การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ซึ่ง ผู้สูงอายุ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหลักสำคัญใน ผู้สูงอายุ คือ ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง และ เสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยปัญหาด้านโรคที่เกิดจากความเสื่อม

ทั้งทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะข้อเสื่อม โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม และโรคพาร์กินสัน นับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในการตรวจประเมิน ดูแล รักษา ส่งเสริมป้องกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้ สามารถดำรงชีวิตได้โดยการพึ่งพาตนเองมากที่สุด และมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ในวัยของผู้สูงอายุ สมอง ก็เหมือนกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่จำต้องบริหารเป็นประจำไปตลอดชีวิตเพื่อสร้างความแข็งแรง การฝึกสมองเพื่อให้การสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น จะช่วยบำรุงสติปัญญา ชะลอการเสื่อมถอยให้ช้าลง ไม่ว่าจะเป็นคนที่สมองยังเป็นปกติ หรือแม้แต่คนที่เข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมแล้วก็ตาม

การดูแลที่สำคัญก็ยังมุ่งเน้นไปที่การคงสภาพ หรือชะลอให้สมองเสื่อมช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากใครที่มีญาติผู้ใหญ่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ หรือวัยหลังเกษียณ ลองแนะนำให้ท่านมองหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อช่วยบริหารสมองให้แข็งแรง ชะลอการเสื่อมยกตัวอย่างเช่น

– อ่านข่าวประจำวันทางหนังสือพิมพ์

– อ่านหนังสือ นิตยสาร พ็อกเก้ตบุ๊กต่างๆ

– จดบันทึกประจำวัน

– พบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

– โทรศัพท์คุยกับเพื่อน

– รับเป็นที่ปรึกษาในงานที่ถนัด

– ช่วยกิจการในบ้านเล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้สมอง เท่าที่พอจะทำได้ อย่างเช่น หากที่บ้านทำกิจการร้านค้าอาจให้ท่านช่วยทำหน้าที่เก็บเงิน ทอนเงิน จัดของเข้าตำแหน่ง

– ใช้เวลาทำงานอดิเรก เช่น งานศิลปะ งานประดิษฐ์ต่างๆ

– เล่นเกมที่ต้องใช้ความคิด เช่น หมากรุก หมากล้อม ฯลฯ

– ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

– ติดตามดูรายการต่างๆ ทางโทรทัศน์เป็นประจำ

สูงวัยออกกำลังกาย

หรืออาจหาวิธีกระตุ้นเตือนความด้วยการจดบันทึกนัดหมาย เหตุการณ์ต่างๆ บนสมุดพก หรือติดตั้งแผ่นกระดานสำหรับจดไว้บนผนังที่เห็นชัดเจน หากเกิดอาการจำวันเดือนปีไม่ได้ ก็ใช้ปฏิทินมาช่วยกำหนดให้รู้วัน-เวลา

การหมั่นเข้าไปพูดคุยกับท่านเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต หรือหาสิ่งกระตุ้นเตือนความจำ เช่น โปสการ์ด รูปถ่ายเก่าๆ มาให้ท่านดูเพื่อให้รำลึกถึงความหลัง และเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้ฟัง นอกจากจะช่วยกระตุ้นสมองของผู้สูงอายุ แล้วยังทำให้ท่านรู้สึกว่าตัวเองเป็นบุคคลที่มีคุณค่า ทั้งยังทำให้ลูกๆ หลานๆ ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้ชีวิตในอดีตของผู้ใหญ่ในครอบครัวอีกด้วย

 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เช็กสูงวัยใกล้ตัวมีอาการ “ความจำเสื่อม” หรือไม่?

เกมพาเพลิน เสริมระบบความจำวัยเก๋า

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.