นอนไม่หลับ เกิดจาก

นอนไม่หลับ เกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง รู้แล้วแก้ด่วน

นอนไม่หลับ เกิดจาก สาเหตุอะไรได้บ้าง รู้แล้วแก้ด่วน

นอนไม่หลับ เกิดจาก หลากหลายสาเหตุและปัจจัย แม้การนอนไม่หลับอาจไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่หากมันกลายเป็นการ นอนไม่หลับเรื้อรัง หรือนอนไม่หลับเป็นประจำ ภาวะนี้ก็รบกวนคุณภาพชีวิตเราได้ วันนี้เรามีข้อมูลจาก หนังสือสุขภาพดี ไม่มีลิมิต โดยสำนักพิมพ์ AMARIN Health เกี่ยวกับสาเหตุของการนอนไม่หลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

การเปลี่ยนแปลงตามวัย

ลักษณะการนอนของผู้สูงอายุเกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ได้แก่ ระยะเวลาของการนอนตอนกลางคืนลดลง ใช้เวลาหลังเข้านอนนานขึ้นกว่าจะหลับ ช่วงเวลาของการหลับตื้น (ขณะกำลังเคลิ้ม ยังหลับไม่สนิท) ยาวนานขึ้น ช่วงเวลาที่หลับสนิทจริงๆ สั้นลง

มีโรคหรืออาการอื่นๆ ซ่อนอยู่

ผลจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาทส่วนกลางหรือสมอง ส่งผลให้นอนไม่หลับได้ เช่น การใช้ยานอนหลับเป็นเวลานาน ยารักษาอาการสั่นหรือเคลื่อนไหวช้าในโรคพาร์กินสัน หรืออาจเป็นส่วนผสมของยาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับสมอง เช่น แอลกอฮอล์ในยาแก้ไอ หรือกาเฟอีนในยารักษาโรคหวัด เป็นต้น เมื่อหยุดกินยาเหล่านี้ อาการนอนไม่หลับก็จะหายไปเอง

โรคใดก็ตามที่มีผลทำให้ต้องตื่นขึ้นมาปัสสาวะบ่อยๆ ตอนกลางคืนก็จะมีผลต่อการนอนหลับด้วย เช่น โรคเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก โรคต่อมลูกหมากโต โรคไตเรื้อรัง หรือการใช้ยาขับปัสสาวะในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือภาวะหัวใจวาย ก็ทำให้มีการตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ

โรคสมองเสื่อมและภาวะจิตผิดปกติ นอกจากอาการขี้หลงขี้ลืมแล้วยังอาจมีอาการนอนไม่หลับได้ ไม่เพียงเท่านั้น ภาวะซึมเศร้าก็เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนหลับยากได้เช้นกัน แม้ว่าผู้ป่วยจะเข้านอนได้ตามปกติ แต่มักจะตื่นขึ้นกลางดึกแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อได้อีก

อาการนอนไม่หลับ, แก้นอนไม่หลับ, สาเหตุของอาการนอนไม่หลับ, ไทชิ, กดจุด นอนไม่หลับ เกิดจาก
การฝึกไทชิ กดจุด และปรับการกินอาหารก่อนนอน ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับได้

ความเจ็บปวด

ความเจ็บปวดทางกายสามารถรบกวนการนอนหลับได้ ที่พบบ่อยมักเกิดจากโรคกระดูกและข้อ ก่อให้เกิดการเจ็บปวดเรื้อรัง เช่น ข้อเข่าเสื่อม กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกคอเสื่อม เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการเจ็บปวดในช่องท้อง เช่น แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เป็นต้น

สาเหตุอื่นๆ

ขณะนอนหลับสนิท สมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกระตุ้นการหายใจจะทำงานลดลง ในผู้สูงอายุอาจหยุดหายใจชั่วขณะ จากนั้นสมองจะถูกกระตุ้นอีกครั้งอย่างรุนแรงเพื่อให้หายใจ ส่งผลให้ตื่นขึ้นมา จึงนอนหลับไม่ต่อเนื่อง หรือเกิดจากการที่ลิ้นในช่องปากตกย้อนไปข้างหลัง อุดกั้นทางเดินหายใจขณะที่นอนหลับสนิท ทำให้เกิดเสียงกรน หากอุดกั้นมากขึ้นจนอากาศไม่สามารถผ่านเข้าหลอดลมและปอดได้ สมองจะถูกกระตุ้นอย่างรุนแรงอีกครั้งเพื่อให้ร่างกายหายใจ ส่งผลให้ตื่นขึ้นได้เช่นกัน


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย แก้ได้ด้วยโยคะ

แก้ปัญหาโรค “นอนไม่หลับ” ที่คุณต้องรู้ by หมอสันต์

เมลาโทนิน ตัวช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับ กินบ่อย ปลอดภัยหรือไม่

เคล็ดลับแก้ปัญหาฮอร์โมนตก นอนไม่หลับ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.