5 ชาสมุนไพรสีเหลือง ดื่มอย่างไร ดีต่อกาย ดีต่อใจ

5 ชาสมุนไพรสีเหลือง ดื่มอย่างไร ดีต่อกาย ดีต่อใจ

5 ชาสมุนไพรสีเหลือง ดื่มอย่างไร ดีต่อกาย ดีต่อใจ

ตามภูมิปัญหาชาวบ้าน คนสมัยก่อนมักนิยมใช้ประโยชน์จากสมุนไพร ในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะนำมาชงเป็นเครื่องดื่มชาสมุนไพร เช่น ชาขิง ชามะตูม  ชารางจืด เป็นต้น ซึ่งบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับการประยุกต์ทำชาสมุนไพร จาก  5 สมุนไพรสีเหลือง โดยสีเหลืองในทางสมุนไพร  นั้นมีสารแคโรทีนอยด์ จะช่วยในการขับลม ซึ่งเหมาะมากกับคนที่ระบบย่อยไม่ค่อยดี สามารถหาชาสมุนไพรสีเหลือง มาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ แถมยังมีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตาอีกด้วย

 

ชา, สมุนไพรจีน, กำราบสิว, รักษาสิว, สิว

เก๊กฮวย

ชาสมุนไพรสีเหลือง อย่างดอกเก๊กฮวย มีพลังของสารพวกฟลาโวนอยด์, สารไครแซนทีมิน, สารอะดีนีน, โคลีน และกรดอะมิโน ช่วยรักษาและป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ขยายหลอดเลือด ลดการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ด้วยนะ ส่วนวิธีการทำชาเก๊กฮวยฉบับสั้นๆ ก็คือ ต้มน้ำให้เดือด ใส่น้ำตาลทราย(ไม่ฟอกสี) ตามชอบ จากนั้นนำดอกเก๊กฮวยที่ล้างสะอาดใส่ลงไป ปิดฝารอประมาณ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เราต้ม ทิ้งไว้จนเย็นแล้วกรองเอากากของดอกเก๊กฮวยออก ซึ่งห้ามบีบดอกเก๊กฮวยนะไม่เช่นนั้นชาจะมีรสขม

หรือจะลองอีกสูตรของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต นำเก๊กฮวยตากแห้งชงน้ำร้อนผสมกับดอกมะลิแห้ง (ต้องแน่ใจว่าเป็นมะลิปลอดสารพิษ) ก็จะช่วยให้มีกลิ่นหอมและรสอร่อยขึ้น บํารุงระบบประสาท และหัวใจด้วยแหละ

ดาวเรือง

ดอกดาวเรืองในด้านที่เป็นสมุนไพร หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าช่วยบำรุงสายตา เพราะดอกดาวเรืองมีสารแซนโทฟิลล์ (Xanthophyll) ซึ่งเป็นแคโรทีนอยด์ (สารต้านอนุมูลอิสระ) ชนิดหนึ่ง โดยมีส่วนประกอบเป็นโมเลกุลที่มีออกซิเจน อันได้แก่ ลูทีนและซีแซนธิน ซึ่งจัดว่าเป็นสารบำรุงสายตาจากพืชมีสี  นอกจากนี้ดอกดาวเรืองก็ยังมีสรรพคุณช่วยดูแลผิวพรรณ

และเมื่อไม่นานมานี้ ในประเทศไทยเองก็นิยมนำดอกดาวเรืองมาตากแห้ง แล้วชงดื่มในรูปแบบของชา เพื่อต้องการสรรพคุณของสารสีเหลืองในดอกดาวเรือง คือสารกลุ่มแซนโทน มีสารลูทีนสูงช่วยในการบำรุงสายตาได้ด้วยนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันสิ่งที่เกิดขึ้นตามมาต่อสุขภาพ แนะนำว่าไม่ควรกินชาดอกดาวเรืองติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจส่งผลเสียต่อการทำงานของตับ ไตได้ รวมไปถึงในเด็กและหญิงตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน

 

ขิงดองน้ำผึ้ง ขิงดอง

ขิง

ภายนอกเหง้าของสมุนไพรขิงเป็นน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีขาวหรือเหลืองอ่อน นำมาทำอาหารคาวก็ได้ ชงดื่มก็ดี ด้านประโยชน์ต่อสุขภาพก็มีอยู่มากมาย ตั้งแต่ โรคเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารอย่างท้องเสีย อาหารไม่ย่อย แก้อาการเมารถเมาเรือ คลื่นไส้ และยังช่วยดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกายอีกด้วย

สำหรับการชงเป็นชาสมุนไพร ตามคำแนะนำของอาจารย์สาทิส ให้ใช้ขิงแก่ต้มน้ำจนเดือด สามารถดื่มแก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอเหม็นเปรี้ยว และแก้อาการในกระเพาะมีกรดมาก และยังช่วยดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่างกายอีกด้วย

นอกจากนี้ ชาขิง ยังช่วยรักษาอาการไข้หวัด คัดจมูก และอาการไอ โดยความร้อนของขิงจะช่วยทำให้ระบบท้องของเราดีขึ้น เติมน้ำผึ้งนิดหน่อยจะช่วยทำให้หายเจ็บคอได้อีกด้วย

ขมิ้นชันแก้ท้องอืด

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีสารสำคัญสีเหลือง เคอร์คูมิน (Curcumin) มีฤทธิ์ในการป้องกันโรคได้มากมาย เช่น โรคปวดข้อ ต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการท้องเสีย  และลดไขมันในเลือด เป็นต้น

สามารถนำมาทำเป็นชาขมิ้นได้ไม่ยาก ด้วยการหั่นขมิ้นสดเป็นชิ้น ๆ ลงไปในน้ำเดือด ประมาณ 10 นาที ถ้ารสชาติทานยาก ก็อาจเพิ่มน้ำผึ้งน้ำมะนาวได้เช่นกัน  แต่ถึงแม้ขมิ้นชันจะมีประโยชน์ แต่ไม่ควรทานในปริมาณมากหรือเข้มข้นสูง มากกว่า 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน เพราะอาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้

รากบัว

รากบัว

ลักษณะทั่วไปของรากบัว มีสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้าง สามารถกินได้ทั้งดิบและสุก มีสรรพคุณทางยา คืออุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต ไต และหัวใจ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่แนะนำให้กินรากบัวสุกในปริมาณมาก เนื่องจากในรากบัวที่สุกแล้วมีแป้งน้ำตาลมากกว่ารากบัวสด อาจทำให้น้ำตาลในเลือดยิ่งขึ้นสูง

วิธีการนำรากบัวมาชงเป็นชาสมุนไพร ล้างรากบัวให้สะอาด หั่นเป็นแว่นต้มกับน้ำจนเดือด หากอยากทานเป็นยาบำรุงร่างกาย แนะนำไม่ต้องใส่น้ำตาล เนื่องจากน้ำรากบัวทานง่ายอยู่แล้ว เพราะมีฤทธิ์เย็น รสหวาน ดื่มเป็นเครื่องดื่มช่วยเรื่องระบบหายใจ แก้อาการร้อนใน ไปจนถึงรักษาอาการป่วยเพราะไข้ขึ้นเฉียบพลัน แก้ปวดบวม และเป็นยาชูกำลัง

————————————————————————————————————————-

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชา สมุนไพรบำรุงน้ำนม สำหรับคุณแม่

5 ชาสมุนไพร บู๊ทอิมมูน (ระบบภูมิคุ้มกัน)

สูตรชาสมุนไพรลดความดันโลหิตง่ายๆทำได้ที่บ้าน by หมอชารีฟ แพทย์ไทย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.