อ้วนอักเสบ โรคอ้วน

วิธีการรักษาอาการ “อ้วนอักเสบ” สาเหตุฮอร์โมนขาดสมดุล

ขออธิบาย “อ้วนอักเสบ” ความอ้วนที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เมื่อร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลส่วนเกินในเลือดได้ จึงนำไปเก็บรวมกันที่บริเวณช่องท้อง เรียกว่า “อ้วนลงพุง” และอาจลามไปเกาะบริเวณตับกลายเป็น “ไขมันพอกตับ” เมื่อไขมันกาะติดนานเข้า ร่างกายก็หลั่งสารอักเสบออกมา ส่งผลให้การทำงานของ 3 ฮอร์โมนไม่สมดุลกัน

อ้วนอักเสบ กับ 3 ฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบ

ฮอร์โมนเลปติน (Leptin) หรือฮอร์โมนความอิ่ม เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งในร่างกายที่ผลิตขึ้นมาจากเซลล์ไขมัน มีหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร เมื่อกระเพาะอาหารขยายตัว ฮอร์โมนเลปตินจะช่วยส่งสัญญาณความอิ่มไปยังสมองส่วนไฮโปฮาลามัส (Hypothalamus) ให้หยุดความอยากอาหาร และกระตุ้นการเผาผลาญให้มากขึ้น

ดังนั้น เมื่อมีความผิดปกติของฮอร์โมนเลปติน หรือเรียกว่า “ภาวะดื้อเลปติน” ร่างกายจะรู้สึกอยากอาหารตลอดเวลา กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม จึงกินอาหารเกินความต้องการของร่างกาย

ฮอร์โมนอิรนซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นโดยตับอ่อน และมีหน้าที่สำคัญคือ นำน้ำตาลในเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายเพื่อสร้าเป็นพลังงาน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลินในขณะที่คนที่อ้วนอักเสบ ร่างกายหลั่งอินซูลินมากเกินไป เกิดอาการดื้ออินซูลิน

ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) หรือฮอร์โมนความหิวท เป็นฮอร์โมนที่ถูกหลั่งออกมาจากเซลล์กระเพาะอาหาร มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นความหิว ความอยากอาหาร ถ้าร่างกายเกิดความเครียด นอนไม่เพียงพอ ทำงานหนักจนเกิดวิตกกังวล ฮอร์โมนเกรลินจะหลั่งออกมามากเป็นพิเศษ ส่งผลให้เรารู้สึกหิวง่าย อยากกินโน่นอยากกินนี่ ตลอกเวลาทั้งที่กินจนอิ่มแล้ว

ภาพโดย (Joenomias) Menno de Jong จาก Pixabay

การดูแลผู้ป่วยภาวะอ้วน ในทางการแพทย์จะเริ่มด้วยวิธีการซักประวัติ เพื่อนำไปสู่การวางแผนลดน้ำหนักตัวที่เหมาพะสม มีขั้นตอนการตรวจร่างกายผู้ป่วยประเมินความเสี่ยง และหาวิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสม ซึ่งจะประกอบไปด้วย

  1. การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต โดยการเลือกกินอาหารแทนที่จะควบคุมแต่ปริมาณแคลอรี จะเป้นวิธีการที่ง่ายที่สุด
  2. การออกกำลังกาย คนอ้วนต้องออกกำลังกายในระดับหนัก เพื่อให้ได้อัตราการเต้นของหัวใจที่เหมาะสม และต้องเป็นการออกกำลังกายระดับปานกลาง (Moderate Intensity) ให้ได้สัปดาห์ละ 300 นาที
  3. การใช้ยาประกอบการลดน้ำหนัก วิธีนี้มีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
  4. การผ่าตัดลดน้ำหนัก เหมาะสำหรับคนเป็น Morbid Obesity  หรือดัชนีมวลกายเท่ากับ หรือมากกว่า 40 ซึ่งวิธีการนี้มีความเสี่ยง และมีอันตรายสูง

เรื่อง ดร.ชลิดา เถาว์ชาลี ตันติภิภพ เรียบเรียง ฤทัยรัตน์ วิทยวิโรจน์

ชีวจิต 533 – ฉบับพิเศษ 100 วิธี กิน อยู่ หยุดอ้วนถาวร

นิตยาสารรายปักษ์ ปีที่ 23 : 16 ธันวาคม 2563

– – –  – – – – –  – – – – –  – – – –  – – – –  – – –  – – –  – – –  – – –  – –  – –

บทความน่าสนใจอื่นๆ

ชวนรู้จัก Flexitarian หรือ “มังสวิรัติแบบยืดหยุ่น” ลดอ้วน สุขภาพดี

7 อันตราย ที่ตามมากับ โรคอ้วนลงพุง หากปล่อยทิ้งไว้

คนอ้วน ควรออกกำลังกายแบบไหนให้เห็นผล มีประสิทธิภาพ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.