โรคซึมเศร้า ติดโควิด

รู้ทันโรคซึมเศร้า ฉบับครอบครัว

4 สาเหตุ เสี่ยงโรคซึมเศร้า ภัยใกล้ตัวของคนยุคดิจิตอล ฉบับครอบครัว

โรคซึมเศร้า สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเราตั้งแต่ระดับน้อย ถึงระดับที่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ยิ่งด้วยโลกสมัยนี้ เราต่างแวดล้อมด้วยชุดข้อมูล และสื่อสารผ่านกันบนออนไลน์ จนเสมือนเป็นอวัยวะในชีวิต ซึ่งภาวะการติด Social media ก็เป็นอีกหนึ่ง ภัยใกล้ตัวของคนยุคดิจิตอล ที่ก่อให้เกิดภาวะของโรคซึมเศร้า โรคเครียด วิตกกังวล สมาธิสั้น และไบโพลาร์ได้อีกด้วย เนื่องจากการจดจ่ออยู่กับโซเชียลมีเดียเป็นเวลานาน ทำให้มีเวลาในการพักผ่อนน้อยลง และมักเกิดอารมณ์เปรียบเทียบตัวเองกับเรื่องราวที่คนอื่นนำเสนอตัวเอง และยิ่งทำให้เรารู้สึกด้อย ทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่า สิ่งที่คนอื่นนำเสนอนั้นเป็นความจริง ไปจนถึงบางรายค่อยๆ ตัดขาดจากโลกภายนอก หันไปใช้ชีวิตในโลกสมมติมากกว่าโลกแห่งความเป็นจริง

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า คนวัยทำงานมากกว่า 300 ล้านคนป่วยเป็น โรคซึมเศร้า และอีก 260 ล้านคน มีภาวะวิตกกังวล ซึ่งส่งผลเสียเศรษฐกิจถึงปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งยังมีการคาดการณ์ว่าทั่วโลกจะเสียค่าใช้จ่ายจาก วิกฤติโรคซึมเศร้า กว่า 16 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี ค.ศ. 2030

อาการซึมเศร้า จากการอกหัก

4 สาเหตุ เสี่ยงโรคซึมเศร้า


แม้ว่า โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder หรือ Depressive Episode)  จะเป็นการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง ที่อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ เช่น ความผิดหวัง การสูญเสียหรือเหตุการณ์ใดๆ ที่กระทบต่อจิตใจรุนแรง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า จะเป็นบุคคลที่ไร้ความสามารถหรืออ่อนแอ  เพียงแต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวช ที่เกิดจากปัจจัย 3 ส่วน คือ กาย ใจ และสังคม ถ้าเรารักษาสมดุลทั้งสามส่วนนี้ไม่ได้ ก็เสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ที่สำคัญคนเป็นซึมเศร้าจะมีอารมณ์เศร้าไม่เหมือนกับคนทั่วไป ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

1.สาเหตุทางชีววิทยา

ปัจจัยทางชีววิทยา หรือทางกาย ได้แก่ พันธุกรรมและสมดุลของสารเคมีบางตัวในสมอง หรือโรคทางกายบางอย่าง เช่น โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชศาสตร์ทั่วไป ที่มีสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยอัตราการถ่ายทอดจากพ่อหรือแม่ไปสู่ลูก อยู่ที่ประมาณร้อยละ 10-15 แม้จะไม่มาก แต่ก็มีผลการวิจัยจำนวมากที่พยายามระบุบีนที่รับผิดชอบ รวมทั้งตำแหน่งบนโครโมโซมที่ผิดปกติ โดยปัจจัยที่ไปกระตุ้นพันธุกรรมให้เปิดสวิตซ์และก่อโรค ได้แก่ สภาวะความเครียดอย่างรุนแรง เช่น ผู้ป่วยเคยภูกทำร้ายร่ายกายรุนแรง ถูกข่มขืน เนื่องจากเหตุการณ์ความรุนแรงทำให้ประสาทผู้ป่วยเสียหายเฉีบยพลันนั่นเอง แม้เหตุการณ์จะผ่านไปนานแล้ว แต่สารสื่อนำประสาท ได้เสียสมดุลไป ก็มักคืนรูปได้ยาก

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อีกอย่างก็คือ สภาวะความเครียดเรื้อรัง อันได้แก่ เรื่องราวที่ผู้ป่วยมีความเครียดสะสมเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เช่น สภาพแวดล้อมที่เราอยู่เสื่อมโทรมต่อเนื่องเป็นเวลานาน สถานที่ทำงานกดดัน เศรษฐกิจตกต่ำเป็นเวลานาน เป็นต้น

 

 

2.สาเหตุทางจิตวิทยา

ปัจจัยทางจิตวิทยา หรือทางใจ ได้แก่ จิตสำนึกและจิตใต้สำนึก  โดยข้อมูลจากหนังสือ โรคซึมเศร้า ที่เขียนโดยนายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ สำนักพิมพ์ amarin health ได้อธิบายปัจจัยทางจิตวิทยาไว้ว่า ไม่ได้เกิดจากผลจากการเลี้ยงดูเสมอไป

“สาเหตุทางจิตวิทยาที่เป็นที่ยอมรับกันมิได้เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูมากนักอยู่แล้ว สาเหตุทางจิตวิทยาที่เป็นที่ยอมรับมากในปัจจุบันคือเรื่องความผิดปกติของความรับรู้และความเข้าใจภาวะแวดล้อม กล่าวคือผู้ป่วยมีความคิดอัตโนมัติ ที่จะรับรู้และเข้าใจสภาวะแวดล้อมเชิงลบ ทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ มองตัวเองในแง่ลบ มองโลกแง่ลบ และมองอนาคตในแง่ลบ

 

3. สาเหตุทางสังคมวิทยา

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้อธิบายถึงปัจจัยทางสังคมวิทยาที่ทำให้เป็นซึมเศร้าว่า ชุดความคิดอัตโนมัติในแง่ลบนั้นจะลามมาพื้นที่ทางสังคมด้วย เช่น เห็นรถยนต์ไม่จอดให้คนข้ามถนน ก็ชวนให้รู้ว่าสังคมไม่ดี  ซึ่งเป็นการตีความผิด โดยชุดความคิดอัตโนมัติคือการจับคู่เรื่องหนึ่งสู่อีกเรื่อง โดยไม่มีเหตุผลที่ดีมากพอรองรับ  มีสาเหตุทำให้เกิดชุดความคิดอัตโนมัติหลายประการ

 

อย่างเช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ ที่เลี้ยงลูกด้วยท่าทีที่ทำให้ลูกรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรผิดหรือไม่ดีพอ จะส่งผลเสียต่อการพัฒนาตัวตน คือเซลฟ์ และการพัฒนาเซลฟ์เอสตีม หมายถึงความคิดที่รู้ว่าตัวเองมีความสามารถอะไรและทำอะได้บ้าง และเมื่อตัวตนและเซลฟ์เอสตีมเสียหายแล้ว เวลาเกิดเหตุการณ์ไม่พึงใจ ผู้ป่วยก็จะแนวโน้มโยงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์นั้นมาที่ความไม่เป็นเรื่องของตัวเอง เมื่อเวลานานไปวงจรร้ายที่เกิดขึ้นจะหมุนวนไม่สิ้นสุด จนกระทั่งความรับรู้ ความเข้าใจทุกสภาวการณ์รอบตัวของผู้ป่วยเป็นลบไปเสียหมด

 

4. สาเหตุทางจิตวิเคราะห์

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้า  ที่คุณหมอประเสริฐ ได้อธิบายไว้ในหนังสือ โรคซึมเศร้า สรุปความได้ว่า ตอนทารกเกิดมา โลกไม่มีสิ่งที่เรียกว่าแม่ ทารกเรียนรู้ว่าตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับพ่อแม่ในช่วง 3 ขวบแรก ต่อมาทารกรู้ว่าตัวเองเป็นหนึ่งชีวิตและพ่อแม่เป็นอีกชีวิตหนึ่ง ระหว่างอายุ 3-6 เดือน และหลังจาก 6 เดือนทารกต้องพึ่งพิงแม่สูงมาก โดยเฉพาะนมแม่

และเมื่อเด็กเริ่มอายุมากขึ้น ความอดทนของแม่ที่มีต่อลูกก็อาจมีอารมณ์หงุดหงิดหรือโมโหบ้าง เช่นลูกใช้ฟันขบกัดเต้า หรือร้องไห้งอแงงไม่หยุด นี่เป็นช่วงเวลาที่ทารกจะรับรู้ว่ามีแม่ 2 ชนิด คือแม่ดีและแม่ไม่ดี ซึ่งทารกจะใช้กลไกทางจิตที่ดิบเถื่อนและโบราณมากเกือบที่สุดของจิตวิเคราะห์ แยกแม่ดีและไม่ดีออกจากกันเป็น 2 คน ก่อนจะกำจัดแม่ไม่ดีให้หายไปจากข้างใน ไปอยู่ในจิตใจ้สำนึก รอเพียงเวลาที่จะผุดขึ้นมาเป็นโรคซึมเศร้าในอนาคตต่อไป

 

ทั้งนี้คุณหมอได้สรุปเรื่องสาเหตุการเกิดโณคซึมเศร้าฉบับครอบครัวว่า แม้ว่าบางคนจะมีประวัติพันธุกรรมของโรคซึมเศร้า แต่ถ้ามีทักษะชีวิตที่ดี และยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ตึกเครียดมากไป ก็จะสามารถรักษาสมดุลของชีวิตได้

 

 

อ่านข้อมูลฉบับเต็มได้ที่

  • นิตยสารชีวจิต 526

 

 


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

เช็ครายชื่อโรงพยาบาล รักษาโรคซึมเศร้า ทั่วประเทศไทย

“ซึมเศร้า” โรคที่หลายคนยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการและพฤติกรรมของผู้ป่วย!!

4 ประสบการณ์สุขภาพ รู้ทันจิต & ฟิตร่างกาย หาย ซึมเศร้า 100%

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.