วัคซีนโควิด

ฉีด วัคซีนโควิด – 19 แล้วติดโรคได้ยังไง? และแอสตร้าเซนเนก้าฉีดแล้วจะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า? 

ฉีด วัคซีนโควิด – 19 แล้วติดโรคได้ยังไง? และ แอสตร้าเซนเนก้าฉีดแล้วจะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า?

กลายเป็นประเด็นที่ค้างคาใจทุกคนมาสักระยะแล้ว สำหรับ 2 คำถามยอดนิยมนี้ โดยเฉพาะในช่วงนี้มีข่าวออกมามากทั้งคนที่ ฉีดวัคซีนโควิด ไปแล้วยังป่วยได้  ทั้งปัญหาลิ่มเลือดในผู้ที่ฉีดวัคซีน

 

วันนี้มีคำตอบมาให้แล้วค่ะ โดยแพทย์หญิงสาริษฐา สมทรัพย์  ผู้เชี่ยวชาญด้านแอนไทเอจจิ้ง ด้านระบบประสาทและสมอง และด้านกุมารเวช

ประเด็นแรก ฉีดไปแล้วทำไมยังเป็นโรคโควิด-19 ได้

ในการฉีดวัคซีนนั้น เป็นการฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน โดยหากนับวันที่ฉีดวัคซีนโดสแรกเป็นวันที่ 0 และโดสที่สองในวันที่ 14 – 28 นั้น ร่างกายจะค่อยๆ เรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา และจะมีภูมิคุ้มกันสูงสุดเต็มประสิทธิภาพ ประมาณวันที่ 48 นับจากวันที่ฉีดวัคซีนโดสแรก

แต่หากได้รับเชื้อไวรัสโควิด ก่อนวันที่ 0 หรือในช่วงระยะเวลา ก่อนครบ 48 วัน นับจากวันที่ฉีดวัคซีนเข็มแรก ก็อาจจะมีโอกาสป่วยได้ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของร่างกายยังทำงานได้ไม่เต็มที่นั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเกิดภูมิคุ้มกันนี้ก็ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย

ลิ่มเลือดจากวัคซีน

ประเด็นที่ 2 แอสตร้าเซนเนก้าฉีดได้ไหม จะเป็นลิ่มเลือดหรือเปล่า?

แม้จะมีผลการยืนยันจากทางฝั่งยุโรปแล้วว่า แอสตร้าเซนเนก้ามีความสัมพันธ์กับการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ แต่อย่างไรก็ตามโดยปกติแล้ว การเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น พบได้ในคนยุโรปและแอฟริกา มากกว่าคนทางฝั่งเอเชียถึง 3 เท่า

ทั้งนี้แพทย์หญิงสาริษฐายังได้แนะนำเพิ่มเติมอีกว่า การเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้นบรรเทาได้ด้วยการดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอ และอีกหนึ่งปัจจัยในการเกิดลิ่มเลือดคืออากาศที่ร้อนจัด ดังนั้นไม่ว่าจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ในช่วงนี้ก็ควรดื่มน้ำกันให้มากๆ นะคะ  เพราะการดื่มน้ำจะไปช่วยลดความหนืดของเลือดนั่นเอง

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ก่อนและหลัง ฉีดวัคซีนโควิด – 19 ควรทำ ไม่ควรทำอะไร

ตามดูความคืบหน้า “ฟ้าทะลายโจร” กับผู้ป่วยโควิด

6 ข้อห้าม “อย่าทำ” ช่วงโควิด 19 ระบาด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.