สมุนไพรตังกุย ตังกุย

สมุนไพรตังกุย เลือกกินอย่างไร กินสด หรือ แคปซูลดีกว่ากัน

สมุนไพรตังกุย เลือกกินอย่างไร กินสด หรือ แคปซูลดีกว่ากัน

วันนี้ผู้เขียนจะมาแนะนำ สมุนไพรตังกุย หนึ่งในสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชีย มีสรรพคุณน่าสนใจมากมาย โดยบทความนี้จะแนะนำความเป็นมา ประโยชน์ รวมไปถึงการเลือกใช้สมุนไพรชนิดนี้ด้วย

ชวนรู้จัก สมุนไพรตังกุย หรือโสมตังกุย

เป็นสมุนไพรที่มีประวัติการใช้งานมายาวนานในการดูแลสุขภาพ ได้รับความนิยมในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะจีน เกาหลี และไทย ในตำราแพทย์แผนไทย สมุนไพรตังกุยถูกเรียกว่า “โกฐเชียง” โดยตังกุยได้รับการขนานนามว่าเป็นโสมสำหรับสตรี มีส่วนช่วยเกี่ยวกับเรื่องระบบประจำเดือน และรักษาอาการวัยทอง นิยมนำมาใช้ในการปรับประจำเดือนสำหรับผู้มีประจำเดือนมาไม่ปกติ มีภาวะขาดประจำเดือน และช่วยบรรเทาอาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือนได้ดี

สมุนไพรตังกุย ตังกุย

สมุนไพรตังกุยมีส่วนประกอบอะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง?

สมุนไพรตังกุยเป็นสมุนไพรที่มีสารสำคัญ เช่น ไลกัสติไล (Ligustilide), กรดเฟรูลิก (Ferulic Acid) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) มีสรรพคุณในการปรับประจำเดือนให้เป็นปกติ รักษาภาวะขาดประจำเดือน ใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือนหรือรักษาอาการร้อนวูบวาบในหญิงหมดประจำเดือนได้

สมุนไพรตังกุยเหมาะกับใคร

สมุนไพรตังกุยเหมาะกับเพศหญิงที่ต้องการดูแลสุขภาพ หรือเพศหญิงที่เริ่มเข้าสู่วัยทอง ตั้งแต่ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป สามารถเริ่มรับประทานได้ตั้งแต่ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause), ระยะหมดประจำเดือน ( Menopause) ไปจนถึงระยะหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause) ซึ่งในช่วงที่เข้าสู่วัยทองจะมี อาการที่สังเกตได้ เช่น เริ่มร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน มีเหงื่อออกตามร่างกาย นอนไม่หลับ ช่องคลอดแห้ง เป็นต้น หรือผู้ที่มีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ โดยยังไม่ถึงวัยทองก็สามารถใช้สมุนไพรตังกุยช่วยปรับสมดุลให้ประจำเดือนที่ขาดมาปกติได้อีกด้วย

สมุนไพรตังกุยรับประทานอย่างไร

สมุนไพรตังกุย สมัยก่อนถูกนำมาใช้ในการเป็นส่วนผสมในเมนูอาหารอย่างเมนูเนื้อตุ๋นหรือแกงจืด ทำเป็นข้าวต้มหรือโจ๊ก แต่เนื่องด้วยตังกุยมีรสชาติที่เผ็ดหวาน อาจทำให้ทำอาหารด้วยวิธีที่ค่อนข้างยุ่งยาก ปัจจุบันจึงมีการนำสมุนไพรตังกุยมาสกัดในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีหลายหลายรูปแบบทั้งแบบน้ำแบบแคปซูล หรือแบบซอฟเจล เพื่อให้สะดวกในการบริโภคมากขึ้น แต่หากใครไม่ชอบกลิ่นสมุนไพร แนะนำให้รับประทานในรูปแบบซอฟเจลจะช่วยทำให้ดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ไวมากขึ้นอีกด้วย

ทำไมต้องรับประทานสมุนไพรตังกุย

ข้อดีของสมุนไพรตังกุย คือเป็นสมุนไพรจากธรรมชาติ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลสุขภาพสำหรับผู้หญิง เพราะเมื่อผู้หญิงมีอาการต่างๆเกี่ยวกับฮอร์โมน อย่างเช่นอาการวัยทอง มักคิดว่าตนเองต้องใช้ฮอร์โมนทดแทนที่เรียกว่า Hormone Replacement Therapy (HRT) จึงสรรหาวิธีการใช้ยาฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งยาเหล่านั้นหรือแม้แต่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิดที่มีส่วนผสมของไฟโตเอส โตรเจนก็ดี มักมีลักษณะการออกฤทธิ์แบบฮอร์โมนทดแทน ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดเรื่องผลข้างเคียงจากการใช้ฮอร์โมนทดแทนเหล่านี้ แต่ก็มีหลายงานวิจัยที่ระบุถึงโอกาสที่จะทำให้เกิดเนื้องอก ซีสต์ หรือมะเร็งได้เช่นกันหากใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ สมุนไพรตังกุยจึงเป็นทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ เพราะสมุนไพรตังกุยไม่มีส่วนในการเพิ่มหรือลดฮอร์โมนในร่างกาย แต่มีส่วนช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และยังช่วยลดอาการข้างเคียงจากวัยทอง เช่นหงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวายได้อีกด้วย

สมุนไพรตังกุย ตังกุย

สมุนไพรตังกุยแบบแคปซูลยี่ห้อไหนดี

หากจะเลือกรับประทานสมุนไพรตังกุย ในรูปแบบแคปซูล แนะนำให้ศึกษารายละเอียดบนกล่องบรรจุภัณฑ์ให้ละเอียด และต้องคำนึงถึงแหล่งที่มาที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน และปริมาณการรับประทานที่เหมาะสมกับร่างกายของเราอีกด้วยและหากผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนั้น มีทีมให้คำปรึกษาผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ควรปรึกษาวิธีการรับประทานให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้รับคุณค่าจากตังกุยอย่างเต็มประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสุขภาพของเรานั่นเอง

นอกจากนี้ ปัจจุบันมีการสกัดตังกุยในรูปแบบเจลในแคปซูลนิ่ม (Gel in soft capsule) ซึ่งข้อดีของแคปซูลประเภทนี้คือสารสำคัญจะถูกสกัดมาในรูปแบบที่เข้มข้น ร่างกายจะดูดซึมสารสกัดได้ง่าย ผู้ที่รับประทานจะได้รับสารสำคัญจากสมุนไพรอย่างเต็มที่ และยังเหมาะกับผู้ที่ไม่ชอบกลิ่นสมุนไพร และชอบความสะดวกสบาย พกพาง่าย เก็บรักษาง่าย อีกด้วย

หากใครสนใจสมุนไพรตังกุย และอยากศึกษาวิธีรับประทานให้มากขึ้นสามารถดูรายละเอียดและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลิก

บทความโดย นพ.ดำรงค์ เลาหะพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนเจอร์ไบโอเทค จำกัด
ผู้ได้รับรางวัล “ชีวจิต Awards 2020” ในสาขา CHEEWAJIT’SCHOICE ประเภท INFLUENCER ประจำปี 2020

อ้างอิง : Roy Upton Herbalist, American Herbal Pharmacopoeia and Therapeutic Compendium,ISBN: 1-929425-16-3, 2003.

cheewajit.com

medthai.com

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.