ความสุข

รู้หรือไม่? ความสุขของคนเรา มีด้วยกัน 5 ระดับ

รู้หรือไม่? ความสุขของคนเรา มีด้วยกัน 5 ระดับ

ขึ้นชื่อว่าชีวิต คงไม่มีสิ่งใดที่เราต้องการไปกว่า ความสุข ผมจึงขอใช้พื้นที่ให้ผู้อ่านเห็นภาพกว้าง ๆ เกี่ยวกับ ความสุขของคนเรา ว่า ความสุข คืออะไร ? และทุกท่านเข้าใจ อะไร ๆ เกี่ยวกับความสุขมากยิ่งขึ้น

ความสุข ของคนเรามีด้วยกัน 5 ระดับ


สุขทางกาย

คือ ความสุขที่เกิดจกการเสพทางตา ลิ้น จมูก กาย เช่น การกินอยู่ นอน การมีเพศสัมพันธ์
การท่องเทียว สุขภาพ ปัจจัยสี่ต่าง ๆ พูดง่าย ๆ ว่าเป็นสุขที่ต้องเอาร่างกายไปสัมผัสนั่นเอง (เงินทองวัตถุเป็นใหญ่ในความสุขประเภทนี้ และผู้จะเกิดความสุขชนิดนี้ได้จ ะต้องมีปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต เป็นอย่างน้อย ยิ่งรวยก็ยิ่งได้รับความสุขชนิดนี้มากได้ตั้งแต่สัตว์เป็นต้นไปจนถึงทวดาและอริยบุคคล)

สุขทางใจ

คือ ความสุขที่เกิดจากความยินดีที่เข้ามากระทบใจ เช่น ความรัก คำสรรเสริญ การให้เกียรติ การเสียสละ การคิดดี ความชอบ การทำดี อย่างนี้เป็นต้น (ความดี คุณธรรมในขั้นโลกิยธรรมจะเป็นใหญ่ในความสุขชนิดนี้ วัตถุและเงินทองยังมีส่วนอยู่บ้าง เนื่องจากมีเรื่องของการให้ทาน เสียสละ การช่วยเหลือ เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นความสุขที่สัตว์สามารถทำให้เกิดได้น้อยมาก จะทำได้มากในอัตภาพของความป็นมนุษย์ผู้มีใจสูง จนถึงเทวดาและอริยบุคคลต่าง ๆ ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ทั่วไป)

สุขทางความพอใจ

คือ ความสุขที่เกิดจากการจดจ่ออยู่ในปัจจุบัน เช่น สุขที่เกิดจากการทำหน้าที่ด้วยจิตว่างในขณะนั้น ๆ สุขที่เกิดจากการรู้สึกตัว รู้อาการเคลื่อนไหว เป็นสุขที่เกิดจากความพอเพียง การรู้จักคุณค่าของตนเอง สันโดษ ประมาณตน เข้าใจโลกตามความเป็นจริงตามหลักอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นต้น (ปัญญาในขั้นโลกุตตรธรรมจะเป็นใหญ่ในความสุขชนิดนี้ เป็นความสุขที่ไม่มีวัตถุเข้ามาเกี่ยวข้องโดยสิ้นเชิง เป็นสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมจนเห็นโลกตามความเป็นจริงโดยลำดับ ผู้ที่จะเกิดความสุขชนิดนี้ได้จะต้องเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีสมาธิ และวิปัสสนาตามสมควร ต้องเป็นบุคคลที่มีใจเป็นเทวดาขึ้นไปจึงสามารถเสพสุขชนิดนี้ได้

สุขจากสมาธิ

คือ สุขที่ได้จากการที่จิตสงบ ซึ่งจะเกิดขึ้นต่อเมื่อใจมีสมาธิเป็นบาทฐาน พูดง่าย ๆ ว่าัเป็นสุขที่เกิดขึ้นเฉพาะผู้ฝึกฝนสมาธิ หรือสุขที่เกิดขึ้นระหว่างการที่ทำสมาธิ (สมาธิและฌานสมาบัติเป็นใหญ่ในสุขชนิดนี้ เมื่อได้สมาธิแล้วจิตจะเกิดความสงบระงับอยู่เป็นปกติ จะมีอุเบกขา ฌานหรือจิตที่รู้จักวางเฉย พระพุทธเจ้า ทรงสนับสนุนให้กระทำให้เกิดความสุขชนิดนี้เสมอ ๆ เนื่องจากเป็นเหตุแห่งที่ทำให้บรรลุธรรมได้ ความสุขชนิดนี้จะเกิดขึ้นในจิตผู้ทรงธรรมจนได้สมาธิหรือในอริยบุคคลเท่านั้น)

สุขจากวิมุตติ

คือ สุขที่เกิดจากการหลุดพ้น หรือสุขที่เกิดจากการละกิเลสได้ เป็นสุขที่เกิดขึ้นจากการบรรลุธรรม หรือเกิดขึ้นในจิตที่ปล่อยวางได้ชั่วขณะ ที่เรียกว่านิพพาน ระหว่างวัน (ความสุขชนิดนี้เกิดจากมีดวงตาเห็นธรรมเป็นใหญ่ เป็นความสุขที่เป็นโลกุตตธรรมล้วน ๆ จะเกิดขึ้นในหมู่อริยชน และผู้ทรงธรรมในช่วงเวลาที่ละกิเลส เป็นความสุขที่ได้จกการฝึกฝนวิปัสสนาอย่างชำนาญจนสามารถมองเห็นการเกิดดับของรูปนามตามความเป็นจริง จนสามารถแยกกาย จิต ความคิดออกจากกัน เป็นสุขที่เกิดขึ้นในขณะที่สภาพจิตถึงพร้อมต่อความเป็นอริยบุคคลแล้วเท่านั้น)

ข้อดีและข้อเสียของความสุขแต่ละชนิด

สุขทางกาย

ข้อดีข้อเสีย คือ เป็นความสุขที่เข้าใจง่าย สื่อสารได้ง่าย เกิดขึ้นได้ง่าย ข้อข้อเสียของความสุขทางกาย คือ เสื่อมเร็วไม่คงทน เป็นที่มาของกิเลสตัณหา นำมาซึ่งความทุกข์ทางกายและใจ เป็นสุขที่ต้องตรากตรำเพื่อให้ได้มา เนื่องจากเป็นความสุขที่เกี่ยวข้องโดยตรง กับวัตถุเงินทองโดยตรง

สุขทางใจ

ข้อดีข้อเสีย คือ เป็นความสุขที่ช่วยสร้างสรรค์โลกให้เกิดความดีงาม เป็นแรงบันดาลใจในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีจิตใจที่สูงขึ้น ทำให้กิดการสงคราะห์ช่วยหลือ เกิดสันติภาพ ข้อเสียของมันคือ หากไม่ระวังให้ดีอาจก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ และยึดติดตัวตน รวมทั้งทำให้เกิดสิ่งที่เรียกกันว่า “ติดดี” คือ ยืดมั่นถือมั่นในความดีจนกลายเป็นความหลงตนในภายหลัง อย่างไรก็ตาม ความสุขชนิดนี้ก็เป็นเหมือนเรือที่ต้องใช้เพื่อการข้ามฝั่งไปสู่ความสุขที่ละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไป ไม่มีเลยก็ไม่ได้ ในเบื้องต้นจะต้องทำให้เกิดอยู่เนือง ๆ เช่นกัน

สุขทางความพอใจ

ข้อดีข้อเสีย คือ ทำให้ใจเบาสบาย เข้าถึงความจริงของโลกได้ง่าย และไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยกับชีวิตมาก จิตสามารถป็นอิสระเสรีได้มากขึ้น ซึ่งความสุขชนิดนี้จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้น มีธรรมแห่ความหลุดพ้นเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องมีสัมมาทิฏฐิถูกต้องตรงธรรมแล้วเท่านั้น สุขชนิดนี้ไม่มีข้อเสียร้ายแรง เพียงแต่เป็นสุรที่ยังเสือมได้เมื่อเกิดการกระทบกระทั่งทางใจเกิดขึ้น

สุขจากสมาธิ

ข้อดีข้อเสีย คือ เป็นความสุขที่เป็นบาทฐานของปัญญา ทั้งปัญญาทางโลกและปัญญาทางธรรม เป็นสุขที่ตั้งอยู่ในความสงบเย็น ระงับ สันโดษ เป็นความสุขที่ลาดเอียงไปสู่พระนิพพาน ซึ่งเป็นเป้าหมายใหญ่ของมนุษยชาติ เป็นสุขที่ไม่มีข้อเสียใดๆ เพียงแต่เป็นสุขที่ยังไม่ใช่สุขถาวรเท่านั้น

สุขจากวิมุตติ

ข้อดีข้อเสีย คือ เป็นความสุขที่เป็นที่สุดของความสุข ไม่อาจมีสุขใดประเสริฐเท่าเป็นสุขที่ไม่มีวันเสื่อม ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่มีข้อเสียใด ๆ ทั้งสิ้น

เรื่อง พศิน อินทรวงค์ ภาพจาก Pixabay

ชีวจิต 495 – คอร์สปรับระดับเมแทบอลิก

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 21 : 16 พฤษภาคม 2562

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

6 เทคนิค สร้างสมาธิ สติไม่หลุด จดจ่อได้นาน ทำงานมีประสิทธิภาพ

เคล็ดลับกินแก้เบลอ ปลุกสมองให้สดชื่น (EAT TO REFRESH)

รู้ให้ทัน 4 สัญญาณสุขภาพพัง จากการออกกำลังกาย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.