ไหรมยา

ไหรมยา อโรมาเทอราปีล้านนา รักษาโรคปอดอุดกั้นจากควันเผาป่า

ไหรมยา นวัตกรรมการรักษาพื้นบ้านล้านนา อุปกรณ์การแพทย์ชิ้นนี้คืออะไร ใช้งานอย่างไร
และมีประสิทธิภาพแค่ไหน พท.สหัทยา อินทะวัง หรือหมอนาย แพทย์แผนไทยเจ้าของนวัตกรรมไหรมยา

อธิบายว่า “ไหรมยา” หรือถ้าเป็นสำเนียงทางภาคเหนือ จะออกเสียงว่า “ไหโฮมยา” ดัดแปลงมาจากไหนึ่งข้าวเหนียว ซึ่งใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของคนล้านนา แต่ถูกนำมาประยุกต์ให้มีขนาดและรูปทรงพอเหมาะ เพื่อสะดวกในการใช้รักษาคนป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

ปัจจุบัน ไหรมยาเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์พื้นบ้านล้านนาที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ของโรงพยาบาล ซึ่งมีผู้ป่วยโรคนี้มากถึง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

“โรงพยาบาลต้องสูญเสียกำลังคนและเงินจำนวนมาก ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ แม้ว่าจะปรับยาให้เหมาะสมกับระดับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยส่วนหนึ่งก็ยังมีอาการกำเริบอยู่เป็นระยะ การใช้แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกคู่ขนานกับแพทย์แผนจีน ทั้งการนวดประคบสมุนไพร และการรมไอน้ำสมุนไพร หรือการโฮมยาสมุนไพร จึงทำให้ผู้ป่วยลมหายใจที่มีความสุข”

เส้นทางสายสุขภาพ

รถโดยสารประจำทางวิ่งออกจากสถานีในตัวเมืองมุ่งหน้าสู่อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอซึ่งเป็นเขตติดต่อระหว่างจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่อย่างไม่เร่งรีบ ระหว่างทางจึงได้มีวลาคิดทบทวนว่า การใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ทำให้ผู้คนทุกวันนี้ห่างเหินจากธรรมชาติ เมื่อมีโอกาสเดินทางออกต่างจังหวัด ได้สัมผัส ได้สูดอากาศบริสุทธิ์อย่างเต็มปอด พร้อมสบตากับท้องนาสีเขียว มีกำแพงภูผาสวยสง่าทอดเป็นแนวยาว จึงเป็นพลังจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายอันอ่อนล้า จิตใจแสนห่อเหี่ยว กลับกระปรี้กระเปร่าไปตลอดเส้นทางสายนี้

แต่ก็เป็นอย่างที่ได้รับรู้ข่าวสารผ่านสื่อว่า ทันทีที่ฤดูร้อนมาถึง ไฟป่าและหมอกควันพิษจากธรรมชาติและน้ำมือมนุษย์ได้เปลี่ยนอากาศบริสุทธิ์ให้เป็นอากาศพิษ กระทบต่อชีวิต สุขภาพ เศรษฐกิจ และวิถีความเป็นอยู่ของผู้คนแห่งนี้มาหลายปื อำเภอเวียงป่าเป้าเป็นพื้นที่ราบสลับเทือกเขาตลอดทั้งแนว และมีอากาศหนาวเย็น ตลอดทั้ง ประชากรส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ทำนา และปลูกข้าวโพด มักจะมีการเผาป่า หรือเผาเพื่อปรับพื้นที่ก่อนทำการเกษตรเป็นประจำ จึงทำให้มีกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจส่วนต้น เข้ามารับการรักษาในโรงพยบาลด้วยระบบบริการผู้ป้วยใน (IPD) เป็นอันดับ 1 และอยู่ในอันดับ 8 ของระบบบริการผู้ป่วยนอก (OPD) เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี

ทางโรงพยาบาลและกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ตระหนักถึงปัญหาสุขภาพในชุมชน จึงนำเอาภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรในท้องถิ่น ที่หาได้ง่ายมาปรับใช้บูรณาการเข้ากับการดูแลสุขภาพคนในชุมชน โดยการนำสมุนไพรกลุ่มที่มีรสร้อนและกลุ่มที่มีน้ำมันหอมระเหยมาทำเป็นยาสูตรรมไอน้ำสมุนไพร เพื่อช่วยแก้อาการหืดหอบ ปอดพิการ ขับเสมหะ ลดอาการคัดจมูก หายใจขัดหรือหายใจไม่โล่ง ด้วยวิธีการที่เรียกว่า “การโฮมยาสมุนไพร” และแนะนำให้ผู้ป่วยนำสมุนไพรที่หาได้ง่ายในชุมชนนำกลับไปทำเอง เพื่อดูแลตัวเอง และป้องกันบื้องต้น ช่วยลดการใช้ยาแผนปัจจุบันและความแออัดในโรงพยาบาล

สวนยาของหมอนาย

หมอนายเป็นแพทย์แผนไทยประจำอยู่ที่โรงพยาบาลเวียงป่าเป้ามาหลายสิบ จึงรับรู้และเข้าใจปัญหาสุขภาพของชุมชนเป็นอย่างดี เธอพาเดินสำรวจสวนสมุนไพรที่เป็นแหล่งเรียนเภสัชวัตถุ โดยเฉพาะพีชวัตถุที่นำมาทำเป็นยารักษาโรคของอาจารย์และนักศึกษาจากสถาบันทางการแพทย์ พร้อมเป็นแหล่งวัตถุดิบยาสมุนไพรให้ชุมชนหลายตำรับ เมื่อ
เดินเข้าไปในสวนยาของหมอนายจึงพบพืชเภสัชกว่าร้อยชนิด ปลูกอย่างผสมผสาน ทั้งสมุนไพรพื้นบ้านและสมุนไพรหายากใกล้สูญพันธุ์หลายชนิด เช่น ชิงช้าชาลี โปร่งฟ้า
อบเชย มะกล่ำตาหนู และว่านชนิดต่าง ๆ

ชิงช้าชาลี เป็นไม้เถาเลื้อยพันระโยงระยางไปตามลำต้นของไม้ใหญ่ บางเถาห้อยย้อยเป็นสายลงมาอย่างสวยงามเหมือนสายชิงช้าที่แกว่งไปมา จึงได้ชื่อว่าชิงช้าชาลี หรือจุ้งจาลิงตัวแม่ ซึ่งหมอสมุนไพรพื้นบ้านมักจะนำเถามาใช้แทนเถาบอระเพ็ด มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ เจริญอาหาร มีฤทธิ์แก้ปวดและลดการอักเสบ

มะกล่ำตาหนู สีแดงสดสะดุดตาของเมล็ดมะกล่ำตาหนู ทำให้ต้องหยุดมองและสอบถามถึงสรรพคุณของพืชชนิดนี้ จึงรู้ว่าเมล็ดมะกล่ำตาหนู มีรสเผ็ด เมา เบื่อ และมีพิษ ต้อง
ใช้อย่างระวัง แต่สามารถนำเมล็ดแห้งมาบดให้ละเอียดผสมกับน้ำมันพืช น้ำ น้ำมันมะพร้าว หรือเกลือ ใช้พอกหรือทาแก้โรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง กลากเกลื้อน หิด ฝีมีหนอง
ฆ่าพยาธิผิวหนัง และแก้อาการบวมอักเสบได้ ใบมีรสหวาน ชงเป็นชาจะช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้อการเจ็บคอ แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไอ

อบเชย เป็นเครื่องเทศสมุนไพรที่คนไทยรู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีและมีประโยชต่อสุขภาพ ช่วยสมานแผล ป้องกันอาการท้องร่วง มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และลดระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ เปลือกของอบเชยยังนำมาบดเป็นผงผสมในผลิตภัณฑ์ เช่น
ยาสีพัน น้ำยบัวนปาก ส และเครื่องสำอาง ช่วยเพิ่มความสดชื่น ต้านเชื้อแบคทีเรีย

คนทีสอ ไม้พุ่ม มีดอกเล็กสีม่วงอ่อน ดูอ่อนโยนชนิดนี้ สังเกตที่ใบจะมีใบย่อย 3 ใบ เมื่อเด็ดนำมาขยี้และสูดดมจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ทุกส่วนของคนทีสอใช้เป็นยาสมุนไพรได้ทั้งหมด ใบนำมาขยี้ดมช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หรือนำใบและเมล็ดชงกับน้ำร้อนผสมน้ำตาลพอหวานเล็กน้อย ดื่มแก้อการหวัด น้ำมูกไหล เปลือกรักษาอาการไข้และใช้รักษาหญิงที่มี
อาการระดูพิการ

หมอนายบอกว่า เธอใช้เวลาหลายปีปลูกสวนยาที่มีคุณค่าไว้ในชุมชน โดยสมุนไพรที่เติบโตสมบูรณ์หล่นี้จะช่วยดูแลสุขภาพและรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านให้คอยู่ต่อไป

เรื่อง กนกกาญจน์ เอี่ยมสะอาด ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 523 – คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กรกฎาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

โหระพา สมุนไพรพื้นบ้าน หาง่าย กลิ่นหอม

“วัณโรคปอด” โรคร้ายทำลายระบบหายใจ

ผ่าตัดส่องกล้องปอด ทางเลือกใหม่การรักษา ผู้ป่วยโรคปอด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.