพทย์สุรชาเล่าว่า เทคนิคนี้พูดง่ายๆ ก็คือ การใช้สมองให้เยอะๆ นั่นเอง โดยฝึกให้สมองต้องทำงานอย่างสม่ำเสมอผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ว่าจะเป็น

การฝึกใช้จมูกในการดมกลิ่นสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น กลิ่นผักผลไม้ ต้นไม้ใบหญ้า หรือดอกไม้หลากหลายชนิด ซึ่งการฝึกดมกลิ่นนี้จะช่วยให้สมองได้ใช้งานในส่วนของการรับกลิ่น (Olfactory Nerve) ถือเป็นการกระตุ้นสมองให้ทำงานอีกทาง

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการฝึกสมองด้วยการสัมผัสพื้นผิวหรือสิ่งของต่าง ๆ ด้วยมือผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย อย่างเช่น การทำอาหาร การปลูกต้นไม้ หรือการจัดบ้ายิ่งสัมผัสหลากหลายก็ยิ่งกระตุ้นให้สมองเกิดการเรียนรู้และทำงาน หรือการลองเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ ก็ถือเป็นการฝึกสมองที่ดีอีกทางหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น การเรียนงานฝีมือ เย็บปักถักร้อย หรือการเรียนทำอาหารผ่านช่องทางออนไลน์ เพราะถือเป็นการทำกิจกรรมที่ได้ฝึกประสาทการรับรู้หลายส่วนไปพร้อม ๆ กัน ทั้งการได้ยิน การสัมผัส และการได้กลิ่น

ซึ่งทุกรูปแบบการฝึกสมองให้ทำงานนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่มีสาระหรือเครียดเสมอไป จะลองฝึกอะไรง่าย ๆ อย่างหั่นผักก็ดี หรือลองแปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดก็ได้ทุกอย่างล้วนกระตุ้นการทำงานของสมองเราทั้งนั้น

งานเย็บปักถักร้อย, งานฝีมือ, ต้านอัลไซเมอร์, บริหารสมอง, งานอดิเรก COGNITIVE TRAINING

ควบคุมคาร์โบไฮเดรต ช่วยได้อีกแรง

คนที่มีอายุยืนยาวเกิน 100 ปีทั่วโลกที่มีสุขภาพแข็งแรง มักมีแนวทางการกินคาร์โบไฮเดรตที่ถูกต้อง ซึ่งช่วยให้สมองแจ่มใส ไม่หลงลืมแม้มีอายุเกิน 100 ปี อีกทั้งมีอัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำ ดังนี้

  • กินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวซ้อมมือ ธัญพืช มันหวาน ร่วมกับอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ โดยอาหารทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นแหล่งพลังงานในชีวิตประจำวันสูงถึงร้อยละ 80
  • ปริมาณที่แนะนำต่อมื้อ คือ ขนมปังโฮลวีต 1 แผ่น หรือธัญพืช เส้นพาสต้าโฮลวีตปรุงสุก 1 ถ้วย
  • อย่างดคาร์โบไฮเดรต เพราะจะมีผลต่อสมดุลจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ทำให้สมองไม่แจ่มใส รู้สึกสับสน วิตกกังวลและเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้
  • อย่าปักใจเชื่อเรื่องอันตรายของกลูเตน ปัจจุบันอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำและอาหารปราศจากกลูเตนกำลังเฟื่องฟูในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ดร.ลิซ่าเตือนว่า ยังไม่มีงานศึกษาวิจัยที่ยืนยันว่ากลูเตนส่งผลให้เกิดโรค เช่น ข้อเสื่อม ภูมิแพ้ สมองเสื่อม

ขณะนี้มีข้อมูลสุขภาพมากมาย เพื่อความปลอดภัย ก่อนลงมือปฏิบัติตามจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลให้รอบด้าน และควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ

(ที่มา : คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 545)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รวมมิตรตัวช่วยแก้อาการ นอนไม่หลับ ลดอัลไซเมอร์

17 TRICKS ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่างเข้าใจ

ผักเบี้ยใหญ่ สมุนไพรไทยแหล่งโอเมก้า 3 ต้านอัลไซเมอร์ สมองเสื่อม

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.