“กินฟักทอง” ดีอย่างไร ข้อดี-ข้อเสีย มีอะไรบ้าง?  (รู้ไว้ก่อนป้องกันได้) – ชีวจิต

“กินฟักทอง” ดีอย่างไร ข้อดี-ข้อเสีย มีอะไรบ้าง?  (รู้ไว้ก่อนป้องกันได้) – ชีวจิต

สำหรับใครที่สงสัยว่าการ “กินฟักทอง” มีประโยชน์อย่างไรกับร่างกายของเราบ้าง ลองมาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

เจ้าฟักทอง (Pumpkin) เป็นอีกหนึ่งผลการเกษตร ที่มีรสหวาน ทานง่าย หลายๆ บ้านจึงนิยมนำมาประกอบอาหารทั้งอาหารคาว และอาหารหวาน อีกทั้งคุณประโยชน์ก็ไม่ธรรมดา เนื้อของฟักทองอุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และวิตามินและแร่ธาตุเพียบ ไม่ว่าจะเป็น วิตามินซี วิตามินอี ไนอาซิน (วิตามินบี 3) แมกนีเซียม โปแตสเซียม เซเลเนียม สังกะสี เหล็ก และซิงค์ เป็นต้น แต่บทความนี้ ชีวจิต จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับทั้งคุณประโยชน์และโทษของการ “กินฟักทอง”

ฟักทอง

ฟักทองมีอะไรดี

  1. เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยมีงานวิจัยระบุว่า วิตามินเอ มีบทบาทสำคัญในการช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค โดยพบว่าประมาณ 80 เปอร์เซนต์ พบในระบบย่อยอาหารของร่างกาย
  2. ช่วยลดน้ำหนัก ถึงแม้ฟักทองจะเต็มไปด้วยสารอาหาร แต่ขณะเดียวกันนั้นให้พลังงานแคลอรี่ต่ำมาก โดยฟักทองปริมาณ 245 กรัม (ถ้วย) ให้พลังงานประมาณ 50 แคลอรี่ต่อถ้วย และประกอบด้วยประมาณของน้ำมากถึง 94 เปอร์เซนต์ นอกจากนี้ยังพบว่า ฟักทองยังเป็นแหล่งของใยอาหาร หรือไฟเบอร์ที่ดีอีกด้วย ซึ่งสามารถช่วยลดความอยากอาหารได้นั่นเอง
  3.  บำรุงผิวพรรณสวยออร่า เนื่องจากฟักทอง อุดมด้วยวิตามินซี และอี แถมยังมีสารเบต้าเเคโรทีน ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นสารอาหารที่สำคัญและมีประโยชน์กับสุขภาพผิวและดวงตา
  4.  บำรุงระบบเลือด ด้วยแร่ธาตุที่ฟักทองมี ล้วนมีประโยชน์ต่อ ระบบเลือด ในร่างกายของเรา ไม่ว่าจะเป็น ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม สังกะสี และแมกนีเซียม
  5.  สร้างคุณภาพการนอนหลับให้ดีขึ้น ในเมล็ดฟักทองมีกรดอะมิโนทริปโตฟานสูง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนอนหลับของเราได้ การกินกรดอะมิโนทริปโตฟานวันละ ประมาณ 1 กรัม เทียบได้กับเมล็ดฟักทอง ประมาณ 200 กรัม สามารถทำให้ประสิทธิภาพการนอนหลับดีขึ้นได้
  6. ฟักทองช่วยลดภาวะซึมเศร้า ผลวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ฟักทอง ช่วยเพิ่มระดับของ Serotonin และ Norepinephrine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมอง รวมถึงเพิ่มระดับของสารสื่อประสาท ที่สามารถลดภาวะซึมเศร้าได้

แกงบวดฟักทอง กินฟักทอง

สำหรับเมนูสุขภาพ ที่สามารถใช้ฟักทองมาเป็นวัตถุดิบ หรือส่วนประกอบได้ ก็จะมีทั้งอาหารคาว และอาหารหวานในส่วนของอาหารคาว ก็จะเป็น ผัดฟักทองใส่ไข่ นอกจากนี้ยังมีแกงเลียง ซึ่งเป็นเมนูแกงที่ดีต่อสุขภาพ เพราะเป็นเมนูที่มีการใส่ผักต่าง ๆ เยอะและไม่ได้ใส่กะทิ

ในส่วนของอาหารหวาน ที่สามารถนำฟักทองมาเป็นวัตถุดิบและดีต่อสุขภาพก็จะมี น้ำเต้าหู้ฟักทอง ซึ่งจะทำให้เราได้คุณประโยชน์ทั้งจากนมถั่วเหลืองและตัวฟักทอง รวมถึงสามารถทำเป็นน้ำฟักทองคลีน ๆ จิบในระหว่างวันได้ รวมไปถึงเค้กฟักทอง สังขยาฟักทองสูตรน้ำตาลน้อย ที่กินได้ง่ายไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากนัก

อย่างไรก็ตาม “ฟักทอง” ก็มีข้อเสียเหมือนกันนะ

สำหรับการกินฟักทอง หรือ เมล็ดฟักทอง ในปริมาณที่มากเกินจำเป็น  ก็สามารถทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน เนื่องมาจาก ฟักทองนั้นมีฤทธิ์อุ่น อาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ และเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้อง

สำหรับ “เมล็ดฟักทอง” มีไขมันและแคลอรี่สูง หากกินมากเกินไป จากที่ลดความอ้วน จะทำให้ประมาณไขมัน สะสมในเส้นเลือดมากขึ้น นอกจากนี้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรกินเมล็ดฟักทอง เพราะอาจทำให้แก๊สสะสมในท้อง จนทำให้ปวดแน่นท้อง และด้วยความที่ฟักทองเป็นพืชที่อุ่น สำหรับกลุ่มคนที่มีอาการร้อนใน อย่างเช่น อาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก ไม่ควรทานฟักทองมากเกินไป เพราะอาจกระตุ้นให้ร่างกายร้อนขึ้นได้นั่นเองค่ะ

สามารถติดตามเมนูสุขภาพเพิ่มเติมได้ที่ : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 585 (40 เมนูสุขภาพ ผัด ทอด จี่ เพิ่มไขมันดี ลดไขมันเลว)
หรือติดตามนิตยสารชีวจิต ฉบับอื่น ๆ ได้ที่ ร้านนายอินทร์

– – – –  – –  – – – – –  – – – – – — – – – — – – – —

บทความน่าสนใจอื่นๆ

แกงฟักทอง พริกเผาปลาดุกย่าง ใส่น้ำพริกเผาแทนพริกแกง ก็อร่อยไปอีกแบบ

ฟักทองสอดไส้ ไอเดียเด็ด เมนูคุมน้ำหนัก ทำง่าย กินง่ายได้ประโยชน์

กินฟักทอง รับฮาโลวีน อาหารดีใกล้ตัว ต้านซึมเศร้า วิตามินเพียบ

กูรูครัว ชีวจิต เลือกฟักทองแก่ รสดี ต้องงี้สิ!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.