ฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้ อีกหนึ่งวิธีช่วยผู้ป่วยทุเลาโรค

ฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้ ทำได้นะ

วันนี้เรามานำเสนอข้อมูลน่าสนใจ นั่นก็คือการ ฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้ ซึ่งอาจมีหลายคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับการรักษารูปแบบนี้ เรามาทำความรู้จักกันเลย ใครเป็นภูมิแพ้ต้องอ่าน หรือหากคนรอบข้างเป็นภูมิแพ้ ลองแนะนำให้อ่านดูค่ะ

รู้จักกับการฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้

การรักษาภูมิแพ้ด้วยการฉีดวัคซีน (Allergen Immunotherapy)  คือ การให้สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้เข้าไปสู่ร่างกาย เริ่มจากปริมาณน้อยและปรับเพิ่มปริมาณขึ้นจนถึงขนาดที่ใช้ในการรักษา โดยให้ซ้ำๆ อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ลดลงและร่างกายทนต่อสารก่อภูมิแพ้ได้ดีขึ้น ดังนั้นผู้ป่วยจะมีอาการหรือปฏิกิริยาภูมิแพ้ลดลงเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้น

วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่, เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด ฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีนรักษาภูมิแพ้

ใช้อย่างไร

ในระยะ 5 – 6 เดือนแรก จะฉีดสัปดาห์ละครั้ง โดยฉีดที่แขนสลับข้างกันและค่อยๆ เพิ่มปริมาณของวัคซีนทีละน้อยตามลำดับ หลังจากฉีดได้ขนาดสูงสุดเท่าที่ผู้ป่วยจะรับได้แล้ว โดยไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น จึงไม่เพิ่มขนาดของวัคซีน และค่อยๆ เพิ่มระยะห่างของการฉีดวัคซีนออกไปเป็นทุกๆ และ สัปดาห์ จนถึงฉีดเพียงเดือนละครั้ง เพื่อกระตุ้นให้ภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นคงระดับสูงอยู่ได้ตลอดเวลา  และควรฉีดเดือนละครั้งไปนาน 3 – 5 ปี จึงจะพิจารณาหยุดฉีดได้ ในรายที่ฉีดวัคซีนแล้วไม่ได้ผลดี โดยได้ฉีดต่อเนื่องกันมาเกินระยะ ปีแล้ว และได้ตรวจสอบแก้ไขสาเหตุต่างๆ จนแน่ใจแล้วว่าไม่มีข้อผิดพลาด แสดงว่าการรักษาโดยวิธีนี้ไม่ได้ผลสำหรับผู้ป่วยรายนั้น และควรจะหยุดฉีดได้

การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้เหมาะกับใคร

  1. ผู้ป่วยโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
    โรคเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Conjunctivitis)
    โรคหืดจากภูมิแพ้ (Allergic Asthma)
    โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic Dermatitis)
  2. ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการแพ้ได้ด้วยยา หรือได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยา
  3. ผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ได้

ข้อดีของการฉีดวัคซีน
1. เป็นการรักษาที่ตรงจุดคือ แก้ไขที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีความผิดปกติในผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้
2. เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการมาก หรือรักษาด้วยยา หรือ วิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลดี หรือผู้ที่ใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงของยามาก หรือผู้ป่วยแพ้สารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
3. ผู้ที่มีอาการของโรคหืดร่วมกับโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้  การฉีดวัคซีนจะช่วยให้อาการของโรคหืดทุเลาลงด้วย
4. สำหรับผู้ที่มารับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ อาการจะดีขึ้นประมาณร้อยละ 70 – 90 ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ และขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย

ข้อด้อยของการฉีดวัคซีน

1. อาจทำให้เกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายได้ เช่นเดียวกับการแพ้ยาฉีดชนิดอื่น หรือการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง อาจเกิดอาการของโรคภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยเป็นอยู่แล้วมากขึ้น เช่น คัน จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา คันคอ ไอ หรือหอบหืด ลมพิษ ปวดท้อง อาเจียน ท้องเดิน กล่องเสียงบวมเกิดการอุดตันของทางเดิน หายใจ และอาจถึงช็อคได้

2. อาจต้องใช้เวลา 3 – 6 เดือน กว่าจะเห็นผล และต้องฉีดต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

เตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีน

  1. งดออกกำลังกายก่อนฉีดอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้สารก่อภูมิแพ้ดูดซึมได้เร็วเกินไป
  2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด ควรใช้ยาคุมอาการให้ดีก่อน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนภูมิแพ้
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไตหรือโรคหัวใจ  ที่จำเป็นต้องใช้ยาที่เกี่ยวข้อง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง
  4. แจ้งแพทย์ให้ทราบ ในกรณีที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
  5. สามารถรับประทานยาที่ทานอยู่เป็นประจำตามแพทย์สั่งได้ เช่น ยาแก้หอบหืด หรือยาแก้แพ้ ไม่ควรหยุดใช้ยาเอง

หลังฉีดแล้ว

  1. หลังการรับวัคซีนผู้ป่วยควรนั่งพักอย่างน้อย 30 นาที เพื่อสังเกตอาการแพ้ เช่น ตัวแดง หายใจลำบาก เป็นต้น
  2. ห้ามออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก หลังการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
  3. หลังการฉีด 24 ชั่วโมง ให้สังเกตอาการบวมหรือผื่นแดงที่ฉีดพร้อมบันทึกไว้ และก่อนการฉีดวัคซีนทุกครั้งควรรายงานแพทย์ว่ามีอาการบวม แดงบริเวณที่ฉีดครั้งที่แล้วหรือไม่? ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการแพ้ได้
  4. ผู้ป่วยควรดูแลรักษาสุขภาพทั่วไปให้ดี โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานได้ดี ภายหลังได้รับการกระตุ้นจากวัคซีน ซึ่งจะทำให้อาการโรคภูมิแพ้ดีขึ้นได้มากและเร็ว ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับการฉีดวัคซีนรักษาโรคภูมิแพ้แล้ว ผู้ป่วยควรพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้และดูแลสุขภาพตามคำแนะนำของแพทย์ เพราะการฉีดวัคซีนอาจไม่ได้ทำให้ภูมิแพ้หายขาดได้อย่างสิ้นเชิง

(ที่มา : โรงพยาบาลเจ้าพระยา , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แจก!!! วิธีทำน้ำอาร์ซี สูตรชีวจิตแท้ๆ ดื่มต้านภูมิแพ้ แทนกาแฟก็ได้

ชีวจิตแนะนำ อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ ช่วยให้อาการดีขึ้น

วัคซีนภูมึแพ้ ทางเลือกของผู้ป่วยภูมิแพ้ทางเดินหายใจ

กินอยู่ครบสูตร ด้วยผักผลไม้ ต้านโรคเอสแอลอี โรคภูมิแพ้

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.