การนอน

การนอน ไม่มีคุณภาพ อาการนอนไม่หลับ เสี่ยงสารพัดโรค ควรระวังนะ

การนอน เป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิต เพราะทำให้สมองและร่างกายได้พักผ่อน ซ่อมแซมเซลล์ส่วนที่สึกหรอ รู้ทั้งรู้ประโยชน์ของการนอน แต่คนยุค 2019 ก็ยังไม่สามารถข่มตานอนได้ ทั้งเกิดจากพฤติกรรมส่วนตัวและปัญหาสุขภาพ

การนอน ที่ดีควรเป็นอย่างไร และถ้านอนไม่ดีจะเป็นอย่างไรไปพบคำตอบกันค่ะ

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต อธิบายประโยชน์ของการนอนและผลเสียของการนอนไม่มีคุณภาพไว้ สรุปว่า

“การที่ถูกต้องคือ การนอนหลับสนิท ตื่นขึ้นมามีแรง สดชื่น สมองแจ่มใส และนอนอย่างนี้นอนเพียง 5 – 6 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุด 8 ชั่วโมงก็เหลือเฟือแล้ว ที่จำเป็นต้องนอนให้หลับสนิทนี้ก็เพื่อให้สมองมีโอกาสพักผ่อน และสามารถระบายท็อกซินออกจากสมองได้

“และสิ่งที่สำคัญยิ่งก็คือ เมื่อร่างกายพักผ่อนเต็มที่ การได้หลับสนิทและหลับลึกแล้ว เราก็ได้ยาวิเศษเป็นของแถม ซึ่งหลั่งออกมาจากต่อมพิทูอิทารีในสมอง ยาวิเศษที่ว่านั้นก็คือ ‘Growth Hormone’

“โกร๊ธฮอร์โมนตัวนี้ โดยธรรมชาติจะหลั่งออกมาตลอดเวลาตั้งแต่วันที่คุณคลอดออกมาจากครรภ์มารดา ฮอร์โมนสำคัญตัวนี้จะช่วยให้คุณเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว เมื่อเจริญวัยเต็มที่แล้ว (ประมาณ 18 – 20 ปี) โกร๊ธฮอร์โมนจะเริ่มหลั่งออกมาน้อยลง ในตอนนั้นร่างกายของคุณจะเจริญเต็มที่ ไม่สูงใหญ่โตไปมากกว่านั้น

“บางคนถ้าการปฏิบัติตัวเขาผิดปกติระหว่างที่กำลังเจริญวัย เช่น กินผิด นอนผิด ไม่เคยออกกำลังกายเลย และมีความเครียดอยู่ตลอดเวลา ระหว่างนั้นโกร๊ธฮอร์โมนก็จะไม่หลั่งออกมาเลย

“คนเหล่านี้ก็จะดูแก่เกินวัย แก่เร็ว ป่วยง่าย ร่างกายไม่แข็งแรง อายุเพียง 30 – 40 ปี แต่ก็จะดูแก่เหมือนคนอายุ 40 – 60 ปี นั่นเป็นเพราะว่าเขาปฏิบัติตัวผิด ๆ (รวมถึงเรื่องนอนด้วย) โกร๊ธฮอร์โมนจึงไม่สมดุล ไม่หลั่งออกมาเลย เพราะตามปกติแล้วถึงแม้ว่าอายุประมาณ 40 – 50 ปี ฮอร์โมนก็จะมีหลั่งออกมาบ้าง

“ถ้าเรามองย้อนกลับตามวงจรของการนอนก็จะได้สูตรง่าย ๆ ว่า การนอนผิด (ไม่หลับลึก ไม่หลับสนิท) โกร๊ธฮอร์โมนไม่หลั่ง แก่เร็ว ป่วยง่าย อายุสั้น”

ยิ่งในยุค 2019 ไลฟ์สไตล์คนส่วนใหญ่มักนอนดึก นอนไม่เป็นเวลา ซึ่งมีผลต่อนาฬิกาชีวิตในร่างกาย โดยร่างกายจะจดจำได้โดยอัตโนมัติว่า เวลาใดคือเวลาตื่น เวลาใดคือเวลานอนร่างกายสามารถแยกแยะจากความมืดและความสว่างได้

“ดังนั้นผู้ที่นอนดึก นอนไม่เป็นเวลา ทำให้นาฬิกาชีวิตแตกต่างไปจากปกติ จึงมีแนวโน้มเป็นพวกเสพติดการนอนดึกส่วนใหญ่พบมากในกลุ่มวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดบอร์ดเกมออนไลน์ ติดการดูซีรี่ส์ ส่วนวัยทำงานมักติดการทำงานต่อเนื่องไม่ปล่อยวางและไม่แบ่งเวลา หรือการติดโซเชียลมากเกินไป

“หากมีปัญหาการนอนผิดปกติเป็นเวลายาวนาน เข้าข่ายภาวะโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง หรือที่เรียกว่า ‘อินซอมเนีย’ (Insomnia) มีอาการนอนไม่หลับทั้ง ๆ ที่ร่างกายง่วงและเหนื่อยล้ามาก รู้สึกอ่อนเพลีย แต่ไม่สามารถนอนหลับได้ทั้ง ๆ ที่ถึงเวลานอนซึ่งถือเป็นอาการขั้นรุนแรงและเป็นเรื่องที่ทรมานมาก

“รวมถึงการนอนไม่มีคุณภาพยังทำให้ภูมิชีวิตตก นำมาซึ่งการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภูมิแพ้ ไซนัสกำเริบภาวะกรดไหลย้อน ลำไส้แปรปรวน ฯลฯ”

นอนไม่หลับ

นอนไม่หลับ

อาจารย์สาทิสแนะนำว่า เรื่องการนอนไม่หลับเป็นเวลานาน ๆ อาจจะต้องรีบแก้ไขและหาสาเหตุให้ได้เสียก่อนเช่น 1. เจ็บป่วย 2. เครียด 3. ชีวิต ประจำวันไม่สมดุล

ถ้าเจ็บป่วยต้องหาวิธีแก้ที่สาเหตุโรค เรื่องเครียดก็ต้องหาวิธีผ่อนคลายซึ่งความเครียดจะทำให้ร่างกายมีอาการเกร็งเขม็งตึงเครียดไปทั้งตัว ส่วนชีวิตประจำวันไม่สมดุลก็ต้องมาปรับให้เกิดความสมดุล

มาที่การแก้อาการนอนไม่หลับในเบื้องต้น มีวิธีคือ

CHEEWAJIT REMEDIES ฝึก Relaxation คลายเครียด คลายเกร็ง

วิธีแก้ต้องแก้การเกร็งของร่างกายเสียก่อน ถ้าเครียดนาน ๆ ลองสังเกตดูส่วนต่าง ๆ ของร่างกายดู จะเห็นมันตึงปวดอยู่ตลอดเวลา จับต้นคอ คอก็ปวด หลัง ไหล่ บั้นเอวก็ตึงปวดไปหมด

วิธีแก้การเกร็ง คือ แนะนำให้ฝึก Relaxation และ ฝึกการนอนสมาธิ นับ หนึ่ง สอง สาม ไปเรื่อย ๆ หรือจะใช้วิธีภาวนาอย่างที่เคยเรียนสมาธิมาก็ได้ ภาวนาจนเกิดสมาธิ แล้วสั่งตัวเองให้หลับและตื่นอย่างมีสติ

ดื่มน้ำเอนไซม์ + กินอาหารชีวจิต
ถ้าท้องผูกเป็นประจำจะมีผลต่อสุขภาพโดยรวมและการนอน แนะนำให้กินผักที่มีกากใยมาก ๆ เช่น ผักบุ้ง คะน้า บรอกโคลี และดื่มน้ำเอนไซม์ เช่น น้ำแครอตและเซเลอรี่ทุกวัน ส่วนมื้อเย็น กินอาหารให้น้อย ๆ อย่ากินจนอิ่ม จะทำให้ท้องอืด หลับยาก

เรื่อง ฤทัยรัตน์ วิทยวิโรจน์ ภาพ iStock

นิตยาสารชีวจิต เล่มที 505 ปีที่ 22 : 16 ตุลาคม 2562


100 สูตรชีวจิต สู้โรคพฤติกรรมทำป่วย + มลพิษขั้นสุด

นิตยาสารชีวจิต เล่มที 505 ปีที่ 22 : 16 ตุลาคม 2562

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ผักผลไม้เพิ่มภูมิคุ้มกันต้าน COVID-19
เคล็ดลับกินแก้เบลอ ปลุกสมองให้สดชื่น (EAT TO REFRESH)
วิธีการรักษาอาการ “อ้วนอักเสบ” สาเหตุฮอร์โมนขาดสมดุล
เปิดตำรา กิน “กล้วยน้ำว้า” สู้โรคระบบย่อย
ชีวจิตพิชิตอ้วน (ลดความอ้วน) อย่างมีความสุขและเบิกบานใจ
แจก!!! วิธีทำน้ำอาร์ซี สูตรชีวจิตแท้ๆ ดื่มต้านภูมิแพ้ แทนกาแฟก็ได้
วิธีบอกลา ความเครียด ด้วยการกิน ทำได้ผ่อนคลายไปทั้งวัน
ชีวจิตแนะนำ อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ ช่วยให้อาการดีขึ้น
วิธีกินช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด ลดเสี่ยงเกิด โรคเรื้อรัง
4 วิธีป้องกันท้องอืดจากพืชผัก
ชวนรู้จัก 3 เมล็ดธัญพืช ต้านโรค ช่วยอายุยืน
อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน หน้าหนาว 6 สารอาหาร กินแล้วดีต่อสุขภาพ ห้ามพลาด!
อร่อยปาก ลำบากกาย ภัยเงียบของคนรัก อาหารรสจัด เสี่ยงหลายโรค
วิธีการรักษาอาการ “อ้วนอักเสบ” สาเหตุฮอร์โมนขาดสมดุล
เปิดตำรา กิน “กล้วยน้ำว้า” สู้โรคระบบย่อย
ชีวจิตพิชิตอ้วน (ลดความอ้วน) อย่างมีความสุขและเบิกบานใจ
วิธีบอกลา ความเครียด ด้วยการกิน ทำได้ผ่อนคลายไปทั้งวัน
5 ข้อต้องรู้ก่อน กินงาดำ กินยังไงให้ปลอดภัย ได้ประโยชน์สูงสุด
ชีวจิตช่วยคนนอนน้อย แก้อาการโรคภูมิแพ้ แก้ไซนัสอักเสบ ด้วยเคล็ดลับง่ายๆ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.