สารฆ่าหญ้า

HOW IT COST LIFE ทำไมต้องเลิกใช้ “พาราควอต”

HOW IT COST LIFE ทำไมต้องเลิกใช้ “พาราควอต”

“พาราควอต”
หลายคนอาจจะเคยสับสนทำตัวไม่ถูกกับผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์หลาย ๆ ชิ้นที่ให้ผลกลับไป-กลับมา เช่น ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยระบุจำมนุษย์ไม่จำเป็นต้องหลีกเสี่ยงการกินเนื้อแดงหรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป แต่ต่อมากลับมีงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งแนะนำว่า ไม่ควรกินทั้งเนื้อแดงหรืออาหารแปรรูป เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง

สาเหตุของความสับสนนี้มาจากความยากของการวิจัย เนื่องจากวิทยาศาสตร์ว่าด้วยโภชนาการทางอาหารมีความไม่สมบูรณ์แบบอยู่ในตัวเอง การศึกษความเชื่อมโยงระหว่างการบริโภคอาหารกับสุขภาพอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่แน่นอน เนื่องจากมนุษย์แต่ละคนล้วนมีพฤติกรรมและพื้นฐานสุขภาพแตกต่างกัน การวิจัยจึงทำได้ดีที่สุดเพียงเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่านั้น ดังนั้นผลการวิจัยแต่ละครั้งจึงอาจไม่ตรงกัน เช่นเดียวกับสารพารควอตที่กำลังเป็นที่ถกเถียงในบ้านเราว่า ตกลงแล้วสารเคมีชนิดนี้มีประโยชน์หรือมีโทษมากกว่ากัน และสมควรแบนหรือไม่

WORLDWIDE VISION

ในระดับนานาชาติมีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้นรองรับว่าพาราควอตมีอันตรายจริง และ
ปัจจุบันมีการประกาศห้ามใช้สารนี้แล้วถึง 53 ประเทศ เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน
เกาหลีใ้ต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คูเวต สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ เยอรมนี ฮังการี

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐ (CDC) ระบุว่า หากกลืนกินพาราควอตในปริมาณมากจะทำให้ปากและลำคอเจ็บปวดและบวมทันที ตามมาด้วยอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาจถ่ายเป็นเลือด หากอาการรุนแรงอาจก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำ เกลือแร่ในร่างกาย

นอกจากนี้ยังทำให้ไตวายเฉียบพลัน มึนงง หมดสติ หัวใจเต้นเร็ว หัวใจได้รับบาดเจ็บ ตับวาย ปอดเป็นแผล กล้ามเนื้ออ่อนแรง น้ำท่วมปอด ระบบหายใจล้มเหลว ส่วนในระยะยาวจะทำให้ปอดได้รับความเสียหาย ไตวาย หัวใจล้มเหลว หลอดอาหารตีบ โดยผู้ที่ได้รับสารพาราควอตในปริมาณมากมักจะเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียาถอนพิษ

ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้พาราควอตเป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง
(ประเภท 2) แต่มีข้อสังเกตไว้ในรายงานว่า หากถูกดูดซึมเข้าร่างกายจะมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว และเป็นอันตรายแก่ชีวิตหากรับประทานหรือสัมผัสกับผิวหนังเป็นบริเวณกว้าง

ส่วนเกษตรกรที่ฉีดพ่นสารพาราควอต เป็นประจำมักจะเกิดอาการอ่อนเพลียและเจ็บปวด รวมทั้งเกิดผื่นคันหรือผิวหนังไหม้พุพอง หลุดลอก ติดเชื้อบริเวณเปลือกตา เล็บได้รับความเสียหายตั้งแต่เล็บซีดจนถึงเล็บหลุด จมูกเลือดออกเนื่องจากทางเดินหายใจส่วนบนระคายเคือง

EXPERT’S NOTE

ต่อประเด็นดังกล่าว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดอกเตอร์นพดล กิตนะ หัวหน้าภาควิขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า งานวิจัยชิ้นหนึ่งของทางคณะมีการใพื้นที่จังหวัดน่านป็นพื้นที่ศึกษาการปนเปื้อนของสารฆ่าวัชพืชในสัตว์ พบว่า กว่าร้อยละ 90 ของสารเคมีที่มีการใช้คือสารฆ่าหญ้า ประกอบไปด้วยไกลโฟเซต อาทราซีน และพาราควอต

ประเด็นสำคัญที่ควรมีการพิจรณาคือ การปนเปื้อนและการสะสมในร่างกาย เพราะสารเหล่านี้ความเป็นพิษ แม้มีข่าวปรากฎในหนังสือพิมพ์อยู่บ่อยครั้งว่ามีคนกินยาฆ่าหญ้าประกอบด้วยสารดังกล่าวเพื่อม่าตัวตาย

“ทางการแพทย์รับรู้ว่ากินแล้วตาย แต่ที่ต้องให้ความสนใจในปัจจุบันคือ กินแล้วไม่ตาย แต่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม มีข้อมูลทางการแพทย์ว่า การปนเปื้อนเหล่านี้ส่งผลระยะยาวต่อสมอง และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลของสมองให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคพาร์กินสัน โรควัวบ้า มันอันตรายมากกว่าที่คิด”

อาจารย์นพดลาชี้ว่าสารพาราควอตซึ่งเป็นสารฆ่าหญ้ามีการตรวจพบในกบ ปู หอย แม้ว่าจะเป็นสารที่เน้นใช้กำจัดวัชพืช แต่ก็มีการสะสมไปที่ตัวสัตว์ ข้อมูลในจังหวัดน่านพบว่า มีการปนปื้อนพาราควอต 24 – 56 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมในปูนา และ 12.6 – 1,233.8 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมในกบหนอง

ขณะที่ตัวเลข MRL (Maximum Residue Limit) กำหนดไว้ว่ ต้องมีการปนเปื้อนในสัตว์ไม่เกิน 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัมเท่านั้น

“ตัวเลข MRL กำหนดโดย Codex Alimentarius Commission เกิดจากการร่วมมือกันของหน่วยงนองค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กับองค์กรอนามัยโลก (WHO) พูดถึสารดมีทางการกษตรเมื่อใช้เสร็จแล้วควรมี Good Agricultural Practice (GAP) ซึ่งเป็นดัชนีบ่งชี้แบบแผนที่ดีในการทำเกษตรกรรม” แต่ตัวเลข MRL ที่ตรวจพบสะท้อนว่าไม่มี GAP

สารเคมีดังกล่าวเป็นสารปนเปื้อนในดินที่มีการสลายตัวช้ามาก มีค่าครึ่งชีวิตมากกว่า 10 ปี หมายความว่ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี สารเคมีที่อยู่ในดินจึงจะลดไปครึ่งหนึ่ง ยิ่งหากในอดีตการใช้สารเคมีต่อเนื่อง ก็จะกินวลาการย่อยสลายนาน

นอกจากนี้อาจารย์นพดลยังกล่าวถึงการเก็บข้อมูลที่ผ่านมาว่า “จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่พบว่าสิ่งมีชีวิต เช่น ปูนามีน้ำหนักลดลง มีการทำงานของเอนไซม์กำจัดพิษเพิ่มขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐานในส่วนกระดองท้องและก้ามปู และมีการส่วนกบหนองมีดัชนีความสมบูรณ์ร่างกายลดลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน

“ยิ่งไปกว่านั้นอาจจะเกิดความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์เมื่อมีการบริโภคเป็นทอด ๆ ต่อมา เช่น การนำปูนามาแปรรูปเป็นน้ำปู ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของคนในพื้นที่ ก็อาจทำให้มนุษย์ได้รับการปนปื้อนสารพาราควอต ดังนั้นผลกระทบของสารเคมีดังกล่าวจึงมีมากกว่าที่คิด”

เรื่อง ชวลิดา เชียงกูล ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 523 – คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กรกฎาคม 2563
บทความน่าสนใจอื่นๆ

ไทยเเพนตรวจพบสารพิษตกค้างในผักและผลไม้อื้อเกินมาตรฐาน ประจำปี 2562

ด่วน!! พบอกไก่ – ตับไก่ มีสารตกค้างยาปฏิชีวนะ เสี่ยงดื้อยา


© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.