เทคนิคดูแลไต ขับพิษไต ที่ใครๆ ก็ทำได้เอง ป้องกันโรคถามหา

เทคนิคดูแลสุขภาพ ขับพิษไต ที่ทำเองได้

ไต เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่ทำงานหนักแทบจะตลอดเวลา และช่วยให้กลไกของร่างกายกำเนินไปอย่างเป็นปกติ วันนี้เรามาแนะนำเทคนิคดูแลสุขภาพ ขับพิษไต ด้วยตนเอง ช่วยป้องกันโรคได้ มาดูกันเลยค่ะ

ว่าด้วยไต

ไต คือ อวัยวะสำคัญที่ช่วยขับพิษออกทางปัสสาวะ หากกินอาหารไม่ดีจะเร่งให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นจนไม่สามารถกรองของเสียได้ตามปกติ ทำให้สารอาหารบางชนิด เช่น โพแทสเซียม (Potassium) เกิดการคั่งค้างภายในร่างกาย ส่งผลให้หัวใจเต้น ผิดปกติและหยุดเต้นได้ หลังอายุ 30 ปี ไตจะเสื่อมลงเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ ฉะนั้นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานและเค็ม อาหารแปรรูป อาหารกระป๋องที่มีส่วนประกอบของเกลือและน้ำตาลปริมาณสูง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่นำไปสู่โรคไตเรื้อรัง ควรกินอาหารสดใหม่จากธรรมชาติ

วิธีการดูแลไต

ควรดื่มน้ำวันละ 6 – 8 แก้ว เพื่อช่วยเจือจางสารพิษและลดความเข้มข้นของปัสสาวะ หากดื่มน้ำน้อยเกินไปจนปัสสาวะมีความเข้มข้นสูง สารละลายในปัสสาวะอาจรวมตัวและตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้

วิธีเตือนตัวเองให้ดื่มน้ำเพียงพอ

พกกระติกน้ำต้มสุกหรือน้ำอาร์ซีไปดื่มที่ทำงานด้วย โดยตั้งเป้าหมายว่า จะดื่มน้ำให้หมดกระติกทุกวัน ร่วมกับกินอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น แกงจืด แกงเลียง หรือผลไม้ที่มีน้ำมาก เช่น แตงโมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้แก่ร่างกาย

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย

เมื่อดื่มน้ำอย่างเพียงพอแล้ว ควรเข้าห้องน้ำทุกครั้งเมื่อปวดปัสสาวะ เพราะการกลั้นปัสสาวะบ่อยๆ อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโต เพิ่มพิษในกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและเพิ่มความเสี่ยงการเป็นโรคไตเรื้อรังตามมา

อาหารโรคไต, ผู้ป่วยโรคไตที่เป็นเบาหวาน, โรคไต, โรคเบาหวาน, ชะลอความเสื่อมของไต ขับพิษไต

เป็นโรคไต ดื่มน้ำอย่างไร

1.ผู้ป่วยโรคไต ชนิดน้อยถึงปานกลาง 
            คือความดันโลหิตไม่สูงมาก ไม่มีอาการบวมแขนและขา ปัสสาวะออกเกิน 1 ลิตรต่อวัน สามารถดื่มน้ำได้ตามปกติ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ วันละ 1 ลิตรครึ่ง ถึง 2 ลิตร หรือตามคำแนะนำของแพทย์ที่ดูแลรักษาประจำ เพื่อการขับถ่ายของเสียจะเป็นไปได้ตามปกติ

2.ผู้ป่วยโรคไตระยะท้าย(กำลังได้รับการรักษาโดยวิธีฟอกเลือด /ผ่านการทำไตเทียมมาแล้ว)
ควรดื่มน้ำเมื่อกระหายในปริมาณพอดี ๆ ในแต่ละครั้ง แต่ไม่ควรเกินครึ่งลิตร/วัน เพราะร่างกายไม่ค่อยมีเหงื่อออกและปัสสาวะน้อยอยู่แล้ว จึงควรระมัดระวังให้น้ำหนักคงที่ ไม่มากเกินไปจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำท่วมปอด เป็นต้น

3.ผู้ป่วยโรคไตที่มีความดันสูง
       ไม่ควรเดินหรือยืนตากแดดนานไป เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับความดันโลหิตอาจสูงมากไป หรือต่ำเกินไป จนเป็นลมหรือเกิดอุบัติเหตุได้

(อ้างอิง : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล )


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมกิน “น้ำตาล” มากๆ ก็ทำให้เป็นโรคไตได้ คำอธิบายของ เบาหวานลงไต

กิน อาหารตามสั่ง อย่างไร ไม่เสี่ยงโรคไต โรคความดัน โรคเบาหวาน

วิธีทำนายโรคไต ป่วยหรือไม่ใน 10 ปี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.