ถ่ายเป็นน้ำ

อาการท้องเสีย ท้องร่วง อย่าปล่อยให้เป็นบ่อย อันตราย!

อาการท้องเสีย ท้องร่วง อย่าปล่อยให้เป็นบ่อย อันตราย!

“อาการท้องเสีย” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก อาจพูดได้ว่าไม่มีใครที่ไม่เคยท้องเสีย คำว่า “ท้องเสีย”  เป็นคำที่พูดหมายถึงการที่คนเราถ่ายเหลวผิดปกติ แต่ในทางการแพทย์จะใช้คำว่า “อุจจาระร่วง” มากกว่า ซึ่งความหมายต่างกับท้องเสีย เล็กน้อย คืออุจจาระร่ว  หมายถึงการที่คนเราถ่ายอุจจาระเหลวผิดจากปกติ ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน หรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำหรือเป็นมูกเลือดแม้เพียง ครั้งเดียว ขณะที่อาการท้องเสียเล็กน้อยไม่ถึงขั้นอุจจาระร่วงมักหายเองได้ โดยไม่ต้องรับการดูแลใดๆ

หากพูดกันจริงๆ ตามคามเข้าใจขงคนทั่วไป อาการท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ถือเป็นอาการที่ใกล้เคียงกันแต่อาจเรียกได้หลายชื่อ เป็นการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุหลักๆ จากการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด หรือรับประทานอาหาร เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารหมักดองที่อาจปนเปื้อน เชื้อโรคที่ทำให้ท้องเสีย อุจจาระร่วง หรือพูดง่ายๆ คือร่างกายเกิดความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระ ตามปกติ ซึ่งแต่ละคนจะมีจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระในแต่ละวันไม่เท่ากัน บางคนอาจจะถ่ายวันละ 2 – 3 ครั้ง ในขณะที่บางคน 2 – 3 วันจึงจะถ่ายสักครั้ง ท้องเสียจะมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำที่บ่อยขึ้น อาจจะมากกว่า 3 ครั้งใน 1 วัน

โดยอาการนำของการเกิดท้องเสียก็คือ ลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวหรือบีบตัวอย่างมาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ถ่ายง่าย และอ่อนเพลียเมื่อมีการถ่ายบ่อยครั้งขึ้น

อุจจาระร่วง

อ่านมาถึงตรงนี้อาจเกิดคำถามว่าแล้วถ่ายอุจจาระเหลวกี่ครั้ง จึงควรไปหาหมอ หรือควรไปโรงพยาบาล ในกรณีนี้อาจจะต้องดูว่าอาหารถ่ายเหลวที่บอกนั้นมีอาการปวดท้องด้วย คาดว่าอาหารเป็นพิษ บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หากสิ่งที่ถ่ายออกมาเป็นพิษหรือเรียกแบบบ้านๆ ว่าผิดสำแดง ออกจนหมดใน 1-2 ครั้ง อาการถ่ายเหลวจะหยุด อาการเช่นนี้มักไม่เกี่ยวกับเชื้อโรค ที่ก่อให้เกิดอาการอุจจาระร่วง เช่น อหิวาตกโรค ไทฟอยด์ เป็นต้น

แต่ถ้าอาการถ่ายเหลว อาจถ่ายเป็นน้ำไหลโจ๊กถึง 3 ครั้ง โดยอาจติดเชื้อโรค ขอให้รีบไปโรงพยาบาลด่วนๆ เลยค่ะ เพราะถ่ายเป็นน้ำออกจากร่างกายมาก ร่างกายจะเสียน้ำและเกลือแร่ ต้องรีบไปหาหมอเพื่อรับน้ำเกลือแร่เพิ่ม พร้อมทั้งรับประทานยาฆ่าเชื้อในลำไส้ด้วย ซึ่งแพทย์จะทราบว่าคุณเป็นโรคอะไร ติดเชื้ออะไร จากการนำอุจจาระไปตรวจหาเชื้อและจากการตรวจอาการค่ะ

ข้อควรระวังจากอาการท้องเดิน อุจจาระร่วง

อาการอุจจาระร่วงมักเกิดจากอาหารการกิน ต้องเลือกรับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ ไม่มีกลิ่นบูด หรือเป็นอาหารที่ค้างคืน หรือมีเชื้อโรคปนเปื้อน ทำให้ท้องเดินไม่หยุด ที่สำคัญต้องสะอาด โดยเฉพาะถ้าเป็นผักดิบ ผักสด อาหารดิบๆ สุกๆ มักก่อให้เกิดอาการท้องเดิน อุจจาระร่วง ผักสด ผลไม้ ควรล้างน้ำก๊อกเพื่อไล่หรือชะล้างให้เชื้อโรค สารเคมีตกค้าง และสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ในผักสด ผลไม้ ให้หลุดออกไปโดยความแรงของน้ำจากนั้นควรแช่ในน้ำสะอาด อีกประมาณครึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ก่อนที่จะนำมารับประทานดิบๆ

อาการท้องเดิน

ความสะอาดของมือผู้ปรุงอาหาร เสื้อผ้า ร่างกายของคนทำครัว รวมถึงภาชนะใส่อาหาร เป็นปัจจัยที่ต้องรักษาความสะอาด ผึ่งแดด หรือลวกด้วยน้ำเดือดๆ ให้แห้งก่อนเก็บเข้าตู้เพื่อใช้ต่อไป อยากบอกทุกคนว่าคนที่เป็นคนปรุงอาหารในครัว หรือการขนย้ายอาหารทุกอย่าง ควรมีการตรวจร่างกายบ่อยๆ ตรวจเชื้อในจมูก ลำคอ อุจจาระเป็นประจำทุกคน อย่างน้อยทุก 6 เดือน ไม่ควนนานๆ แบบปีละครั้ง เพราะทุกคนเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่คนอื่นได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น โรคตับอักเสบ โรคไทฟอยส์ เป็นต้น โดยอาจจะไม่แสดงอาการ แต่สามารถติดต่อไปในอาหารการกิน เครื่องดื่มที่ปรุงจากคนที่เป็นไปสู่ผู้ที่รับประทานได้ค่ะ

อีกสิ่งที่ต้องระวังให้ดีคือพวกสัตว์ แมลงในบ้าน เช่น หนู แมลงสาบ จิ้งจก มด แมลงวัน ต้องกำจัดให้หมดไป โดยเฉพาะในครัวและห้องอาหาร อาหารทุกจาน ที่อยู่ในภาชนะควรมีฝาปิด ถ้าเป็นจานชามควรมีฝาชีครอบ เพื่อป้องกันสัตว์และแมลงเหล่านั้นมาทำให้อาหารสกปรก มีเชื้อโรค ที่จะนำโรคมาสู่คนได้อย่างที่เรารู้ๆ กันดี

ท่องเอาไว้เลยว่าอาการที่เรียกว่า ท้องร่วง ท้องเดิน นั้นหมายถึงต้องถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ หรือถ่ายเหลวมากจำนวน 3 ครั้งขึ้นไปต่อวัน หรือถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก 1 ครั้งขึ้นไปในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งถ้ามีอาการเช่นนี้ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ เพื่อจะได้ประเมินอาการและวางแผนทำการรักษาได้ทัน อย่าปล่อยเอาไว้ เรื่องแบบนี้ช้าไม่ได้ค่ะ

หาหมอ

คนที่อุจจาระร่วงเป็นน้ำ เมื่อไหร่จึงควรไปหาหมอ

โรคอุจจาระร่วงเป็นน้ำ ส่วนใหญ่เป็นโรคที่หายได้เอง ไม่ต้องใช้ยารักษาเฉพาะ โรคยกเว้นอหิวาตกโรคที่ต้องใช้ยาเพื่อฆ่าเชื้อ การรักษาที่สำคัญคือการให้น้ำและ เกลือแร่ทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียทางอุจจาระและจากการอาเจียน ในคนไข้ที่มี อาการไม่มาก อาจให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ หรือที่เรามักรู้จักกันในชื่อ “โอ-อาร์-เอส (ORS) ” จิบแทนน้ำบ่อยๆ แต่ที่ต้องทำความเข้าใจคือ โอ-อาร์-เอส จะทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่เสียไปเท่านั้น ไม่ได้ทำให้หยุดถ่ายทันที และที่สำคัญอีก ประการหนึ่งคือ โอ-อาร์-เอส ที่เป็นผง ต้องผสมน้ำกับปริมาณที่ถูกต้องตามที่ระบุ ในสลากยา หากผสมเข้มข้น หรือเจือจางเกินไป อาจทำให้ไม่ค่อยได้ผล หรือเกิด ภาวะแทรกซ้อนได้

หากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรกินยาที่ทำให้หยุดถ่ายทันที เนื่องจากอาจก่อให้เกิด ผลเสียมากกว่าผลดี เช่น ท้องอืด ถ่ายอุจจาระนานขึ้น ในเด็กเล็กอาจทำให้เด็กหยุด หายใจได้

คนที่ควรหาหมอ คือคนไข้ที่อาเจียนหรือถ่ายอุจจาระบ่อยมาก หรือขาดน้ำรุนแรง หรือเป็นนานเกิน 1 วัน แล้วยังไม่ดีขึ้น คนที่มีอาการมาก หมออาจรับเข้ารักษาใน โรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดดำ เราควรรู้ว่าอาการอะไรที่บอกว่าคนไข้ ขาดน้ำรุนแรง ในผู้ใหญ่ จะมีอาการอ่อนเพลียมาก หน้ามืด ใจสั่น ตาโหล เป็นตะคริว ปัสสาวะออกน้อยและสีเข้ม ส่วนในเด็กเล็กเนื่องจากเด็กจะไม่รู้อาการหน้ามืด ใจสั่น เป็นอย่างไร ดังนั้น ผู้ปกครองต้องคอยสังเกตสีและปริมาณปัสสาวะ และดูอาการตาโหล ริมฝีปากแห้ง กระหม่อมบุ๋ม ซึมหรือกระสับกระส่าย ไม่เล่นตามปกติ หากมีอาการ ดังกล่าวควรรีบหาหมอทันที

ข้อมูลประกอบบทความจาก: คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อาหารเป็นเหตุ สังเกตได้ กินอย่างไรไม่ให้พลาดท้องเสีย

ท้องเสียบ่อย ทำไงดี รวมวิธีแก้อาการท้องเสียสำหรับคนธาตุอ่อน

แก้ท้องเสีย ด้วยการนวดกดจุดและอาหารบ้านๆ รับหน้าร้อน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.