ไขมันในเลือด

ไขมันในเลือดสูง ตัวการสู่สารพัดโรค

ไขมันในเลือดสูง ตัวการสู่สารพัดโรค

เมื่อพูดถึงเรื่อง ไขมันในเลือดสูง ที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมองได้นะคะ วันนี้เรามีข้อมูลสุขภาพเกียวกับเรื่องของ คอเลสเตอรอล หรือระดับไขมันในเลือดสูงว่าส่งผลต่อระบบหัวใจอย่างไรบ้างมาฝากค่ะ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นไขมันในเลือดสูง

มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ  กินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สูบบุหรี่ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นคอเลสเตอรอลสูง มีโรคเบาหวาน โรคไต

คอเลสเตอรอลสูง

ภาวะแทรกซ้อนของไขมันในเลือดสูง

หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาคอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่สะสมในหลอดเลือดแดงและ เมื่อเวลาผ่านไปอาจจะทำให้หลอดเลือดแดงแคบลง ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อหลอดเลือดแข็ง

หลอดเลือดแข็งเป็นภาวะที่ร้ายแรง มันสามารถ จำกัด การไหลเวียนของเลือดผ่านหลอดเลือดแดงของคุณ นอกจากนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดที่เป็นอันตราย

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ส่วนมากมักจะเกิดกับผู้ที่มีช่วงอายุวัยกลางคนขึ้นไป และเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจคือคอเลสเตอรอล ที่ส่วนมากจะเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การกินอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง ไม่ค่อยออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่จัด

โรคอ้วน

สาเหตุ ภาวะไขมันในเลือดสูง

  • กรรมพันธุ์
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง โดยเฉพาะไขมันจากสัตว์
  • โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ และโรคของต่อมหมวกไตบางชนิด
  • โรคตับ โรคไตบางชนิด
  • ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ (ยาคุมกำเนิด) เป็นต้น
  • การตั้งครรภ์
  • การดื่มแอลกอฮอล์
  • ภาวะขาดการออกกำลังกาย

ผลข้างเคียงของไขมันในเลือดสูง
ภาวะที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูง ถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์ อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันในเลือดสูงไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว ซึ่งเรียกว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis)

ผู้ที่ควรตรวจระดับไขมันในเลือด
ควรตรวจเมื่ออายุเกิน 35 ปีขึ้นไป ถ้าปกติ และไม่ได้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และอายุยังไม่เกิน 45 ปี (ผู้ชาย) หรือ 55 ปี (สำหรับผู้หญิง) ไม่มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจในครอบครัวตั้งแต่อายุน้อย (ผู้ชายไม่เกิน 55 ปี และผู้หญิงไม่เกิน 65 ปี) และยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ควรตรวจซ้ำในอีก 5 ปีข้างหน้า หากมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้วและตรวจพบไขมันในเลือดปกติก็ตรวจซ้ำในอีก 1-3 ปี

ข้อควรปฏิบัติ เมื่อไขมันในเลือดสูง

  1. ควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ สมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล หอยนางรม ปลาหมึก กุ้ง หนังเป็ด หนังไก่ มะพร้าว อาหารที่มีกะทิ หากมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงด้วย ควรระวังอาหารพวกแป้ง น้ำตาล เครื่องดื่มที่มีรสหวาน ผลไม้รสหวานจัด
  2. รับประทานอาหารประเภทเนื้อปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน นมพร่องมันเนย
  3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์ เพราะมีฤทธิ์สะสมไขมันตามเนื้อเยื่อ

ดังนั้น มาปรับไลฟ์สไตล์กันตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพที่ดี และยังยื่นกันเถอะ เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการดูแลตนเองเมื่อมีไขมันในเลือดสูง คือการควบคุมอาหาร ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย และการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อดูระดับไขมันในเลือด เป็นการป้องกันการเกิดโรคร้ายแรง ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิต

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ชวนเลือกกินอาหาร ให้ไม่ลงเอยด้วย โรคไขมันในเลือดสูง

หุ่นผอมหรืออ้วนก็หนีไม่พ้น ไขมันในเลือดสูง ช่วยได้ด้วยข้าวยีสต์แดง

4 สมุนไพรจีนรักษา ไขมันในเลือดสูง

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.