Osteoarthritis

รู้ทัน…ป้องกันอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงวัย

รู้ทัน…ป้องกันอาการเข่าเสื่อมในผู้สูงวัย

ข้อเข่าเสื่อม เป็นอาการทางกระดูกและข้ออันดับ 1 ของคนไทย มักเกิดในช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบันส่งผลให้เกิดอาการ “ข้อเข้าเสื่อม” ก่อนวัยอันควรมากขึ้นเรื่อยๆ ลักษณะของข้อเข่าเป็นอวัยวะส่วนที่ถูกใช้งานมากมาโดยตลอดในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด ลุก นั่ง อีกทั้ง ข้อเข่ายังต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวเราด้วย และยิ่งต้องรองรับน้ำหนักหรือแรงกดกระแทกมากเท่าไหร่ การเกิดภาวะสึกหรอก็มีมากขึ้นเท่านั้น

การเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า มักเกิดกับผู้ที่สูงอายุ เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าที่ช่วยในการพยุงหัวเข่าอ่อนแอลง ภาระการรับน้ำหนักจึงตกไปอยู่ที่ข้อเข่ามากขึ้น และยิ่งถ้ามีน้ำหนักตัวมาก ก็จะยิ่งทำให้กระดูกข้อต่อและกระดูกอ่อนของหัวเข่าเสื่อมสภาพลงเร็วขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดข้อเข่า ปวดขาเวลาเดินหรือยืนนานๆ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินไปจนถึงจุดที่เดินไม่ไหวและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง

 

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ลองสังเกตหัวเข่าของตัวเองหรือคนใกล้ตัวว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากมีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนลุกลาม

ปวดข้อเข่า

-ปวดข้อเข่า โดยรู้สึกเมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า

ข้อเข่าขัด

-ข้อเข่าขัด งอได้เพียงครึ่งเดียว

เคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่

-เดินหรือเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่

ข้อเข่าบวม

-ข้อเข่าบวม มีน้ำในข้อเข่า

มีเสียงดังในข้อ

-มีเสียงดังในข้อเวลาขยับข้อเข่า

เข่าคดผิดรูป

-เข่าคดผิดรูปหรือเข่าโก่ง

อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะแรก

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม ระยะแรกอาจไม่มีอาการบ่งบอกหรืออาการยังไม่รุนแรง หรืออาจมีอาการปวดเมื่อยเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวในการทำกิจกรรม เช่น การเดิน การวิ่ง การขึ้นบันได แต่อาการจะหายไปเอง แต่บางคนอาจจะมีอาการเสียวหัวเข่า ข้อฝืด เมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ

อาการโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อมระยะรุนแรง อาการปวดเข่าเจ็บเข่าจะรุนแรงมากขึ้น อาจมีอาการปวดในเวลากลางคืนเมื่อเกร็งกล้ามเนื้อ เมื่อมีการอักเสบจะมีข้อบวมร้อนและตรวจพบน้ำในช่องข้อ ลักษณะอาการข้อเสื่อมที่เป็นมานาน จะพบว่าเหยียด หรือ งอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่งหลวม หรือ บิดเบี้ยวผิดรูปทำให้มีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับเดิน ส่งผลให้การใช้ชีวิตประจำวันมีความ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ใช้ยา

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม จะต้องทำกายภาพบำบัด เช่น ใช้ความร้อนลึก และบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า นอกจากนั้นผู้ที่มีภาวะโรคข้อเข่าเสื่อม จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่ง การยืน การเดิน ลดการกดที่ข้อเข่า การใช้ประคบร้อน ควบคุมน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

พฤติกรรมแบบไหนที่ทำให้เข่าเสื่อมเร็ว?

การที่เรามีพฤติกรรมเดิมๆ ทำซ้ำๆ ล้วนยิ่งทำร้ายข้อเข่า เช่น นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ คลานเข่า คุกเข่า หรือเคยเกิดอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ การที่เรามีน้ำหนักตัวมากเกินไปก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข่าต้องทำหน้าที่รับแรงกดกระแทกจากอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือนั่ง จะเห็นได้ว่าแพทย์มักแนะนำเรื่องควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดีสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

รู้หรือไม่ว่าการกระโดด ก็เป็นหนึ่งพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่า

ในขณะที่ความจริงข้อเข่าสามารถรับแรงอัดกระแทกได้ถึง 7 เท่า แม้การกระโดดจะมีแรงอัดกระแทกประมาณ 3-5 เท่า แต่หากทำซ้ำบ่อยๆ กระดูกส่วนที่ทำหน้าที่รองรับก็จะสึกหรอเร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม อาการปวดเข่าอาจไม่ใช่แค่ปัญหาจากโรคข้อเข่าเสื่อมแต่เพียงอย่างเดียว หากมีอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากต้นเหตุ

ที่มา: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

รับมือหน้าหนาว โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

5 สมุนไพรบำรุงกระดูกตา-ยาย

10 วิธีป้องกันกระดูกหักในผู้สูงวัย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.