วิธีตรวจหารูมาตอยด์

2 วิธีตรวจหารูมาตอยด์ โรคข้อต่ออักเสบ ที่เชื่อถือได้

2 วิธีตรวจหารูมาตอยด์ โรคข้อต่ออักเสบ ที่เชื่อถือได้

ดังที่ว่ามาแล้วนั่นแหละครับ มีวิธีทดสอบ หรือ วิธีตรวจหารูมาตอยด์ ว่ากำลังเกิด หรือกำลังกำเริบอยู่หลายวิธี มีอยู่ 2 วิธี ซึ่งผมรู้สึกว่าน่าเชื่อถือได้

วิธีที่หนึ่งก็คือ วิธีเจาะเลือดดู ที่เราเรียกว่า ESR ซึ่งย่อมาจาก คำว่า Erythrocyte Sedimentation Rato ซึ่งหมายถึง การทดสอบการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง การทดสอบนี้ จะได้ผลก็ตรงที่ว่า ถ้ามีอาการของรูมาตอยด์ แม้เพียงเล็กน้อย เมื่อตรวจ ESR 9
ก็จะปรากฏว่า การตกตะกอนนั้นเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ

อีกวิธีหนึ่ง เป็นวิธีตรวจเลือดเหมือนกัน เรียกว่า Rheumatoid Factor หรือ RF วิธีหา RF นี้
เกิดจากความเชื่อว่า ภูมิต้านทานที่เรียกกันว่าแอนติบอดี้ชนิดหนึ่ง จะขึ้นสูงมากในเลือดที่ตรวจ

ถ้าหากว่าเกิดมีอาการเกี่ยวกับรูมาตอยด์ ทั้งสองวิธีนี้ ดูเหมือนจะเป็นที่รับรองกันว่า คุณป่วยเป็นรูมาตอยด์แน่ และถ้าเจอว่าการตรวจสอบแบบนี้เกิดขึ้นได้ แม้แต่คุณเพิ่งจะเริ่มป็นรูมาตอยด์ใหม่ ๆ การตรวจค้นพบนั้น ก็จะช่วยให้การรักษารูมาตอยด์นั้นได้ผล เพื่อที่จะยับยั้งรูมาตอยด์ระยะต้น ๆ และจะไม่ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวพิกลพิการที่ข้อต่อรูมาตอยด์อีกต่อไป

นั่นก็เป็นการป้องกัน ไม่ให้รูมาตอยด์เกิดกำเริบ จนกระทั่งถึงอาการขั้นสุดท้าย หรือพิการ แต่ก็ยังไม่มีคำตอบอีกนั่นแหละ ว่าอะไร คือต้นเหตุที่ทำให้เกิดรูมาตอยด์

แม้ว่า รูมาตอยด์จะโจมตีข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิ้วมือ ข้อมือ และเท้า แต่อาการที่ทำให้ดูน่าเกลียดมาก อีกอย่างก็คือ ก้อนเนื้อ หรือถุง ที่เรียกกันว่า Lump หรือ Rheumatoid Nodule

ก้อนเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นใต้ผิวหนังใกล้กับบริเวณข้อต่อ บางคน ก็ไปขึ้นที่แปลกๆ เช่น เกิดขึ้นที่ข้อศอก ที่หน้า จมูก และหู ก็ยังมี ก้อนเหล่านี้ ไม่ทำให้เจ็บหรือปวด แต่ทำให้รำคาญมากกว่า

แต่ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ บางก้อน ก็อาจจะแข็ง และเกาะข้อ ต่อจนคลื่อนไหวไม่ได้ ที่ทำท่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ ก็คือ รูมาตอยด์ไม่เหมือนกับ อารีไทรทิสธรรมดา ซึ่งโจมตีเฉพาะระบบข้อต่อและกล้ามเนื้อ แต่รูมาตอยด์จะโจมตีอวัยวะสำคัญ ๆ อื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น ทำให้เกิดอาการโรคหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับปอด และนัยน์ตา ก็ยังมี

รูมาตอยด์ จึงกลายเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด ของโรคข้อต่ออักเสบต่าง ๆ เป็นตัวที่ทำลายผู้ป่วย ทั้งกาย และใจ ที่ยากแก่การรักษา ก็คือ มักจะเป็น ๆ หาย ๆ บางคนหายไปเลย แต่ทิ้งความพิกลพิการไว้ให้กับร่างกายโดยถาวร

ในวงการแพทย์มักจะยอมรับว่า ไม่มียารักษารูมาตอยด์ โดยเหตุนี้ยาที่ให้จึงเป็นยาแก้ปวดชั่วคราว และในระยะยาว ก็มักจะให้ยาประเภทสเตียรอยด์ หรือคอร์ติโซนผสมกัน

สำหรับผู้ป่วยบางคน ที่ไปรักษากับแพทย์ประจำ ผมขอแนะนำอย่างหนักแน่นว่า คุณต้องปรึกษากับแพทย์ของคุณอย่างละเอียดรอบคอบว่า ยาที่รักษานั้นอยู่ในกลุ่มอะไรบ้าง และจะต้องระวังตัวอย่างไร

ต่อไปนี้ คือกลุ่มยา ซึ่งคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ของคุณ อย่างละเอียด

  1. ยาแก้ปวด
  2. กลุ่มยา Penicillamine , Hydroxychloroquine , Sulfasalazine
  3. กลุ่มยาสเตียรอยด์
  4. กลุ่มยา Methotrexate

ยาในกลุ่มที่ 2 – 3 และ 4 นั้น ทำให้เกิดอาการแพ้หลายอย่าง ทำลาย ตับ ไต และทำลายระบบย่อย ฯลฯ ต้องระวังให้มาก

เรื่อง ชมนาด ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 523 – คู่มือหยุดปวดตั้งแต่หัวจรดเท้า

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 22 : 16 กรกฎาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ชีวจิตพิชิต “รูมาตอยด์” ปฏิบัติด่วน! เห็นผลด่วน!

โรคแทรกซ้อนจากรูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รักษาได้ด้วยการออกกำลังกาย

ประสบการณ์สุขภาพ บอกลารูมาตอยด์ ด้วยรำกระบองแบบชีวจิต

EAT RIGHT LIVE WELL มหัศจรรย์ยาธรรมชาติ รักษารูมาตอยด์

เทคนิคขยับกาย คลายปวดข้อรูมาตอยด์

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.